ผลการพัฒนาระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สันติ หวังกีรติกานต์
พัชฎาพร ชูเชิด

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: ในการติดตามความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในผู้ป่วยนับเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของเภสัชกร ซึ่งในการดำเนินงานด้านนี้ของศูนย์เครือข่าย 5/2 (จังหวัดสุรินทร์ และบุรีรัมย์) จากปี 2543 -2546 พบรายงาน 344 561 761 1,122 ตามสำดับ และจากผลการดำเนินการศึกษาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุรินทร์ปี2546 พบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเป็นสาเหตุการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 2.86 : 1000 รายผู้ป่วย ดังนั้นจึงได้พัฒนาระบบงานต่างๆเกี่ยวกับการติดตามอาการ ไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำ ลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่รุนแรงในผู้ป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล และ ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาใหม่ที่มีทะเบียนแบบมีเงื่อนไข
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้าโดยการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยาอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยในที่มีประวัติการแพ้ยา เกิดอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรง จากยาขณะอยู่โรงพยาบาลและใช้ยาใหม่ที่มีทะเบียนแบบมีเงื่อนไข โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างรันที่ 1 ต.ค. 46 - 30 ก.ย. 47
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยใน 58,847 ราย จำนวนวันนอน 208,919 วันนอน เกิดเหตุการณไม่พึงประสงค์ จากผลิตภัณฑ์สุขภาพ 367 ราย โดยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 332 ราย เพศขาย : หญิง ร้อยละ 36.51 : 63.69 อายุในช่วง 61-70 ปี ร้อยละ 20.10 ผู้ป่วยเกิด อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเป็นสาเหตุเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 2.94 :1,000 ราย ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาขณะอยู่ในโรงพยาบาล 7.61:10,000 วันนอน ผู้ป่วยเกิดอาการ Anaphylactic shock จากยา Gentamicin, Azithromycin อย่างละ 1 ราย ไม่พบผู้ป่วยเกิดภาวะ Renal failure 1 Hepatitis , Severe skin eruption และAnaphylactic shock จากยา Vancomycin ผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาป้า 1 ราย เกิดอาการไม่พึงประสงค์ จากยาใหม่ที่มีทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (ADR ยา Safety Monitoring Programme) ผลลัพธ์ หลังเกิดอาการไม่พึงประสงค์ คือ หายโดยไม่มีร่องรอยเดิม 8 ราย หายโดยมีร่องรอยเดิม 4 ราย ยังมีอาการอยู่ 1 ราย เสียชีวิตอาจเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ 1 ราย
สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยการให้มีข้อมูล ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติมและติดตามใกล้ชิด การสังเกตเวชระเบียน ผู้ป่วยแพ้ยาทุกครั้งและมีเภสัชกรให้ความรู้เรื่องยาที่แพ้อย่างครบถ้วน และบัตรเตือน เรื่องยา กรณีที่ยามีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงจะช่วยทำให้ได้ข้อมูลความ ปลอดภัยด้านยาที่มากขึ้น ผู้ป่วยไม่แพ้ยาซ้ำ และลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้ และควรจะดำเนินการให้ครอบคลุมในทุกหอผู้ป่วย ในรายการยาใหม่ตัวอื่นๆ แม้ไม่มีทะเบียนแบบมีเงื่อนไขแล้ว และการกำหนดฐานข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาในคอมพิวเตอร์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Lazarou J. Promeranz BH, Corey PN. Incidence of adverse drug reactions in hospitalized patient. JAMA 1998;279: 1200-5.

2. Roughead EE, Gilbert AL, Primose JG, Sansom LN, Drug related hospital admission: a review of Australian studies published 1988-1966. Med J Aust. 1998; 165:405-8

3. Pierre P, Francoise H, Jean LI, Bernard B. Admission to hospital caused by adverse drug reactions cross sectional incidence study. BMJ 2000;320:1036

4. Tragulpiankit P. In patient adverse drug reaction monitoring at the department of medicine. Ramathibodi Hospital. M.Sc Thesis in Pharmacy. Faculty of Graduatestudies. Mahidol University, 1995.

5. Choppradit C. Cost of adverse drug reaction in Samutsakhon hospital. M.Sc Thesis in Pharmacy. Clinical Pharmacy Graduate School. Khon Kaen University. 2000.

6. ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ จากผลิตภัณฑ์สุขภาพ APR Center, คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ : ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin disorders) กองวิชาการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2542.

7. ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการ ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่วมกับโครงการจัดตั้ง ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2544.

8. ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โครงการวิจัยการศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยาในผู้ป่วยใน แผนกอายุรกรรม กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

9.. ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการ ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แนวทางการปฏิบัติงาน ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธรณสุข, 2544.

10. Charls F. Lacy, Lora L. Armstrons Morion P. Goldman Leonard L Lance editors. Drug Information Handbook. 8th ed 2000-2001.

11. Chipolle RJ. Strand LM, Morley PC. Pharmaceutical Care Practice. St Louies (MO) : McGraw Hill, 1998.