การศึกษาภาระงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในของ โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดอัตรากำลังตามแผนปฏิรูประบบสาธารณสุข

Main Article Content

Nida Tasanaset

บทคัดย่อ

     การวิจัยฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาระงานในช่วงปี พ.ศ. 2540-2542 ของ โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ เพื่อใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางจัดอัตรากำลังตามแผนปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก วิเคราะห์ภาระงานการพยาบาลต่อจำนวนผู้ป่วยโดย จำแนกเป็นภาระงานตามประเภทผู้ป่วยเป็น 2 ประเภท คือ 1) ภาระงานต่อจำนวนผู้ป่วยคงพยาบาล 2) ภาระงานต่อจำนวนผู้ป่วยหนัก ส่วนที่สอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการ อัตราบุคลากรพยาบาล โดยใช้เกณฑ์ความต้องการพยาบาลจากภาระงานการพยาบาลต่อจำนวนผู้ป่วย 2) ความต้องการเพิ่มอัตราพยาบาล จากเกณฑ์ภาระงานพยาบาลต่อจำนวนผู้ป่วย 3) ความต้องการ เพิ่มอัตราพยาบาล โดยใช้เกณฑ์จำนวนพยาบาลต่อจำนวนเตียงผู้ป่วย และส่วนที่สาม วิเคราะห์ ความต้องการเพิ่มค่าตอบแทนการขึ้นเวรปฏิบัติงาน ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
     1. ภาระงานการพยาบาลต่อจำนวนผู้ป่วย
         1.1 จำนวนผู้ป่วย จำแนกตามปี และประเภทผู้ป่วย พบว่า 1) ปี พ.ศ.2540 ให้บริการผู้ป่วยทั้งปี จำนวน 205,578 คน เป็นผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 187,906 คน มีอัตราการ ให้บริการเฉลี่ย 514.51 คนต่อวัน เป็นผู้ป่วยหนัก จำนวน 17,972 คน มีอัตราการให้บริการเฉลี่ย 48.38 คนต่อวัน 2) ปี พ.ศ.2541 ให้บริการผู้ป่วยทั้งปี จำนวน 201,124 คน เป็นผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 186,482 คน มีอัตราการให้บริการเฉลี่ย 512.16 คนต่อวัน เป็นผู้ป่วยหนัก จำนวน 14,642 คนมีอัตราการให้บริการเฉลี่ย 40.25คนต่อวัน 3) ปี พ.ศ.2542 ให้บริการผู้ป่วยทั้งปี จำนวน211,940 คน เป็นผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 198,270 คน มีอัตราการให้บริการเฉลี่ย 543.17 คนต่อวัน เป็น ผู้ป่วยหนักจำนวน 13,670 คน มีอัตราการบริการเฉลี่ย 37.41 คนต่อวัน
1.2 ภาระงานการพยาบาล จำแนกตามปี และประเภทผู้ป่วย พบว่า 1) ปี พ.ศ. 2540 มีภาระงานการพยาบาลทั้งปี จำนวน 572,110.32 ชั่วโมง เป็นภาระงานผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 443.458.16 ชั่วโมง หรือมีภาระงานเฉลี่ย 1,214.24 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นภาระงานผู้ป่วยหนักจำนวน 128.652.16 ชั่วโมง หรือมีภาระงานเฉลี่ย 352.22 ชั่วโมงต่อวัน 2) ปี พ.ศ.2541 มีภาระงานการพยาบาลทั้งปี จำนวน 546,691.28 ชั่วโมง เป็นภาระงานผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 440,097.52 ชั่วโมงหรือมีภาระงานเฉลี่ย 1,208.70 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นภาระงานผู้ป่วยหนักจำนวน 106,593.76 ชั่วโมง หรือมีภาระงานเฉลี่ย 293.06 ชั่วโมงต่อวัน 3) ปี พ.ศ.2542 มีภาระงานการพยาบาลทั้งปี จำนวน 567,494.80 ชั่วโมง เป็นภาระงานผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 467,917.20 ชั่วโมง หรือมีภาระงานเฉลี่ย 1,281.75 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นภาระงานผู้ป่วยหนัก จำนวน 99,577.60 ชั่วโมง หรือมีภาระงานเฉลี่ย 272.38 ชั่วโมงต่อวัน
     2. ความต้องการอัตรากำลังบุคลากรพยาบาล
         2.1 โดยใช้เกณฑ์ภาระงานการพยาบาลต่อจำนวนผู้ป่วย จำแนกตามปี และ ประเภทผู้ป่วยพบว่า 1) ปี พ.ศ.2540 มีความต้องการพยาบาล จำนวน 341 คน ต้องการพยาบาล ต่อผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 264 คน และพยาบาลต่อผู้ป่วยหนัก จำนวน 77 คน 2)ปี พ.ศ.2541 มีความต้องการพยาบาล จำนวน 325 คน ต้องการพยาบาลต่อผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 262 คน และพยาบาลต่อผู้ป่วยหนัก จำนวน 63 คน 3) พ.ศ.2542 มีความต้องการพยาบาล จำนวน 338 คน ต้องการพยาบาลต่อผู้ป่วยคงพยาบาล จำนวน 279 คน และพยาบาลต่อผู้ป่วยหนัก จำนวน 59 คน
         2.2 ความต้องการเพิ่มอัตราพยาบาล โดยใช้เกณฑ์ภาระงานต่อผู้ป่วยพบว่า ในช่วง ปี พ.ศ.2540-2542 มีความต้องการอัตราพยาบาลเพิ่มเฉลี่ยปีละ 14 คน เมื่อจำแนกตามปี พบว่า 1) ปี พ.ศ.2540 มีความต้องการเพิ่ม จำนวน 23 คน 2) ปี พ.ศ.2541 มีความต้องการเพิ่ม จำนวน 3 คน 3) ปี พ.ศ.2542 มีความต้องการเพิ่ม จำนวน 16 คน
     3. ความต้องการเพิ่มค่าตอบแทนการขึ้นเวรปฏิบัติงาน พบว่า มีความต้องการเพิ่มค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปี ทั้งสิ้น จำนวน 14,805,000 บาท จำแนกเป็น ค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานในเวรปกติ จำนวน 2,737,000 บาท ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน 6,440,000 บาท และค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในวันหยุด จำนวน 5,628,000 บาท

