ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

Main Article Content

เด่นชัย ตั้งมโนกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานการตรวจคัดกรองและรักษาอย่างทันเวลาสามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการตรวจตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา จำนวน 580 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Fisher exact test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา: พบภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ร้อยละ 14.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี(aOR=2.3, 95%; CI:1.4-3.8) ความดันโลหิตซิสโตลิก มากกว่า 140 mmHg(aOR=2.0, 95%; CI: 1.2-3.5) ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเกิน 7 มก./ดล.(aOR=2.5, 95%; CI: 1.4-4.5) และการรักษาเบาหวาน (aOR=0.1,95%; CI: 0.1-0.9)
สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวควรได้รับการตรวจจอประสาทตาอย่างน้อยปีละครั้งเป็นการค้นหาผู้ป่วยในระยะแรก เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา
คำสำคัญ: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาเบาหวานชนิดที่ 2

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคเรื้อรังในประเทศไทย. นนทบุรี : สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

2. Moss SE, Klein R, Klein BE. The 14-year incidence of visual loss in a diabetic population. Ophthalmology 1998;105(6):998-1003.

3. Samaiporn S, Lertmeemongkolchai P, Chongwiriyanurak T. Prevalence and risk factor of diabetic retinopathy in relation to duration of diabetes mellitus in community hospitals of Lampang. Thai J Ophthalmol 2001;15:1-8.

4. Ausayakhun S, Jiraratsatit J. Prevalence of diabetic retinopathy in NIDDM patients. Thai J Ophthalmo 1990; 5:133-8.

5. Supapruksakul S. Prevalence of diabetic retinopathy in Trang hospital. 12 th Region medical. Journal of MOPH 1997;8:39-48.

6. พิทยา ภมรเวชวรรณ, อุบลรัตน์ ปทานนท์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. จักษุเวชสาร 2547;18(1):77-84.

7. Chen MS, Kao CS, Chang CJ, Wu Tj, Fu CC, Chen CJ, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among noninsulin-dependent diabetic subjects. Am J Ophtalmo 1992;114(6):723-30.

8. Cai XL, Wang F, Ji LN. Risk factors of diabetic retinopathy in type 2 diabetic patients. Chin Med J (Engl) 2006:20;119(10):822-6.

9. Dowse GK, Humphrey ARG, Collins VR, Plehwe W, Gareeboo H, Fareed D, et al. Prevalence and risk factors for diabetic retinopathy in the multiethnic population of Mauritius. Am J Epidemiol 1998;147(5):448-57.

10. Lim A, Stewart J, Chui TY, Lin M, Ray K, Lietman T, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy in a multi-racial underserved population. Ophthalmic Epidermiol 2008;15(6):402-9.

11. Pradeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A, Rema M. Risk factors for diabetic retinopathy in a South Indian Type 2 diabetic population in the Chennai Urban Rural Epidermiology Study (CURES). Diabet Med 2008;25(5):536-42.

12. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาสาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2552.

13. สมพร ปิยมาตย์, เบญจา มุกตพันธุ์, สุพัฒน์ พงศ์สิงห์ยะบุศย์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ณ โรงแรมโฆษะ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2557:1733-39.

14. อนุพจน์ สมภพสกุล, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์, พนม สุขจันทร์, ปวริศ หะยีอามะ, ฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ, กรชนก ตั้งนภาดลและคณะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2555;4(3):29-43.

15. กรทิพย์ มิตรวงษา. อุบัติการณ์การเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดมุกดาหาร ปี พ.ศ.2553. มุกดาหาร : ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลมุกดาหาร; 2553.

16. นิภาพร พวงมี, กรรณิการ์ คำเตียม, สุภเลิศ ประคุณหังสิต. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุ โรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3):336-45.

17. Giloyan A, Harutyunyan T, Petrosyan V. The prevalence of and major risk factors associated withdiabetic retinopathy in Gegharkunik province of Armenia: cross-sectional study. BMC Ophthalmol 2015;15:46.

18. Ahmed RA, Khalil SN, Al‑Qahtani MA. Diabetic retinopathy and the associated risk factors in diabetes type 2 patients in Abha, Saudi Arabia. J Family Community Med 2016;23(1):18-24.

19. อริย์ธัช เอี่ยมอุดมสุข, กรรณิกา เอี่ยมอุดมสุข. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557;4(2):109-7.

20. ณัฐพงศ์ เมเฆสิงหรักษ์, สิรินันท์ ตรียะเวชกุล, จีราวัฒน์ สวัสวิทยะยง, หญิง สุพัฒนวงศ์, ปณตศม เง่ายุธากร,  อรณิชา พิมพะและคณะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาจากเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่งในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;23(3):35-45.

21. Stram DA, Jiang X, Varma R, Torres M, Burkemper BS, Choudhury F, et al. Factors Associated with Prevalent Diabetic Retinopathy in Chinese Americans: The Chinese American Eye Study. Ophthalmol Retina 2018;2(2):96-105.