ประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง

Main Article Content

ยุวรรณา หวังกีรติกานต์
เพ็ญฉาย เลิศศุภวงศ์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ป่วย เกิด ความพิการมี ข้อจำกัดในการดูแลตนเองและเป็นภาระแก่ญาติผู้ดูแล การพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงโดยใช้แผนการดูแลทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ มากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและเปรียบเทียบ ผลการใช้แผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ ศีรษะรุนแรงในกลุ่มทดลองและกลุ่ม เปรียบเทียบ
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงที่มี GCS ≤ 8 ใช้การเลือกแบบเจาะจงกลุ่มทดลอง จำนวน 10 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 10 ราย
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลวันที่ 1 กันยายน 2550 - 31 มีนาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมิน 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามแผนการดูแล ร้อยละ 75.6 มีการเตรียมความ พร้อมก่อนการจำหน่าย ทำให้ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและภาวะ สุขภาพของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 100.0 พบการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 70.0 คิดเป็น 18.9 : 1,000 วันคาท่อช่วยหายใจ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับการดูแลตามแผนการดูแล ร้อยละ 65.6 มีการเตรียมความพร้อมก่อนการ จำหน่าย ร้อยละ 80.0 ทำให้ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและภาวะ สุขภาพของผู้ป่วยอยู่ในระดับดีร้อยละ 30.0 พบการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 50.0 คิดเป็น 14.3 : 1,000 วันคาท่อช่วยหายใจ มีการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะร้อยละ 10.0 คิดเป็น 8.9 : 1,000 วันคาสายสวนและมีแผลกดทับร้อยละ 10.0 คิดเป็น 1.7 : 1,000 วันนอน เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนน เฉลี่ยในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ จำแนกตามจำนวนวันนอนและค่าใช้จ่าย ในโรงพยาบาล พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
สรุป: การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง โดยใช้แผนการดูแลที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนลดลง ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ส่วน ค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลที่ไม่ลดลงจะเป็นข้อมูลในการพัฒนาแผนการดูแล ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
คำสำคัญ: ประสิทธิผล, การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Elegant S, Horn R, Yong H, Kuo K, Xu J, Rajan S, Zabriskie P. Mean streets. Time 2004;164(6):34-41.

2. นภาภรณ์ กวางทองและวิจิตรา กุสุมภ์. ภาวะวิกฤตเกี่ยวกับระบบประสาท .ใน วิจิตรา กุสุมภ์ (บรรณาธิการ), การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล สหประชาพาณิชย์ ; 2546.

3. Jennett, B., & et al„ Disability after severe head injury : Observations on the use of the Glasgow Outcome Scale. Journal of Neurology. Neurosurgery. And Psychiatry ; 1981:44;286.

4. อรุณ กิจมหาตระกูล. บาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลหาดใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร 2542;17(2):103-8.

5. ศักดิ์ชัย ตั้งจิตวิทยา. บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 15, 17, 2549;20:73.

6. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวต่อการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ [homepage on the Internet], กรุงเทพฯ : เบญจมาภรณ์ วงษ์ไกร ; [cited 2008 Oct 2], [1 screens]. Available from : https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6232

7. ประภัสสร บัณฑุรัตน์ การติดเชื้อในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงโหม,. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2542.