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน, 2529

2. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการบริการพยาบาล จากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.

3. กุลยา ตันติผลาชีวะ. การบริหารหอผู้ป่วย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญกิจ, 2525.

4. จินตนา ปรีชา. การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในแผนกกุมารเวชศาสตร์ โดยใช้ความต้องการการพยาบาลเป็นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาพยาบาลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.

5. ทัศนา บุญทอง. “สาระน่ารู้จำนวนพยาบาลของ กระทรวงสาธารณสุขพอแล้วจริงหรือ,” จดหมายข่าวสภาการพยาบาล. 3(2):10-11 ; มีนาคม - เมษายน, 2543.

6. นิภา กูปะวะโรทัย. การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในการพยาบาลอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่โดยใช้กิจกรรมการพยาบาลเป็นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2533.

7. ปราโมทย์ โชติมงคล. “การกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่,” เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่. หน้า 11-46. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2533.

8. พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. การจัดบุคลากรเพื่อการดูแล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเกษม. 2522.

9. มยุรา กาญจนางกูร และพยอม วิริยา. กิจกรรมการพยาบาลและประเภทผู้ทำการพยาบาลในโรงพยาบาลนครเชียงใหม่, 2526.

10. ลิลลี่ โอฬารกูล. ศึกษาความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยหลังคลอด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาพยาบาลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2523.

11. วิเชียร ทวีลาภ สุลักษณ์ มีชูทรัพย์ และจันทร์เพ็ญ การ์เวท. หลักการบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., 2521.

12. วิมลศรี ศรีสุพรรณ. “การกำหนดมาตรฐานอัตรากำลังเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์,” ใน วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 12(2) :190-202 ; พฤษภาคม-สิงหาคม, 2540.

13. คิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ. องค์การและ การจัดการ. บริษัท วิสิทธิ์พัฒนา จำกัด กรุงเทพ. 2539.

14. สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. ความต้องการกำลังคนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า (พ.ศ.2535-2544). เอกสารประกอบการสัมมนา พยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสาขา พยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ. 2536.

15. Alexander, Edith L. Nursing Administration in the hospital health care system. 2nded. Saint Louis : c.r. mosby company. 1987.

16. Aydetotte, M.R. “Staffing for Quality Care” The journal of Nursing Administration. 33-36 : 3 March. April. 1973.

17. Donovan, H.M. Nursing Service Administration Managing the enterprise. The c.v. Mos by Company, 1979.

18. Douglass, L,M., and Bevis. E.O. Nursing Management and Leaders ship in Action. 3rd ed. Saint Lous : the C.V Mos by Company.

19. Langford, T., and Prescott, P. Hospital and supplemental nursing agencies : and uneasy balance. Journal of Nursing Administration. 9(11) : 16-20. 1979.