การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองระหว่างกลุ่มผู้ป่วย ความด้นโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความด้นโลหิตได้ กับกลุ่มที่ควบคุมระดับความด้นโลหิตไม่ได้

Main Article Content

วรัญญา แปลงดี
วลัยพร นันทศุภวัฒน์
จีราวัฒน์ แก้ววินัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ กับกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้
สถานที่ศึกษา: คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลปะคำ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่คลินิกความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 140 คน
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ Independent t-test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้มีพฤติกรรมการ ดูแลตนเองโดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการขับถ่ายและการ ระบายให้เป็นปกติ 2) ด้านการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หน้าที่ และ ความผาสุก 3) ด้านการจัดการเพื่อบรรเทาความตึงเครียดและเอาชนะผลกระทบ ที่เกิดจากความเจ็บป่วย 4) ด้านการรับรู้ สนใจ ดูแลผลของพยาธิสภาพและการ รักษารวมถึงผลที่กระทบต่อพัฒนาการ และ 5) ด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษา วินิจฉัยส่งเสริมและฟื้นฟูสภาพร่างกายสูงกว่ากลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับน้อยกว่า 0.05
สรุป: บุคลากรทีเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรมีการส่งเสริมและ สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สุพรรรณ ชูชื่น. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอคอนสรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ สธ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2547.

2. Terrie, Yvett C. "Hypertension : Beyond JNC 7," Pharmacy Times. March, 2006. May 12, 2006.

3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายและอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2548;36:1:1.

4. รายงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกคลินิกโรคความดันโลหิตสูง. รายงานสถิติผู้ป่วยนอก คลินิกโรคความดันโลหิตสูงประจำปี 2549. ในเวชระเบียนโรงพยาบาลปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. ม.ป.ท. ; 2549.

5. รายงานเวชระเบียนผู้ปวยนอกคลินิกโรค ความดันโลหิตสูง. รายงานสถิติผู้ป่วยในคลินิก โรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2549. ในเวชระเบียนโรงพยาบาลปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. ม.ป.ท.; 2549.

6. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น ; 2545.

7. อุ่นใจ เครือสถิตย์. ประสิทธิผลการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2542.

8. จิราวดี สินไชย. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2547.

9. Orem, D.E. Taylor Susan G. Nursing : Concepts of Practice. 1st. Louis : Mosby Year Book ; 1995.

10. ลัญชนา จำปาทอง. ภาวะเสี่ยง การรับรู้ภาวะเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และพฤติกรรมการ ป้องกันโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.