การศึกษากิจกรรมการพยาบาลในห้องผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยระยะที่หนึ่ง ของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตร“การพยาบาลห้องผ่าตัด” เพื่อทักษะปฏิบัติที่สง่างาม สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการปฏิบัติพยาบาลในห้องผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 โดยศึกษาเฉพาะกรณีที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิสัญญี 10 คน พยาบาลห้องผ่าตัด 10 คน อาจารย์พยาบาล 10 คน นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ชั้นปีละ 60 คน รวม 150 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเจาะจงจากอาสาสมัครที่เต็มใจเข้าร่วมการตอบแบบสอบถามทั้งก่อนฝึกและหลังฝึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่า กิจกรรมที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่จะได้ฝึกในห้องผ่าตัด และห้องผ่าตัด สามารถจัดให้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มี 40 กิจกรรม ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน Aseptic Technique และการบริหารความเสี่ยง 20 กิจกรรม (กิจกรรมวิสัญญี, กิจกรรมห้องผ่าตัด) ด้านการพยาบาลก่อนผ่าตัด 5 กิจกรรม ด้านการพยาบาลขณะผ่าตัด 5 กิจกรรม ด้านการพยาบาลหลังผ่าตัด 5 กิจกรรม ด้านการบันทึกทางการพยาบาล 5 กิจกรรม และความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการพยาบาลในห้องผ่าตัด ทั้ง 5 ด้าน คือ กิจกรรมด้าน Aseptic technique และการบริหารความเสี่ยง (กิจกรรมวิสัญญี และกิจกรรมห้องผ่าตัด) กิจกรรมด้านการพยาบาลก่อนผ่าตัด กิจกรรมด้านการพยาบาลขณะผ่าตัด กิจกรรมด้านการพยาบาลหลังผ่าตัด และกิจกรรมด้านการบันทึกทางการพยาบาล พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคาดหวังก่อนการฝึกปฏิบัติ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับน้อย แต่กิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริง ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุป: พบว่าความคิดเห็นก่อนฝึกและหลังฝึกมีความแตกต่างกัน โดยทั้งนักศึกษาและบุคลากร มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมทั้ง 5 ด้านหลังฝึกในระดับมากที่สุด ซึ่งแสดงว่าทั้งนักศึกษาและบุคลากรเห็นความสำคัญและจำเป็นของกิจกรรมทั้ง 5 ด้านดังกล่าว เพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตรการพยาบาลห้องผ่าตัด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องผ่าตัด ต่อไป และยังพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างและปรับปรุงของปฏิบัติการเสมือนจรองได้ถึงกว่า 800,000 บาท รวมทั้งห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพที่จะจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาได้
คำสำคัญ: Aseptic Technique, กิจกรรมการพยาบาลวิสัญญี, กิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด, การบันทึกทางการพยาบาล, พยาบาลวิสัญญี, พยาบาลผ่าตัด, ศัลยแพทย์
Article Details
References
สุภาพ อารีย์เอื้อ. การพยาบาลในห้องผ่าตัด: จากการส่งเครื่องมือสู่การพยาบาลแบบองค์รวม. Rama Nurse Journal, April - June 1998, p.204-212; 2541.
ชัชนาฏ ณ นคร, ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. “ความสามารถของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่2 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยในการดูแลผู้รับบริการที่มีบาดแผล ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน” วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 6 ฉ.1 มกราคม – มิถุนายน; 2556.
สุรีย์ ธรรมิกบวร. บันทึกทางการพยาบาล. พิมพ์ครังที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทนิวเวฟพัฒนา; 2540.
บุศรินทร์ จงใจสุรธรรม การปฏิบัติพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สุงอายุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง.
[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย]. คณะพยาบาลศาสตร์; บัณฑิตวิทยาลัย, สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557