การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

Main Article Content

จุฑาทิพย์ พฤฒิจิระวงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาประสิทธิภาพของการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ในสตรีที่ตรวจ พบความผิดปกติของปากมดลูก โดยมีผลทางพยาธิวิทยาเป็น cervical intraepithelial neoplasia (CIN)
แบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาโดยทบทวนประวัติสตรีที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาโดยการ ตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) จำนวน 88 ราย โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีผลการตรวจ pap smear ผิดปกติ และได้รับการยืนยัน การวินิจฉัยจากชิ้นเนื้อที่ได้จากการตัดภายใต้ กล้องคอลโปสโคป ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2546 ถึง 31 ธันวาคม 2547 โดยเก็บข้อมูลอายุ อาชีพ จำนวนการตั้งครรภ์ ข้อบ่งชี้ในการทำ LEEP และผลการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ ได้จากการทำ LEEP จากแบบฟอร์มการบันทึก สำหรับการตรวจ และการรักษา โดย Colposcope/LEEP
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าในผู้ป่วย 88 ราย ที่มารับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า(LEEP) ในช่วงเวลาดังกล่าว มีอายุเฉลี่ย 41.5 ปี (18-68 ปี) พยาธิสภาพของปากมดลูกที่พบมากที่สุด คือ CIS พบ 51 ราย (58%) นอกจากนี้ยังพบ microinvasive squamous cell carcinoma 2 ราย (2.3%) invasive squamous cellcarcinoma 2 ราย (2.3%) และ invasive adenocarcinoma 1 ราย (1.1%) ซึ่งในผู้ป่วย 3 ราย ที่เป็น invasive carcinoma ได้ส่งตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล มหาราชนครราชสีมา จากผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ได้จากการทำ LEEP ไม่พบเซลล์ผิดปกติที่ขอบชิ้นเนื้อทั้งหมด 52 ราย (59.1%) และพบเซลล์ผิดปกติที่ขอบชิ้นเนื้อ ทั้งหมด36ราย (40.9%) โดยในผู้ป่วยที่พบเซลล์ผิดปกติที่ขอบชิ้นเนื้อที่เป็น CIS 22 ราย ได้รับการรักษาต่อโดยการตัดมดลูก ผลพยาธิวิทยาพบรอยโรคที่เหลือ 9 ราย (40.9%) จากการศึกษาครั้งนี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนของการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าทุกราย
สรุป: การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการรักษาสตรีที่มีความผิดปกติของปากมดลูกที่มีผลพยาธิวิทยาเป็น cervical intraepithelial neoplasia (CIN)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. Cervical cancer : update and practice guideline. ใน : สมชาย สุวัจนกรณ์, สุวิทย์ บุญยะเวชชีวิน, วิสันต์ เสรีภาพงค์, บรรณาธิการ. 0B & GYN practice & update 2001: ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544. หน้า 309-22

2. วิรัช วุฒิภูมิ. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ใน : สมชัย นิรุตติศาสน์, ดำรง ตรีสุโกศล, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ, เรืองคักดิ์ เลิศขจรสุข, สุรางค์ ตรีรัตนชาติ, ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ และคณะ. คู่มือการอบรมระยะสั้น Colposcopy. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544. 69-80

3. วิรัซ วุฒิภูมิ, สายบัว ชี้เจริญ, รักชาย บุหงาชาติ. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า และกล้องคอลโปสโคป. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2542;17:133-8

4. Mathevet P, Dargent D, Roy M, Beau G. A randomized prospective study comparing three techniques of conization : cold knife, laser, LEEP. Gynecol Oncol 1994;54:175-9

5. Duggan BD, Felix JC, Muderspach LI, Gebhardt JA, Groshen S, Morrow CP, Roman LD. Cold-knife conization versus conization by the loop electrosurgical excision procedure : a randomized, prospective study. Am J Obstet Gynecol 1999;180:276-82

6. Girardi F, Heydarfadai M, Koroschetz F, Pickel H, Winter R. Cold-knife conization versus loop excision : histo-pathological and clinical result of a randomized trial. Gynecol Oncol 1994; 55:368-70

7. สมบัติ ศักดิ์สง่าวงษ์. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า (LEEP) ที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานี. วารสารการแพทย์กลุ่มเครือข่าย 6/2 2546; 11:97-105

8. ฉันทวัฒน์ เชนะกุล, สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา, ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล, นันทนา แก้วพิลา, สุระ โฉมแฉล้ม. ความสำคัญทางคลินิกของขอบชิ้นเนื้อจากการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยโดยใช้กระแสไฟฟ้า. วชิรเวชสาร 2545; 46:179-86