ผลของการฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อความเครียด ความเจ็บปวด และพฤติกรรมเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด

Main Article Content

พิกุล บัณฑิตพานิชชา
สุภาวดี เหลืองขวัญ
นงลักษณ์ พลแสน
ลักษณวรินทร ภู่ระย้า
สาวิตรี ศรีขาว
บังอร ตุพิมาย

บทคัดย่อ

บทนำ: การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรแม้ว่าจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ก็สามารถสร้างความวิตกกังวลแก่ผู้คลอดได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความกลัว ความวิตกกังวลจะมากขึ้นเมื่อถึงระยะใกล้คลอด โดยเฉพาะผู้คลอดในครรภ์แรกที่ไม่เคยผ่านกระบวนการคลอดมาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความเครียด ความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอด ระหว่างผู้คลอดที่ได้รับการฝึกการเจริญแบบเคลื่อนไหว และผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ
รูปแบบวิจัย: การศึกษานี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงตั้งครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามประเมินความเครียด แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด แบบวัดระดับความเจ็บปวดVisual Analogue Scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการทดลอบทีทำการศึกษาในแผนกฝากครรภ์และห้องคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2561
ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งในระยะปากมดลูกเปิด 4-5 เซนติเมตร, 6-7 เซนติเมตรและ 8-10 เซนติเมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งในระยะปากมดลูกเปิด 4-5 เซนติเมตร, 6-7 เซนติเมตรและ 8-10 เซนติเมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)และ ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งในระยะปากมดลูกเปิด 4-5 เซนติเมตร, 6-7 เซนติเมตรและ 8-10 เซนติเมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)
สรุป: การฝึกการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว มีผลทำให้ความเครียด และความเจ็บปวดลดลง ส่งผลให้ผู้คลอดแสดงพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดไปในทางที่ดีขึ้น
คำสำคัญ: การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ความเครียด ความเจ็บปวดในระยะคลอด พฤติกรรมเผชิญความเจ็บปวด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. พฤหัส จันทร์ประภาพ, ธีระ ทองสง. การดูแลในระยะคลอด. ใน: ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พี.พี.ฟอเรนบุคส์ เซนเตอร์; 2541.

2. Revill SI, Robinson JO, Rosen M, Hogg MI. The reliability of a linear analogue for evaluating pain. Anaesthesia 1976;31(9):1191-8.

3. ธวัชชัย วรพงศธร. หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

4. ปาริฉัตร อารยุจารุ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรม การเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. ภาควิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

5. รสสุคนธ์ ลิ้มทะวงศ์. ผลการเตรียมคลอดด้วยวิธีของลามาซต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของมารดาในระยะคลอดสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2530.

6. อุสาห์ ศุภรพันธ์. การพยาบาลมารดาเพื่อลดความเจ็บปวดในระยะคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

7. หญิง แท่นรัตน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อคะแนนความเจ็บปวดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

8. พระราชวรมุณี. พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาราชวิทยาลัย; 2529.

9. สุจิรา จรัสศิลป์. ผลของการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาที่มีต่อระดับความเครียด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2545;47(2):145-53.

10. พระพุทธยานันทะภิกขุ. สติเคล็ดลับมองด้านใน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาราชวิทยาลัย; 2545.

11. ขวัญตา เพชรมณีโชติ. ผลการฝึกสมาธิตามแบบพุทธวิธีต่อการลดความวิตกกังวลและความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข, คณะวิทยาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.