ผลการผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกของโรงพยาบาลสุรินทร์ ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (พ.ศ. 2550)
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลการวิจัย: ต้อกระจกเป็นสาเหตุหลักของตาบอดในประเทศไทยจึงมีการรณรงค์ทำผ่าตัดต้อกระจกขึ้นในจังหวัดสุรินทร์
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาผลลัพธ์การบริการผู้ป่วยต้อกระจกของโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2550 ในเชิงปริมาณเชิงคุณภาพและผลกระทบต่อเนื่อง
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ป่วยต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัด ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ตลอดปี พ.ศ. 2550
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาล สุรินทร์ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ผลการศึกษา: พบว่าในเชิงปริมาณ จากจำนวนที่ผ่าตัดต้อกระจกทั้งหมด 1,584 ราย เป็นผู้ป่วย สายตาระดับบอด 1,377 ราย ซึ่งเพียงพอต่อการควบคุมจำนวนอุบัติการณ์ผู้ป่วย ต้อกระจกสายตาระดับบอด (Incidence of blinding cataract) ของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีจำนวน 1,371รายในเชิงคุณภาพพบว่าการคัดเลือกผู้ป่วยทำผ่าตัดต้อกระจก ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีระดับการมองเห็นเท่ากับหรือน้อยกว่า 10/200 ร้อยละ 86.93 ซึ่งถือเป็นสายตาระดับบอดผลการมองเห็นหลังผ่าตัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 45.58 ระดับปานกลาง ร้อยละ 50.38 และผลกระทบที่เกิดขึ้นของการ ดำเนินการนี้ทำให้ระยะเวลานัดผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกเฉลี่ยในแต่ละเดือนลดลง คือ เมื่อเดือนมกราคม ระยะเวลานัดผ่าตัดเฉลี่ย 4.58 เดือน ได้ลดลงไปเป็น ลำดับจนถึงเดือนธันวาคม เหลือ 0.46 เดือน
สรุป: การบริการทำผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกในปีนี้ได้คัดเลือกในกลุ่มผู้ป่วยที่เหมาะสม คือ ผู้ที่มีสายตาระดับบอด ซึ่งถ้าทิ้งไว้จะเป็นปัญหาทางจักษุสาธารณสุขต่อไปและ แม้ว่าจำนวนการทำผ่าตัดต้อกระจกในปีนี้จะลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยต้อกระจกสายตา ระดับบอดรายเกิดใหม่ได้ (Incidence of blinding cataract) แต่สิ่งที่ท้าทาย ต่อไป คือ การควบคุมความซุกของผู้ป่วยต้อกระจกสายตาระดับบอดที่สะสม (Prevalence of blinding cataract) ซึ่งมีถึง 3,428 ราย แต่หากโรงพยาบาล สุรินทร์มีทรัพยากรเพิ่มขึ้นและรูปแบบการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นก็คงจะสำเร็จ ได้อย่างแน่นอน
คำสำคัญ: ความชุกของผู้ป่วยต้อกระจกสายตาระดับบอด, อุบัติการณ์ของผู้ป่วยต้อกระจก สายตาระดับบอด, ระดับสายตา, ระยะนัดผ่าดัด
Article Details
References
2. คณะทำงานโครงการปัองกันตาบอดและควบคุมสายตาพิการ. รายงานการสำรวจสภาวะ ตาบอดจากต้อกระจกและความครอบคลุมของการให้บริการ พ.ศ. 2539. ลำปาง : กิจเสรีการพิมพ์, 2540
3. Limburg H. Monitoring Cataract Surgical Outcome : methods and tools. Comm Eye Health 2002 : 15 (44) : 51-53.
4. Konyama K. Cataract epidemiology screening of the cataract blind in mass intervention programmes. Thai J PBI Hlth Ophthalmol 2002;16(1):75-82.
5. Jenchitr W, Pongprayoon C. The national programmes for the prevention of blindness and eye health promotion in Thailand. Thai J PBI Hlth Opthalmol 2003;17(1):6-19.
6. Foster A. Cataract - a global perspective : output, outcome and outlay. Eye 1999;13:449-53.
7. เพียงใจ คำพอ. ผลการผ่าตัดต้อกระจกโครงการ เฉลิมพระเกียรติ 100ปี สมเด็จย่าโรงพยาบาล มหาสารคาม. จักษุสาธารณสุข 2544:15(1):29-38
8. สริรัตน์ เตโชเรืองวิวัฒน์. ระดับสายตาก่อนผ่าตัดและภูมิลำเนาของผู้ป่วยต้อกระจกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารจักษุสาธารณสุข 2547:18(1):49-56.
9. Taylor HR. Cataract : how much surgery do we have to do? Br J Ophthalmol 2000:84:1-2.