ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก : กรณีศึกษาที่หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

เพลินจิตร ธาราเสาวรภย์
วิชัย อึงพินิจพงศ์
พิศมัย มะลิลา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก; กรณีศึกษาที่หน่วยงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ทำการวิจัย: หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 14 ราย ที่มารับการรักษาที่หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 และได้รับการติดตาม ประเมินผลทุกเดือน จนถึงเดือนมกราคม 2547
การวัดผล: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ของจำนวนนับ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยนักกายภาพบำบัดในด้านระบบประสาท ระบบการควบคุมการเคลื่อนไหว และกิจวัตรประจำวัน เพื่อตรวจประเมินสาเหตุของอาการปวดไหล่ ขณะรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด 2-3 ครั้ง หลังจากออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามประเมินผลทุกเดือน เป็นจำนวน 6 ครั้ง โดยนักกายภาพบำบัดพร้อมกับได้รับคู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 5 คน ในจำนวน 14 คน (36%) มีอาการปวดไหล่ ในช่วง 3 เดือนแรก และในเดือนที่ 6 พบว่ามีผู้ป่วยอัมพาต 2 คน (14.3%) มีอาการปวดไหล่ ชี้ให้เห็นว่าความผิดปกติในระบบประสาทและการควบคุมการเคลื่อนไหวเป็นปัจจัยที่มีส่วนในการทำให้เกิดอาการปวดไหล่
สรุปผล: ความชุกของการเกิดอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยอัมพาตพบได้บ่อยและความผิดปกติ ของระบบประสาทและการควบคุมการเคลื่อนไหวมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. สุรพงษ์ อำพันวงษ์. อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง. [google], [cited 2004 Aug 30]. Available from :URL: https://www.elib-online.Come/doctors/cva.Html.

2. ชัยชน โลว์เจริญกูล. หากอัมพาตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต . [google], [cited 2004 May 12]. Available from : URL: https:/www.md.chula.ac.th/public/medinfo/disease/paralysis/paralysis5.html

3. Gardner MJ, Ong BC, Liporace F, Koval KJ. Orthopedic issues after cerebrovascular Accident. Am J Orthop 2002 Oct ; 31(10) : 559 - 68 [pub medj. [cited 2005 Jan 29]. Available from : URL : https://www.ncbi.nlm.gov/.entre2/query.fegi?cmd=Retrieve&db=Pubmed &...

4. น้อมจิตต์ นวลเนตร์. อัมพาตครึ่งซีก... ท่านสามารถช่วยเขาได้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : หจก. เอมี่ เทรดดิ้ง, 2545.

5. Bender L, MC Kenna K. Hemiplegic shoulder pain : defining the problem and its Management. Disabil Rehabil 2001, Nov 10:23.

6. Chantraine A, Baribeault A, Uebelhart D, Gremion G. Shoulder Pain and Dysfucntion In Hemiplegic : Effects of Functional Electrical Stimulation. Arch Phys Med Rehabil. 80, March 1999.

7. Walsh K ; Management of Shoulder Pain in Patients with Stroke. Postgrad Med J,Oct 2001;77(912):645-9.

8. Bohann RW. Shoulder Pain in Hemiplegia : Statistical Relationship with Five Variables. Arch Phys Med Rehabil. 67:514-516, 1986.

9. Danatelli RA. Clinics in Physical Therapy; Physical Therapy of the Shouder. 3rd.ed. New York. Churchill Livingstone; 1997. p214-15.

10. Ratnasabapathy Y, Broad J, Baskett J, Pledger M, Marshall J, Bonita R. Shoulder Pain in people with a stroke : a population-base study. Clin Rehabil 2003 May ; 17(3):304-11