สภาพปัญหา ความต้องการ ผลการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2548-2550

Main Article Content

ตรูตา มีธรรม
พิสมัย ภาดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป สภาพปัญหาอุปสรรค ความต้องการ และผลการดำเนินงาน ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการ: เป็นการวิจัยสำรวจเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นคนพิการทั้งหมด ในเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ในเขตอำเภอเมือง อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ รวบรวมผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: พบว่าคนพิการในเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ มีทั้งหมด 1,294 คน ประเภทและลักษณะความพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ร้อยละ 39.4 สติปัญญาหรือการเรียนรู้ ร้อยละ 16.1 ทางจิตหรือทางพฤติกรรม ร้อยละ 14.3 ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ร้อยละ 13.4 ทางการมองเห็น ร้อยละ 10.7 และ พิการซ้ำซ้อน ร้อยละ 6.5 คนพิการส่วนใหญ่ ช่วยตัวเองได้บ้าง ต้องมีผู้ดูแล ร้อยละ 34.4 ช่วยตัวเองไม่ได้ ร้อยละ 13.5 มีสิทธิบัตรทองคนพิการและจดทะเบียน ร้อยละ 31.0 เคยได้รับการตรวจแต่ไม่ได้รับการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ร้อยละ 44.3 สภาพปัญหาอยู่ในภาวะขัดสน ร้อยละ 88.7 ความต้องการ เบี้ยยังชีพ ร้อยละ 62.2 ติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 46.2 สังคมสงเคราะห์และสังคมบำบัด ร้อยละ 44.9 อุปกรณ์เครื่องช่วย ร้อยละ 19.5 จิตบำบัด ร้อยละ 172 กายภาพบำบัด ร้อยละ 15.4 จดทะเบียนคนพิการ ร้อยละ 45.1 ฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ร้อยละ 25.2 ฟื้นฟู สมรรถภาพทางสังคม ร้อยละ 14.1 ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ร้อยละ 10.4 ผลการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พบว่าโครงการรณรงค์ตรวจประเมิน ความพิการและจดทะเบียนคนพิการเชิงรุกปีงบประมาณ 2548 อัตราความ ครอบคลุมการได้รับสิทธิบัตรทองคนพิการเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.24 โครงการพัฒนา ศักยภาพแกนนำในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ อำเภอเมือง-พยุห์ จำนวน 320 คน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมในการดูแลคนพิการ แบบองค์รวมและต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ ในเครือข่ายบริการ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2550 ได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมด้านการพัฒนา ศักยภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ
สรุป: สภาพปัญหาของคนพิการส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขัดสน ความต้องการเบี้ยยังชีพ ติดตามเยี่ยมบ้าน และควรมุ่งเน้นการช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพคนพิการทุก ด้านโดยเฉพาะการพัฒนาด้านอาชีพ การสร้างเครือข่ายคนพิการและความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ: สภาพปัญหา, ความต้องการ, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, คนพิการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักงานส่งเสริมสวัสดีภาพ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ปี พ.ศ. 2534. ม.ป.ท : สำนักงานสวัสดิภาพ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ; 2534.

2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานการรณรงค์ตรวจประเมินและ จดทะเบียนเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ปีงบประมาณ 2550. นนทบุรี : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ; 2550.

3. สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ สำนักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. ม.ป.ท ; 2548. (เอกสาร อัดสำเนา)

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. ข้อมูลคนพิการจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2547. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ; 2547.

5. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ. ข้อมูลเบื้องต้นเงินกู้ยืม กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ปี 2548. ศรีสะเกษ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดครีสะเกษ ; 2548.

6. โรงพยาบาลศรีสะเกษ. โครงการมอบรถเข็น และอุปกรณเครื่องช่วยคนพิการ ปี 2547. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลศรีสะเกษ ; 2547.
7. โครงการรณรงค์ตรวจประเมินความพิการ เชิงรุกในชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและจดทะเบียนคนพิการเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2548. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลศรีสะเกษ ; 2548.

8. โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำในการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการเครือข่ายโรงพยาบาล ศรีสะเกษ อำเภอเมือง-พยุห์. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลศรีสะเกษ ; 2550.

9. โครงการส่งเสริมนวัตกรรมในการดูแลคนพิการ แบบองค์รวมและต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพ คนพิการ ในเครือข่ายบริการ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2550. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลศรีสะเกษ ; 2550