ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 : ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ธนวัฒน์ คงธรรม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน การตรวจคัดกรองและรักษาอย่างทันเวลาสามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Case control study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการตรวจตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา จำนวน 384 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา: พบภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาร้อยละ 10.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ได้แก่ ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน (aOR = 2.15, 95%CI 1.92-3.07) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (aOR=2.22 95%CI 1.85-3.39) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) (aOR = 2.03 , 95% CI 1.17–3.10) และการทำงานของไต (aOR=3.48, 95%CI 2.36–5.53)
สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจจอประสาทตาอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของเบาหวานเข้าจอประสาทตาได้
คำสำคัญ: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาเบาหวานชนิดที่ 2

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ภฤศหาญ อุตสาหะ. ตำราโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์; 2546.

Ferris FL 3rd, Patz A. Macular edema. A complication of diabetic retinopathy. Surv Ophthalmol 1984;28 Suppl:452-61.

Samaiporn S, Lertmeemongkolchai P, Chongwiriyanurak T.Prevalence and risk factor of diabetic retinopathy in relation to duration of diabetes mellitus in community hospitals of Lampang. Thai J Ophthalmol 2001;15:1-8.

พิทยา ภมรเวชวรรณ, อุบลรัตน์ ปทานนท์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาใน รพ. ประจวบคีรีขันธ์. จักษุเวชสาร 2547;18(1):77-84.

Pradeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A, Rema M. Risk factors for diabetic retinopathy in a South Indian Type 2 diabetic population--the Chennai Urban Rural Epidemiology Study (CURES) Eye Study 4. Diabet Med 2008;25(5):536-42.

Cai XL, Wang F, Ji LN. Risk factors of diabetic retinopathy in type 2 diabetic patients. Chin Med J (Engl) 2006;119(10):822-6.

Chen MS, Kao CS, Chang CJ, Wu TJ, Fu CC, Chen CJ, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among noninsulin-dependent diabetic subjects. Am J Ophthalmol 1992;114(6):723-30.

Schlesselma JJ. Case-control studies design, conduct, analysis. New York : Oxford University; 1982.

ณัฐพงค์ เมฆาสิงหรักษ์, สิรินันท์ ตรียะเวชกุล, จีราวัฒน์ สวัสดิวิทยะยง, หญิง สุพัฒนวงศ์, ปณตศม เง่ายุธากร, อรณิชา พิมพะ, และคณะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาจากเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่งในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;23(3):35-45.

กรทิพย์ มิตรวงษา. อุบัติการณ์การเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดมุกดาหาร ปี พ.ศ.2553. มุกดาหาร : ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลมุกดาหาร; 2553.

ขวัญเรือน วรเตชะ. ปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2554;4(1):10-23.

Ahmed RA, Khalil SN, Al-Qahtani MA. Diabetic retinopathy and the associated risk factors in diabetes type 2 patients in Abha, Saudi Arabia. J Family Community Med 2016;23(1):18-24.

Giloyan A, Harutyunyan T, Petrosyan V. The prevalence of and major risk factors associated with diabetic retinopathy in Gegharkunik province of Armenia: cross-sectional study. BMC Ophthalmo. 2015;15:46.

พราวมาศ วิมลธรรม, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอปักธงชัยจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(2):93-101.

นฤมล หลักรัตน์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2549. สารสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ 2550:3-8.

อนุพจน์ สมภพสกุล, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์, พนม สุขจันทร์, ปวริศ หะยีอามะ, ฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ, กรชนก ตั้งนภาดล,และคณะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2555;4(3):29-43.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการคัดกรองและการดูแลรักษาจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานและแนวทางการวินิจฉัยการป้องกันและรักษาโรคไตจากเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

Khan AR, Wiseberg JA, Lateef ZA, Khan SA. Prevalence and determinants of diabetic retinopathy in Al hasa region of saudi arabia: primary health care centre based cross-sectional survey, 2007-2009. Middle East Afr J Ophthalmol 2010;17(3):257-63.

Ahmed RA, Khalil SN, Al-Qahtani MA. Diabetic retinopathy and the associated risk factors in diabetes type 2 patients in Abha, Saudi Arabia. J Family Community Med 2016;23(1):18-24.

Rani PK, Raman R, Gupta A, Pal SS, Kulothungan V, Sharma T. Albuminuria and Diabetic Retinopathy in Type 2 Diabetes Mellitus Sankara Nethralaya Diabetic Retinopathy Epidemiology And Molecular Genetic Study (SN-DREAMS, report 12). Diabetol Metab Syndr 2011;3(1):9.