ประสิทธิผลของการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและการประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

จินตนา ฤทธิ์มาก
สุภาวดี เหลืองขวัญ
นงลักษณ์ ตาทอง
บังอร ตุพิมาย

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การตกเลือดในระยะหลังคลอดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่เป็นสาเหตุการตายของมารดาทั่วโลก และ 1 ใน 4 ของการตายมารดาหลังคลอดเกิดจากการตกเลือดหลังคลอดหลังจากระยะที่ 3 ของการคลอดสิ้นสุดลง โดยมีการสูญเสียเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดและในแต่ละปีพบว่าอัตราการตกเลือดหลังคลอดลดลงเรื่อยๆ แต่ยังคงเป็นปัญหาการตายที่สำคัญของมารดาหลังคลอดในประเทศไทย การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดมีความสำคัญในทุกระยะของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในระยะคลอด
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงและการประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรพยาบาลห้องคลอดต่อแบบประเมินความเสี่ยงและการประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลบุรีรัมย์แบบใหม่
รูปแบบการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ชนิดย้อนหลังและไปข้างหน้าก่อนและหลังการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและการประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกโรงพยาบาลบุรีรัมย์
ผลการศึกษา: 1) มารดาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกลดลงจากร้อยละ 3.1 เป็นร้อยละ 0.9 แต่เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนมารดาที่ตกเลือดหลังคลอดระยะแรกระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบฟิชเชอร์ (Fisher’s exact probability test) พบว่าไม่แตกแต่งกัน 2) บุคลากรห้องคลอดมีความพึงพอใจต่อแบบประเมินความเสี่ยงและการประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกแบบใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.5 (± SD 0.5)
สรุป: จากการพัฒนาการใช้แบบประเมินความเสี่ยงโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบงานในบทบาทของพยาบาลในการดูแลทำให้สามารถค้นหาภาวะเสี่ยงได้เร็วและสามารถแก้ไขได้ทันเวลา สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดได้
คำสำคัญ: แบบประเมินความเสี่ยง กระบวนการพยาบาล ภาวะตกเลือดหลังคลอด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บูรยา พัฒนจินดา, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, จารุณี ลี้ธีระกุล, นำพร ลาภธนภัทร, รัชดา จิรประเสริฐวงศ์. ข้อเสนอแนะสำหรับการป้องกันและดูแลรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2556.

Anderson JM, Etches D. Prevention and management of postpartum hemorrhage. Am Fam Physician 2007; 75(6):875-82.

versaevel N, darling l, AOM Clinical Practice Guideline working group. Prevention and management of postpartum hemorrhage. AOM Clinical Practice Guidelines 2006;9:1-12.

กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศกองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2560. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560]. ค้นได้จาก: URL:www://https://phdb.moph.go.th/main/index

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางคลินิกด้านสูติ-นรีเวชกรรม (Patient care team : PCT) โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานสถิติผู้คลอดและตกเลือดหลังคลอดประจำปี. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์; 2560.

Bingham D, Melsop K, Main E. CMQCC obstetric hemorrhage hospital level implementation guide. California; The California Maternal Quality Care Collaborative (CMQCC). Stanford University; 2010.

ประสพชัย พสุนนท์. การประเมินความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินโดยใช้สถิติแคปปา. วารสารการศิลปะศาสตร์ประยุกต์ 2558;8(1): 2-20.

เรณู วัฒนเหลืองอรุณ, วันชัย จันทราพิทักษ์, นุชนาถ กระจ่าง, รุ่งทิพย์ อ่อนละออ. ประสิทธิผลของการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากการหดรัดตัวไม่ดีในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2560;13(2): 28-42.

บุญทิวา เหล็กแก้ว. การจัดระบบการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2554;7(1): 55-62.

ณฐนนท์ ศิริมาศ, จีรพร จักษุจินดา, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง. การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;3 2(2): 37-46.