ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะ หายใจล้มเหลวและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ศิริวรรณ จิตต์ไชยวัฒน์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของเด็กโรคปอดอักเสบ ยังพบได้เป็นอันดับหนึ่งของ โรคติดเชื้อในเด็กอายุตากว่า 5 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่รายงานเกี่ยวกับรายละเอียดของเด็กโรคปอด อักเสบที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในประเทศไทย ยังมีไม่มากนัก จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน และ วางแผนการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรงต่อไป
วัตถุประสงค์:
1. ศึกษาความชุก ลักษณะทั่วไป อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเด็กโรค ปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
2. อัตราการเสียชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็ก โรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะ หายใจล้มเหลว และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 - 31 ธันวาคม 2549 เป็นระยะเวลา 1 ปี การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของ ผู้ป่วย ใช้สถิติ Chi-square, Mann Whitney บ test และ logistic regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่ได้รับการรักษาทั้งหมด 6,828 ราย มีผู้ป่วยที่มีภาวะ หายใจล้มเหลว และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 56 ราย คิดเป็นความชุกร้อยละ 0.82 มีผู้ป่วยเสียชีวิต 20 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0.29 ของผู้ป่วย เด็กโรคปอดอักเสบทั้งหมด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในการศึกษานี้ ได้แก่ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาตัวในไอ.ชี.ยู., PIP ที่สูงเกิน 22 cmH20, PEEP ที่สูงเกิน 4 cm H20 และ oxygen saturation น้อยกว่า 92% โดยปัจจัยเสียง ที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ oxygen saturation น้อยกว่า 92% (odds ratio 1.87, 95% CI 1.01-3.31, p = 0.01).
สรุป: จากการศึกษานี้พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ได้แก่ oxygen saturation น้อยกว่า 92% ดังนั้นผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ควรได้รับการตรวจวัด oxygen saturation ด้วย pulse oximeter เพื่อคัดกรอง ทุกราย โดยผู้ป่วยที่ตรวจวัด oxygen saturation ได้น้อยกว่า 92% ต้องได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิด และให้การรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อลดอัตรา การเสียชีวิตและอาจป้องกันการเสียชีวิตได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Campbell PW. Pneumonias. In: Rudolph AM, Hoffman JI, Rudolph CD, editor. Rudolph's Pediatrics. 20thed. London : Prentic Hall ; 1996:1650-5.

2. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, งานควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก, กองวัณโรค ; 2540. หน้า 1-48.

3. ธีรชัย ฉันทนโรจน์ศิริ. Community acquired pneumonia : อรุณวรรณ พฤทธิพันธ์, ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจน์วงศ์, ธีรชัย ฉัทนโรจน์ศิริ, บรรณาธิการ. Pediatric pulmonary and respiratory care: a current practices. กรุงเทพฯ บียอนด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ ; 2537. หน้า 131-41

4. Campbell PW 3rd, Stokes DC. Pneumonia. In: Loughlin G, Eigen H, editors. Respiratory disease in children diagnosis and management. Maryland : Williams & Wilkins ; 1994:351-72.

5. Correa AG, Starke JR. Bacterial pneumonia. In : Chernick V, Boat TF, editors. Kendy's disorder of respiratory tract in children. 6th ed. Philadephia : Saunder; 1998:485-503.

6. Sectish TC, Prober CG. Pneumonia. In : Behrman R, Kliegman R, Jenson H, editors. Nelson textbook of pediatrics. 17th ed. Philadelphia : Saunder Co ; 2003:1432-35.

7. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข แนวทางการบริบาลโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบ หายใจในเด็กของไทย. กองวัณโรค. 2539

8. สุภรี สุวรรณจูฑะ, ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ, เสริมศรี สันตติ, ธิติดา ชัยศุภมงคลลาภ. การดูแลบำบัดโรคทางเดินหายใจในเด็ก. กรุงเทพฯ : รวมทรรศน์ ; 2534.

9. นวลจันทร์ ปราบพาล. Pneumonia ในเด็ก ; วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์, วรนุช จงศรีสวัสดิ์, พรรณทิพา ฉัตรชาตรี, จิตลัดดา ดีโรจน์วงศ์, นวลจันทร์ ปราบพาล, บรรณาธิการ. ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแนวทางการดูแลรักษา. กรุงเทพฯ : เทกช์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น ; 2546. หน้า 280-90

10. Mandelli M, Mosconi P, Langer M, Cigada M. Prevention of pneumonia in an intensive care unit : a randomized multicenter clinical trial. Intensive Care Unit Group of Infection Control. Crit Care Med 1989;17:501-5.

11. Spooner V, Barker J, Tulloch S, Lehmann D, Marshall TF, Kajoi M, et al. Clinical signs and risk factors association with pneumonia in children admitted to Goroka hospital, Papua New Guinea. J Trop Pediatric 1989;35:295-300.

12. Demer AM, Morency P, Mberyo-Yaah F, Jaffar S, Blais C, Somse P, et al. Risk factor for mortality among children hospitalized because of acute respiratory tract infection in Bangui, Central African Republic. Pediatr Infect Dis J 2000;19:424-32.

13. Suwanjutha S, Ruangkanchanasetr S, Chantarojanasiri T, Hotrakitya S. Risk factors associated with morbidity and mortality of pneumonia in Thai children < 5 years. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1994;24:60-6.

14. Nascimento-Carvalho CM, Rocha H, Santos-Jesus R, Benquiqui Y. Childhood pneumonia: clinical aspects associated with hospitalization of death. Braz J Infect Dis 2002;129:65-71.

15. Shah N, Ramankutly V, Premila PG, Sathy N. Risk factors for severe pneumonia in children in South Kerala : a hospital-based case control study. J trop pediatric 1994;40:201-6.

16. Demer AM, Morency P, Mberyo-Yaah F, Jaffar S, Blais C, Somse P, et al. Risk factor for mortality among children hospitalized with severe pneumonia in Yemen. Ann Trop Pediatric 1997;17:321-6.

17. ลดาวัลย์ ชื่นจิตร, ประมวญ สุนากร, วาณี ราชเวชชพิศาล. การตายของโรคปอดอักเสบในเด็ก. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2527;5:181-92.

18. ประมวญ สุนากร. โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจในโรงพยาบาลเด็ก. วารสาร วัณโรคและโรคทรวงอก 2527;5:181-92

19. ประมวญ สุนากร, มุกดา หวังวีรวงศ์, ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย โรคปอดอักเสบในเด็ก. รายงานการศึกษากองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ ; 2534.