ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะไตเสื่อมลง ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลลำดวน สุรินทร์

Main Article Content

นิติ จารัตน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะไตเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อย การศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีการเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อ อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าการกรองของไต การศึกษานี้จึงทำการศึกษาย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อ อัตราการเปลี่ยนแปลงค่าการกรองของไต
วิธีการศึกษา: การศึกษา retrospective case control study ศึกษาผู้ป่วย 838 คน เปรียบเทียบ กลุ่มที่มีค่า eGFRsลดลง 488 คน และกลุ่มที่ไม่มี eGFRsลด 351 คน ที่ รพ.ลำดวนตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 ที่คลินิกชะลอไตเสื่อม ศึกษาความชุกของภาวะไตเสื่อมแยกตามระยะ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ปัจจัยเสี่ยง 11 ตัวแปร(อายุ, HbA1c, ภาวะซีด, ระดับกรดยูริก , ระดับไขมัน LDL, ระดับ triglyceride , ได้รับยา statin, ยา ACEI/ARB, systolic and diastolic blood pressure, ค่าeGFRs ตั้งต้น)ศึกษาความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมลงระหว่างรับการรักษาที่คลินิกใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย logistic regression
ผลการศึกษา: โรคเบาหวาน และ การได้รับยา statin, ACEI/ARB ในกลุ่มที่ไม่มีไตเสื่อม มีความชุกมากกว่ากลุ่มที่มีไตเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย ติดเชื้อในกระแสเลือด ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงป้องกันการเกิดไตเสื่อม คือ ยา statin และค่า eGFRsเมื่อแรกรับการรักษา อย่างมีนัยยะสำคัญจากการวิเคราะห์แบบ univariableและ multivariable analysis ปัจจัยเรื่องอายุ ภาวะซีด ,ระดับ LDL, การได้ยา ACEI ARB มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อวิเคราะห์แบบ univariable analysis แต่ไม่มีนัยยะสำคัญเมื่อวิเคราะห์แบบ multivariable analysis ส่วนปัจจัยเรื่องระดับ HbA1c ระดับกรดยูริกในเลือด , ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิก ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไตเสื่อมลงระหว่างรักษา
สรุป: ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงป้องกันการเกิดไตเสื่อม คือ ยา statin และค่า eGFRsเมื่อแรกรับการรักษา อย่างมีนัยยะสำคัญควรให้ยาลดไขมันกลุ่ม statin ในแง่ secondary prevention และให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะต้น เพื่อชะลอการเกิดการเสื่อมของไต
คำสำคัญ: โรคไตเรื้อรัง , ภาวะไตเสื่อมลง , อัตราการกรองของไต , eGFRs, ปัจจัยเสี่ยง.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

National Collaborating Centre for Chronic Conditions (UK). Chronic Kidney Disease: National Clinical Guideline for Early Identification and Management in Adults in Primary and Secondary Care. London: Royal College of Physicians (UK); 2008.

Delanaye P, Glassock RJ, De Broe ME. Epidemiology of chronic kidney disease: think (at least) twice!. Clin Kidney J 2017;10(3):370-4.

Shardlow A, McIntyre NJ, Fluck RJ, McIntyre CW, Taal MW. Chronic Kidney Disease in Primary Care: Outcomes after Five Years in a Prospective Cohort Study. PLoS Med 2016;13(9):e1002128.

Perkovic V, Cass A, Patel AA, Suriyawongpaisal P, Barzi F, Chadban S, et al. High prevalence of chronic kidney disease in Thailand. Kidney Int 2008;73(4):473-9.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ประเทศไทยประจำปีงบประมาณ 2560. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2560.

อำนวยพร แดงสีบัว, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์. การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต. [อินเตอร์เน็ท]. 2558. [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563]. สืบค้นได้จาก:URL: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4288?locale-attribute=th

Yamagata K, Ishida K, Sairenchi T, Takahashi H, Ohba S, Shiigai T, et al. Risk factors for chronic kidney disease in a community-based population: a 10-year follow-up study. Kidney Int 2007;71(2):159-66.

Ramkumar N, Cheung AK, Pappas LM, Roberts WL, Beddhu S.. Association of obesity with inflammation in chronic kidney disease: a cross-sectional study. J Ren Nutr 2004;14(4):201-7.

Cavanaugh KL. Diabetes Management Issues for Patients With Chronic Kidney Disease. Clin Diabetes 2007;25(3):90-7.

Su SL, Lin C, Kao S, Wu CC, Lu KC, Lai CH, et al. Risk factors and their interaction on chronic kidney disease: A multi-centre case control study in Taiwan BMC Nephrol 2015;16:83.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.

เกศริน บุญรอด. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนระยะโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562;33(3):367-78.