การเปรียบเทียบความไวและความจำเพาะของการทดสอบคัดกรองโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ โดยวิธีดื่มกลูโคส 50 กรัม ระหว่างภาวะรับประทานอาหาร และงดอาหารมาก่อนทดสอบ

Main Article Content

ชินรัตน์ ประเสริฐถาวรศิริ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความไวและความจำเพาะของการทดสอบคัดกรองโรคเบาหวาน ในหญิงตั้งครรภ์โดยวิธีดื่มกลูโคส 50 กรัมระหว่างภาวะรับประทานและงดอาหารมาก่อนทำการทดสอบ
ชนิดของการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบ
สถานที่ทำการศึกษา: คลีนิคฝากครรภ์ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
วิธีการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ และมาฝากครรภ์ที่ห้องฝากครรภ์โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 ถึงเดือนพฤษภาคม 2547 โดยแบ่ง หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานทั้งหมด 80 ราย เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือหญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานอาหารมาก่อนทำการทดสอบ กลุ่มที่ 2 คือหญิงตั้งครรภ์ที่งดอาหารมาก่อนทำการทดสอบ
ตัววัดที่สำคัญ: ความไวและความจำเพาะในการทดสอบคัดกรองโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์โดยวิธีรับประทานกลูโคส 50 กรัม จากการตรวจในภาวะรับประทานอาหารและงดอาหารมาก่อน
ผลการวิจัย: กลุ่มที่รับประทานอาหารมาก่อนการทดสอบพบว่าที่ความไวร้อยละ 67 ความจำเพาะ ร้อยละ 71 ส่วนในกลุ่มที่งดอาหารมาก่อนการทดสอบพบว่ามีความไวร้อยละ 80 ความจำเพาะร้อยละ 77 ซึ่งพบว่าในหญิงตั้งครรภ์ทั้งสองกลุ่ม ความไวและความจำเพาะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.57 และ 0.89 ตาม ลำดับ)
สรุป: การตรวจ 50 grams glucose challenge test ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องงดอาหารมาก่อน เนื่องจากความไวและความจำเพาะในการตรวจพบโรคในภาวะทั้งสองดัง กล่าวไม่ต่างกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Cunningham FG, MacDonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LC III. Williams Obstetrics. 21ed. East Norwalk : Appleton & Lange, 2001:1359-81.

2. Carpenter MW. Rational and performance of test for gestational diabetes. Clinical Obstetric Gynecology 1991;34:544-57.

3. Coustan DR. Felig p. Diabetes mellitus. In : Burrow GN, Ferris TF, eds. Medical Complications during pregnancy. 5th ed. Philadelphia : W.B. Saunder, 1995.

4. Kurt J. Isselbacher, Eugene Braunwald. Jean D. Wilson, Joseph B. Martin, Anthony S. Fauci. Harrison's Principle of Internal Medicine. 15th ed. New york : Mcgraw-Hill, 2001 : 2000-6.

5. Third International Workshop-Conference on Gestational Diabetes : November 8-10, Chicago, IL. Diabetes 4052 : 1, 1991

6. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Levono KJ, Gilstrap LC III. Williams Obstetrics. 21th ed. East Norwalk : Appleton & Lange, 2001: 855-82

7. Speroff L. Glass RH, Kase NG. Clinical gynecologic endocrinology and infertility. 6th ed. Baltimore : William & Wilkins, 1999: 652-63.

8. ลักฃณา ไทยเครือ. คู่มือวิเคราะห์ข้อมูลสาธารณสุขโดยใช้ Epi Info Version 6 (ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ). โครงการ ตำราสำนักงานนโยบายและสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2539 : 13-118.

9. ทัสสนี นุชประยูร. เติมศรี ชำนิจารกิจ. สถิติในวิจัยทางการแพทย์. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2537 : 221-76.

10. Espinoso de los Montevos A. Parra A, Carcino N. Raminez A. The reproducibility of the 50 grams screen for diabetes in pregnancy. Obstet Gynecol 82 : 515. 1993.

11. Coustan DR. Widness JA. Carpenter MW, Rotondo L. Chin-Pratt D. Should the 50 gram one hour plasma glucose sceening test for gestational diabetes be administered in fasting or fed state ? Am J Obstet Gynecol 1986 ; 1031-5.