สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหา: กระบวนการพยาบาลมีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาล โดยทำให้พยาบาล มีการวางแผนในการทำงานเพี่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็น อย่างมากที่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสุรินทร์ต้องมีสมรรถนะที่ เหมาะสมในการให้กระบวนการพยาบาล
วัตถุประสงค์:
1. เพี่อศึกษาสมรรถนะการให้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
2. เพี่อทราบปัญหาและข้อเสนอแนะในการให้กระบวนการพยาบาล
สถานที่: หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร: พยาบาลวิชาชีพมีประสบการณ์การปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 184 คน ให้การสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบ่งชั้น โดยสุ่มจากหอผู้ป่วยใน 29 แห่ง สุ่มจาก 4 แผนก คือ แผนกสูติกรรม อายุรกรรม ศัลยกรรมและกุมาเวชกรรม
วิธีการวิจัย: เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยการวัดความรู้ ทัศนคติและการใช้กระบวนการพยาบาล ใช้แบบสอบถามจากงานวิจัยของ จีระกานต์ สุขเมือง (2547) วัดค่าความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลได้ค่า 0.72 และแบบสอบถามทัศนคติและการให้กระบวนการพยาบาล มีค่าความเชื่อถือ 0.84 และ 0.95 ตามลำดับ แบบสังเกตการใช้กระบวนการพยาบาลผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยให้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน โดยขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ในการตรวจสอบ ดำเนินการเก็บข้อมูลช่วงแรก โดยการให้ตอบแบบสอบถามและช่วงที่สอง หัวหน้าหอผู้ป่วยทำการสังเกต
ผลการศึกษา: ด้านความรู้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 54.3 ทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาลระดับปานกลาง (MEAN = 2.55, S.D.= 0.49) ผลการใช้กระบวนการพยาบาลระดับปานกลาง (MEAN=2.7, S.D. = 0.40) จาก การสังเกตพบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้กระบวนการพยาบาลระดับปานกลาง ระยะเวลา การทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการพยาบาล
สรุป: ควรมีการประเมินการใช้กระบวนการพยาบาลโดยใช้การสังเกต
Article Details
References
2. Spitzer-Lehmann, R, Nursing management desk reference: Concept, Skill & Strategies. Philadephia : W.B. Saunders, 1994.
3. Selvey, C, Bontrager, J., Hirsh., & Daley, M. (1991). Clinical evaluation day: Measuring competency. Nursing Management, 22(4), 50-51.
4. Maynard, A., & Bulger, J. (1990) Competency in a changing world. The Canadian Nurse, February, 24-25.
5. จีรกานติ สุขเมือง. การพัฒนาการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลประจำการงานผู้ป่วยใน ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาล เพชรบูรณ์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา พยาบาลศาลตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547.
6. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.
7. อุทัย หิรัญโต. การบริหารการประยุกต์. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์. 2532.
8. กุลวดี อภิชาตบุตร และสมใจ สรกมล. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 2548. 32(4). 7-23.
9. ชาญ สวัสดิ์เสรี. คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ: การจัดดำเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ กพ. 2537.
10. Rath, D. Baumann, A. & Boblin-Commings, S. Individualized nchancement programs for nurses that promote competency. The journal of Continuing Education in Nursing, 27 (Jan-Feb), 12-16. 1996.