แบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อ ในการทำนายการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไปในเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขลำดับต้นๆ ของโลกและของประเทศไทย เนื่องจากอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเบาหวานชนิดที่สองจากสถิติของประเทศไทยพบความชุกของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 8.9 จังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – พ.ศ.2561 พบโรคเบาหวานสะสมมากขึ้นในทุกๆ ปี โดยพบจำนวน 41,706 ราย, 43,566 ราย, 46,742 ราย ตามลำดับนอกจากปัจจัยด้านพันธุกรรมแล้ว อายุอาหารที่ไม่เหมาะสม ความอ้วนและขาดการออกกำลังกายเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ การตรวจคัดกรอง(screening test)มีประโยชน์ในการค้นหาผู้ซึ่งไม่มีอาการเพื่อการวินิจฉัยและให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยมุ่งป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างไรก็ดีประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาเพื่อความประหยัด การใช้วิธีการคัดกรองความเสี่ยงของเบาหวานด้วยวาจา (Verbal Screening) 5 ข้อเพื่อใช้ทำนายการเกิดเบาหวานชนิดที่2 จึงประหยัดเวลา น่าจะทำให้เกิดคุ้มทุนมากที่สุด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้แบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อ ในการทำนายการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไปในเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางแบบไปข้างหน้า (Cross sectional cohort study)
วิธีการศึกษา: ใช้แบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อในการคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไปเพื่อทำนายการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 กันยายน พ.ศ.2559 – 1 ธันวาคม พ.ศ.2560 ในประชากรทั้งหมด 56,517 ราย กลุ่มปกติจำนวน 49,989 ราย กลุ่มที่เป็นเบาหวานจำนวน 6,528 ราย
ผลการศึกษา: กลุ่มเบาหวานมีอายุ ดัชนีมวลกาย ความดันซิสโตลิกและความดันไดแอสโตลิกความชุกของประวัติครอบครัว acanthosis nigricans การสูบบุหรี่ ค่า normal fasting glucose มากกว่ากลุ่มปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อหาความเสี่ยงสัมพัทธ์ระหว่างแบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อกับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าคนที่มีภาวะอ้วนมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ 0.932 เท่า (OR 0.932, 0.876 - 0.992 95%CI) ความชุกของประวัติครอบครัวมีความเสี่ยงสัมพัทธ์1.014 เท่า (OR 1.014, 1.009 – 1.020 95%CI) คนที่มีความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ 0.183 เท่า (OR 0.183, 0.177 - 0.190 95%CI) การสูบบุหรี่มีความเสี่ยงสัมพัทธ์1.125 เท่า (OR 1.125, 1.049 - 1.207 95%CI) คนที่มี acanthosis nigrican มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.014 เท่า (OR 1.014, 0.953 – 1.07995%CI) เมื่อนำตัวแปรเข้าสมการถดถอย multiple logistic regression พบว่าทั้งการสูบบุหรี่ ความอ้วน ความชุกของประวัติครอบครัว และความดันโลหิตสูงสามารถทำนายการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการสูบบุหรี่ (p<0.009) มีอำนาจการทำนาย 0.9 เท่า ความชุกของประวัติครอบครัว (p<0.001) สามารถทำนาย
การเกิดโรค 0.7 เท่า ภาวะอ้วน (p<0.001) มีอำนาจการทำนายการเกิดโรค 1.0 เท่า ความดันโลหิตสูง (p<0.001) สามารถทำนายได้สูงถึง 10.0 เท่าส่วน acanthosis nigrican ไม่สามารถนำมาใช้ในการทำนายโรคเบาหวานได้ แต่เมื่อพิจารณาทั้งสมการพบว่าแบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อ สามารถทำนายการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปได้ 0.2 เท่า (p<0.001)
สรุป: แบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อ สามารถทำนายการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้ แต่อำนาจการทำนายค่อนข้างต่ำ ดังนั้นอาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักอย่างเดียวในการคัดกรองโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตามในสถานพยาบาลที่มีข้อจำกัดเรื่องบุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การใช้แบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อ ก็อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมเพราะมีต้นทุนต่ำ ความสะดวก ประหยัดเวลา
คำสำคัญ: แบบคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา 5 ข้อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisal P, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, et al. The prevalence and management of diabetes in Thai adults: the international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care 2003;26(10):2758-63.

2. เทพ หิมะทองคำ, ธิดา นิงสานนท์, รัชตะ รัชตะนาวิน, บรรณาธิการ. ความรู้เรื่องเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์. ฉบับพิมพ์ที่ 3. กรุงเทพฯ : วิทยาพัฒน์; 2557.

3. วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

4. โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงาน service plan NCD : คู่มือตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. สุรินทร์: โรงพยาบาลสุรินทร์; 2562.

5. สํานักนโยบายและยุทธศาสตร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์เบาหวานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์; 2553.

6. [No authors listed]. Report of the Expert Committee on the Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Diabetes Care 1997;20(7):1183-97.

7. Genuth S, Alberti KG, Bennett P, Buse J, Defronzo R, Kahn R, et al. Follow-up report on the diagnosis of diabetes mellitus. Diabetes Care 2003;26(11):3160-7.

8. American Diabetes Association. Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care 2010;33(Suppl 1):S62-9.

9. Rahman M, Simmons RK, Harding AH, Wareham NJ, Griffin SJ. A simple risk score identifies individuals at high risk of developing Type 2 diabetes: a prospective cohort study. Fam Pract 2008;25(3):191-6.

10. Lim NK, Park SH, Choi SJ, Lee KS, Park HY. A risk score for predicting the incidence of type 2 diabetes in a middle-aged Korean cohort: the Korean genome and epidemiology study. Circ J 2012;76(8):1904-10.

11. วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, ปฤษฐพร กิ่งแก้ว. การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผล และต้นทุน-อรรถประโยชน์ ของการคัดกรองเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรไทย. [อินเตอร์เน็ท]. 2556 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กพ.2562]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.hitap.net/resources/page/32.

12. Aekplakorn W, Bunnag P, Woodward M, Sritara P, Cheepudomwit S, Yamwong S, et al. A risk score for predicting incident diabetes in the Thai population. Diabetes Care 2006;29(8):1872-7.

13. Lawrence J, Robinson A. Screening for diabetes in general practice. Prev Cardiol 2003;6(2):78-84.

14. Guasch-Ferré M, Bulló M, Costa B, Martínez-Gonzalez MÁ, Ibarrola-Jurado N, Estruch R, et al. A risk score to predict type 2 diabetes mellitus in an elderly Spanish Mediterranean population at high cardiovascular risk. PLoS One 2012;7(3):e33437.

15. Bozorgmanesh M, Hadaegh F, Ghaffari S, Harati H, Azizi F. A simple risk score effectively predicted type 2 diabetes in Iranian adult population: population-based cohort study. Eur J Public Health 2011;21(5):554-9.

16. Glümer C, Jørgensen T, Borch-Johnsen K. Targeted screening for undiagnosed diabetes reduces the number of diagnostic tests. Inter99(8). Diabet Med 2004;21(8):874-80.