ประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นของโครงการคัดกรองเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตา โดยใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตา ชนิดไม่ต้องขยายม่านตา ในจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นของโครงการเบาหวานขึ้น จอประสาทตา โดยใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งแต่เดิม การตรวจเบาหวานขึ้นจอประสาทจะใช้จักษุแพทย์ ตรวจโดยขยายม่านตา แล้วใช้ กล้องตรวจจอประสาท ซึ่งทางปฏิบัติทำได้ไม่ทั่วถึง เนื่องจากจำนวนจักษุแพทย์ ไม่เพียงพอและปัญหาความห่างไกลของท้องถิ่น การใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตา ชนิดไม่ต้องขยายม่านตาเป็นการเข้าถึงผู้ป่วยโดยตรง แต่ผู้คัดกรองจอประสาทตา ควรเป็นที่ยอมรับได้
วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของการอ่านภาพจอประสาทตาของพยาบาลที่ ได้รับการอบรมเบาหวานขึ้นจอประสาทตากับจักษุแพทย์ในด้านจอประสาทตา และจุดรับภาพประสาทตา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยนำกล้องถ่ายภาพจอประสาทตาหมุนเวียนไปถ่าย ภาพจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวาน ทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ แล้วนำภาพถ่ายจอประสาทตามาวิเคราะห์ความสัมพันธ์
ผลการศึกษา: ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านผลภาพจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์และพยาบาล ที่ได้รับการอบรมเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในด้านภาวะเบาหวานขึ้นหรือไม่ขึ้น จอประสาทตา และเบาหวานขึ้นจุดรับภาพประสาทตาหรือไม่ มีค่าสัมประสิทธิ์ แคปป้า (Kappa coefficient) อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้มาก (ค่าสัมประสิทธิ์แคปป้า เท่ากับ 0.752 และ 0.724) ตามลำดับ ในด้านแบ่งความรุนแรงของโรคอยู่ในเกณฑ์ ปานกลางค่อนข้างต่ำ (ค่าสัมประสิทธิ์แคปป้าเท่ากับ 0.562)
สรุป: ผลการศึกษาประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นของโครงการเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในจังหวัดสุรินทร์พบค่าสัมประสิทธิ์แคปป้าในต้านภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และเบาหวานขึ้นจุดรับภาพประสาทตา อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้มาก จึงสรุปว่า พยาบาลที่ได้รับการอบรมเบาหวานขึ้นจอประสาทตาสามารถเป็นผู้คัดกรอง เบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระดับชุมชนได้
คำสำคัญ: โครงการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิด ไม่ต้องขยายม่านตา, เบาหวานขึ้นจอประสาทตา, เบาหวานขึ้นจุดรับภาพประสาทตา
Article Details
References
2. Szybinski z. Polish Multiceter Study on Diabetic epidemiology. Pol Arch med Wewn. 2001 Sep : 106(3);751-8.
3. Kohner, E. (1993). Diabetic retinopathy, BMJ, 307, 1195-1199.
4. Cummings DM, Morrissey S, Barondes MJ, Rogers L, Gustkes. Screening for diabetic retinopathy in rural areas ; the potential of Telemedicine. J Rural Health 2001;17;25-31.
5. Boucher MC, Gresset JA, Angioi K, Olivier S. Effectiveness and Safety of screening for diabetic retinopathy with non myodriatic digital images compared with the seven standard stereoscopic photographic field. Can J Ophthalmology 2003;38(7):557-68.
6. Choremis J. Chow DR. Use of telemedicine in Screening for Diabetic retinopathy Can J Ophthalmol 2003;38:575-9
7. Jacob, Stead J, Sykes J, Taylor D, Tooke JE. Aveport on the use of technician ophthalmology combined with the use of the canon non-mydriatic camera in screening for Diabetic retinopathy in the community. Diabet Med 1995 May; 12(5):419-25.
8. Leese GP, Ahmed S, Newton RW., Jung RT, Ellingford A, Baines P, Roxburgh S, Coleiro J. Use of mobile screening unit for diabetic retinopathy in rural and urban areas. BMJ 1993;306:187-9
9. Taylorr R. Practical community screening for diabetic retinopathy using the mobile retinal camera ; report of a 12 centre study, British Diabetic Association Mobile retinal screening group, Diabet Med. 1996 Nov; 13(11):946-52.
10. Okoli U, Mackay K. An evaluation of Diabetic retinopathy screening models. J Public Health Med 2002;24:190-5
11. James M. Gill, David M, Cole, Harry M, Lebowitz, Jame J. Diamond. Accuracy of screening for diabetic retinopathy by family physicians. Annals of Family Medicine 2004;2;218-20.
12. Moss, S.E., et al. (1985). Comparison between opthalmoscopy and Fundus photography in determining severity of diabetic retinopathy. Ophthalmology, 92; 62-7