ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราป่วยตายของผู้ป่วยติดเชื้อ เมลิออยโดสิสในกระแสเลือด ในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

อิศรา สันตอรรณพ

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: เมลิออยโดสิสเป็นโรคที่พบได้บ่อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้อัตราการป่วยตายของโรคยังคงสูง โดยที่ไม่มีอาการและอาการแสดงที่เฉพาะเจาะจงที่จะบอกถึงผลการรักษา
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของโรคเมลิออยโดสิสร่วมกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย septicemic melioidosis
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการป่วยตายของผู้ป่วย septicemic melioidosis
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่วินิจฉัย melioidosis ร่วมกับผลเพาะเชื้อจากร่างกาย ในโรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546-30 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นระยะเวลา 2 ปี การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ การตายของผู้ป่วยโดยใช้สถิติ Chi-square, Fisher’s exact test และ logistic regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย melioidosis 67 คน และมี septicemia 29 คน มีอัตราการป่วยตายจากการติดเชื้อในกระแสเลือด 43.3 % อาชีพที่พบบ่อยคืออาชีพทำนา คิดเป็นอัตรา ร้อยละ 70.01 แหล่งติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือปอด อัตราร้อยละ 40.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการป่วยตายคือ ระดับความดันซิสโตลิก น้อยกว่า 90 มม.ปรอท (95% CI ะ 1.669-83.207 ; P = 0.021)
สรุป: ภาวะของ septicemic melioidosis เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญและพบได้บ่อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตรา การป่วยตายคือ ระดับความดันซิสโตลิกน้อยกว่า 90 มม.ปรอท เนื่องจากการ วินิจฉัยที่แน่นอนได้จากการเพาะเชื้อ จึงจำเป็นต้องการการรักษาเพื่อครอบคลุม เชื้อ melioidosis ในกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อความคุ้มค่าและเพิ่มโอกาส รอดชีวิตของผู้ป่วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Chaowagul W, Suputtamongkol Y, Dance DA, Rajchanuyong A, Pattara-arechachai J, White NJ. Relapse in melioidosis: incidence and risk factors. J Infect Dis 1993;168:1181-5

2. จิตติ จิตติเวชช์, สำเนียง บุษปวนิช, อรุณ เชาวนาศัย. เมลิออยโดสิส รายงานผู้ป่วยที่เป็นคนไทย 1 ราย. วิทยาสารเสนารักษ์ 2498; 8:8-11

3. Aswapokee N. Antimicrobial treatment of meliodosis: In: Punyagupta S, Sirisanthana T, Stapatayavong B, editors. Melioidosis. Bangkok Medical Publisher; 1989.p.230-2

4. Chaowagul W, White NJ, Dance DA, et al. Melioidosis; a major casuse of community acquired septicemia in northeastern Thailand. J Infect Dis 1989; 159:890-9

5. Suputtamongkol Y, Hall AJ, Dance DA, Chaowagul W, Rajchanuvong A, Smith MD, et al. The epidemiology of melio idosis in Ubon Ratchatani, Northeast Thailand. Inter J Epidemiol 1994;23: 1082-90

6. Wirongrong Chierakul, Siriluck Anun-natsiri, Jennifer M. Short, Bina Maharjan, Piroon Mootsikapun, Andrew J. H. Simpson, Direk Limmathurotsakul, Allen C. Cheng, Kasia Stepniewska, Paul N. Newton, Wipada Chaowagul, Nicholas J. White, Sharon J. Peacock, Nicholas P. day and Pleoenchan Chetchotisakd. Two randomized controlled trials of cedftazidime alone versus ceftazidime in combination with trimethoprim sulfamethoxazole for the treatment of severe melioidosis. CID, 2005:41:000-000

7. Punyagupta S. Melioidosis: review of 686 cases and presentation of a new clinical classification. In: Punyagupta ร Sirisanthana T, Stapoatayavong B, editors. Melioidosis. Proceedings of national work shop on melioidosis. Bangkok:Bangkok Medical Publisher; 1989.p.217-29

8. River E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Med 2001; 345: 1368

9. เพลินจันทร์ เชษฐโชติศักดิ์. บรรณาธิการ. โรคเมลิออยโดสิส (Mellioidosis). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โฮลิสติกพับลิชชิง; 2547

10. ภัทรพงษ์ พีรวงติ, ธงชัย สิทธิยุโณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตายของผู้ป่วย ติดเชื้อเมลิออยโดสิสในกระแสเลือดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2548;20(3)