ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค retinopathy of prematurity ในทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ชิษณุพงศ์ ตั้งอดุลยรัตน์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: โรค retinopathy of prematurity เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในเด็กคลอดก่อนกำหนดซึ่งทำให้ตาบอดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเที่ยงต่อการเกิด ROP ในเด็กคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม รวมทั้งอุบัติการณ์และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด ROP
เป้าหมาย: ผู้ป่วยทารกคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์) และน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนและรับการรักษาที่แผนกอภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังแบบพรรณนา
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 ถึง 31 ธันวาคม 2548 โดย เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัจจัยต่าง ๆ ด้วย independent t-test และศึกษา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ROP โดยใช้ค่า odd ratio, relative risk
ผลการศึกษา: ทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ได้รับการตรวจตา 141 ราย (ร้อยละ14.5) โดยมีอายุครรภ์เฉลี่ย 31 สัปดาห์ และน้ำหนักแรกเกิด เฉลี่ย 1,949 กรัม ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเฉลี่ย 9.16 วัน ทารกจำนวน 92 ราย (ร้อยละ 65.2) ได้รับออกซิเจนกล่องอย่างเดียว จากการตรวจตาโดยจักษุแพทย์พบ ROP 22 ราย (ร้อยละ 15.6) โดยพบ ROP stage 1 มากที่สุด จำนวน 17 ราย (ร้อยละ 77.3) หลังจากการติดตามการดำเนินโรคพบว่า 15 ราย (ร้อยละ68.2) หายเป็น ปกติ 2 ราย อาการดีขึ้น (ร้อยละ 9.1), 2 ราย (ร้อยละ 9.1) อาการคงที่ 3 ราย อาการแย่ลง (ร้อยละ 13.6) และจากการหาค่า independent t-test ของข้อมูล เซิงปริมาณพบว่า ทารกที่เป็น ROP มีค่าเฉลี่ยของอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าทารกที่ไม่เป็น ROP แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีค่าเฉลี่ยของจำนวนวันนอนมากกว่าทารกที่ไม่เป็น ROP นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพโดยหาค่า odd ratio พบว่าทารกที่ได้รับเลือด, การถูก CPR ตั้งแต่แรกเกิด, การได้รับออกซิเจนจาก box หรือ ventilator และการเกิด RDS ทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิด ROP มากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับปัจจัยดังกล่าวเป็น จำนวน 4.5 เท่า, 6.1 เท่า, 5 เท่า และ 3.6 เท่า ตามลำดับ
สรุป: ทารกที่เกิด ROP มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักแรกเกิดและอายุครรภ์ต่ำกว่าทารกที่ไม่เกิด ROP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีค่าของจำนวนวันนอนสูงกว่าทารกที่ไม่เกิด ROP ส่วนทารกที่ได้รับเลือด, ถูก CPR ตั้งแต่แรกเกิด, ได้รับออกซิเจน จาก box หรือ ventilator และการเกิด RDS มีความเสี่ยงในการเกิด ROP มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ปัจจัยดังกล่าว
คำสำคัญ: ทารกคลอดก่อนกำหนด, จอตาผิดปกติ, การให้ออกซิเจน, น้ำหนักแรกเกิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ไอรีน ศุภางเสน. Retinopathy of prematurity. ในการประชุมวิชาการประจำปี 2543 ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย. 246-52.

2. อาวุธ แก้วภมร. Retinopathy of Prematurity ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ ปี 2546. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2547; 19(2): 1-13.

3. รังสรรค์ กองทอง. Retinopathy of Prematurity ในโรงพยาบาลนครปฐม ปี 2545. วารสารแพทย์ เขต 4 2546; 22(2): 83-92.

4. กัลยา สุดกรยุทธ์. อุบัติการณ์ของ Retinopathy ในทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสาร วิชาการสาธารณสุข 2547; 13(5): 776-82

5. Yanovitch TL, Siatkowski RM, Me Caffree M, Corff KE. Retinopathy of prematurity in infant with birth weight >1250 grams-incidence, severity and screening guideline cost analysis. J AA Pos 2006 Apr; 10(2):128-34.

6. Chiang MF, Arons RR, Flynn JT, Starren JB. Incidence of retinopathy of prematurity from 1996 to 2000:' analysis of a comprehensive New York state patient database. Ophthalmology 2004 Jul;111(7):1317-25.

7. Ho SF, Mathew MR, Wyke W, lavy T, Marshall T. Retinopathy of prematurity: in optimum screening strategy .JAAPOS 2005 ;9(6):584-8.

8. Liu PM, Fang PC, Huang CB, Kou HK, Chung MY, Yang YH et al. Risk Factors of retinopathy of prematurity in premature infants weighing less than 1600 gms. Am J Perinatal 2005 Feb;22(2):115-20 .
9. screening examination of Premature infants for retinopathy of prematurity. Pediatrics 2006;117:572-6.

10. Darlow BA, Hutchinson JL Henderson-Smart DJ, Donohgue DA, Simpson JM, Evans NJ et al. Prenatal risk factors For severe retinopathy of prematurity among very preterm infants of the Australian and New Zealand Neonatal Network. Pediatrics 2005 Aug;115 (4):990-6.

11. Nair PM, Ganesh A, Mitra S, Ganguly SS. Retionpathy of prematurity in VLBW and extreme LBW babies. Indian J Pediatr 2003;70:303-6.

12. Dulta S, Narang S, Narang A, Dogra M, Gupta A. Risk factors of threshold retinopathy of prematurity. Indian Pediatr. 2004 Jul;41(7):665-71.

13. Dani C, Reali MF, Bertini G, Martelli E, Pezzati M, Rubaltelli FF. The role of blood transfusions and iron intake on retinopathy of prematurity. Early Hum Dev 2001;62:57-63.

14. วรรณี ถิรภัทรพงศ์. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด retinopathy of prematurity. ในทารกเกิดก่อนกำหนด (วิทยานิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.