ผลกระทบของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้ เป็นการสรุปเนื้อหาจากตำราและงานวิจัยเกี่ยวกับ ญาติผู้ดูแลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน จะได้รับผลกระทบด้านลบทั้งด้านร่างกาย จิตอารมณ์และสังคม ส่งผลให้ญาติผู้ดูแลประสบความเครียดเรื้อรังซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลโดยตรง โดยเฉพาะญาติผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส มีปัญหาสุขภาพอยู่เดิมและเป็นผู้สูงอายุ กล่าวได้ว่าญาติผู้ดูแลเป็นกลุ่มเสี่ยงที่บุคลากรสุขภาพไม่ควรมองข้าม อย่างไรก็ตาม ระบบการให้บริการสุขภาพในปัจจุบันเน้นการเตรียมญาติผู้ดูแลเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นหลัก แต่มิได้คำนึงถึงสวัสดิภาพของญาติผู้ดูแล
บทความนี้เป็นการเขียนเชิงวิเคราะห์จากงานวิจัยเพื่อสะท้อนให้เห็น ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล เพื่อให้ญาติผู้ดูแลได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลสู่บ้าน เพื่อความต่อเนื่องในการดูแลทั้งผู้ป่วยเรื้อรังและญาติผู้ดูแลเพื่อให้ญาติผู้ดูแลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นบุคคลในครอบครัวที่มีบทบาทหลักในการดูแลผู้ป่วยตามปัญหาและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละระยะของการรอดชีวิตของผู้ป่วยตั้งแต่ระยะแรกที่ได้รับการวินิจฉัยจนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต ดังนั้นพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งจะช่วยให้พยาบาลมีแนวทางในการช่วยเหลือญาติผู้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: ญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะสุดท้าย
Article Details
References
World Health Organization. Strengthening of palliative care as a component of integrated treatment throughout the life course. J Pain Palliat Care Pharmacother 2014;28(2):130-4.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใน พระบรมราชูปถัมภ์; 2556.
Connor S, Bermedo MS. Global atlas of palliative care at the end of life. Geneva: World Health Organization; 2014.
ทัศนีย์ ทองประทีป. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในมิติจิตวิญญาณ. วารสารเกื้อการุณย์ 2548;12(1):31-9.
Edwards B, Clarke V. The Psychological Impact of a Cancer Diagnosis on Families: The Influence of Family Functioning and Patients’ Illness Characteristics on Depression and Anxiety. Psychooncology 2004 ;13(8):562-76.
สุวรรณา อุชุคตานนท์. อยู่อย่างมีความหมายตายอย่างมีชีวิต. กรุงเทพฯ : 108 สุดยอดไอเดีย; 2548.
จินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย. วัฒนธรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
Mangan PA., Taylor KL., Yabroff KR., Fleming DA., Ingham JM. Caregiving near the end of life: unmet needs and potential solutions. Palliat Support Care 2003;1(3):247-59.
กัลยา แซ่ชิต. 2547. ความคาดหวังและการดูแลแบบประคับประคองที่ได้รับตามการรับรู้ของผู้ดูแล ผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การดูแลแบบประคับประคอง: Palliative Care. ใน: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข: กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, การประชุมวิชาการเรื่อง Palliative Care และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 21 และสัมมนาสมาชิกสภาการพยาบาล ประจำปี 2554. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553:32-47.
การีหม๊ะ นิจินิการี, อรัญญา เชาวลิต, อุไร หัถกิจ. มุมมองเกี่ยวกับการตัดสินใจในระยะสุดท้ายของชีวิตของ ผู้ป่วยเรื้อรังไทยมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26(5):431-9.
พิมพ์พนิต ภาศรี, แสงอรุณ อิสระมาลัย, อุไร หัถกิต. ทรรศนะของครอบครัวและความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารสภาการพยาบาล 2558;30(4):57-71.
ทัศนีย์ ทองประทีป. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในมิติจิตวิญญาณ. วารสารเกื้อการุณย์ 2548;12(1):31-9.
McMillan WW., Barnet C., Strow L., Chahine MT., McCourt ML., Warner JX, et al. Daily global maps of carbon monoxide from NASA's Atmospheric Infrared Sounder. Geophys Res Lett 2005;32(L11801):1-4.
ทองทิพย์ พรหมศร. การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2551.
ทัศนีย์ ทองประทีป. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในมิติจิตวิญญาณ. วารสารเกื้อการุณย์ 2548;12(1):31-9.
Weisman AD. on Dying and Denying : A Psychiatric Study of Terminality : New York : Behavioral Publications; 1972.
Berry PH., Kuebler KK., Heidrich DE. End of life care clinical practice guidelines. Philadelphia : W.B. Saunders; 2002.
สถาพร ลีลานันทกิจ. ภาวะสุดท้ายของชีวิต-แนวคิด-ปรัชญา: คู่มือการดูแลรักษาสุขภาพ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.
Jean SK., Cordt TK., David EN. Symptom burden at the end of life: hospice providers' perceptions. J Pain Symptom Manage 2001;21(6):473-80.
Potter J, Hami F, Bryan T, Quigley C.. Symptoms in 400 patients referred to palliative care services: prevalence and patterns. Palliat Med. 2003;17(4):310-4.
วารุณี มีเจริญ. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557;20(1):10-22.
Choi JY., Chang YJ., Song HY., Jho HJ., Lee MK. Factors that affect quality of dying and death in terminal cancer patients on inpatient palliative care units: perspectives of bereaved family caregivers. J Pain Symptom Manage 2013;45(4):735-45.
ชูชื่น ชีวพูนผล. อิทธิพลของภาวะสุขภาพ ความเข็มแข็งในการมองโลกของญาติ ผู้ดูแลและความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลต่อการเผชิญปัญหาของญาติผู้ดูแลผู้ป่วย มะเร็งระยะลุกลาม. [ดุษฎีนิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.
Burns CM., LeBlanc TW., Abernethy A., Currow D. Young caregivers in the end-of-life setting: a population-based profile of an emerging group. J Palliat Med 2010;13(10):1225-35.
เพียงใจ คันธารัตน์. ความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีต่อการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหารอาชีวะศึกษา, คณะครุศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2540.
Montgomery RJV., Gonyea JG., Hooyman NR. Caregiving and the Experience of Subjective and Objective Burden. Family Relations 1985;34(1):19-26.
อรทัย ทองเพ็ชร. ภาระการดูแลของมารดาเด็กออทิสติก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.
ชนัญญา กาสินพิลา. ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2550.
ชูชื่น ชีวพูนผล. อิทธิพลของภาวะสุขภาพ ความเข็มแข็งในการมองโลกของญาติ ผู้ดูแลและความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลต่อการเผชิญปัญหาของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. [ดุษฎีนิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.