หัตถการการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำของต่อมหมวกไตในผู้ป่วยที่มีภาวะอัลโดสเตอโรนสูง : อัตราประสบความสำเร็จทางเทคนิค ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

อาริยา ฐานะสุนทรฤกษ์
พรรณทิพย์ ตันติวงศ์
สหชาติ ลีลามโนธรรม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะที่ต่อมหมวกไตทำงานมากกว่าปกติชนิดที่มีอัลโดสเตอโรนสูง (Primary hyperaldosteronism) มีลักษณะทางคลินิกประกอบด้วย ความดันโลหิตสูง, โปรแตสเซียมในกระแสเลือดต่ำและมีระดับอัลโดสเตอโรนในพลาสมาสูงขึ้นสัมพันธ์กับระดับเรนินลดลงสาเหตุของภาวะ Primary hyperaldosteronism ที่พบได้บ่อยอาจจะเกิดจากจากเนื้องอกชนิด Adrenocortical adenoma หัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไตมีความสำคัญในการช่วยแยกความผิดปกติที่เกิดจากภาวะเนื้องอกชนิด Adrenocortical adenoma ที่หลั่งฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนที่เกิดในต่อมหมวกไตข้างใดข้างหนึ่ง จากภาวะต่อมหมวกไตเจริญเติบโตผิดปกติชนิดสองข้าง (bilateral adrenal hyperplasia)
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความสำเร็จทางเทคนิคของการทำหัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำ ต่อมหมวกไตในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติชนิดอัลโดสเตอโรนสูง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาและเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีการทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติชนิดอัลโดสเตอโรนสูงและได้รับการทำหัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไตระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยจำนวน 18 ราย ในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561ซึ่งเป็นเพศชาย 6 ราย เพศหญิง 12 ราย ช่วงอายุระหว่าง 32-67 ปี ที่มีภาวะการทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติชนิดที่มีอัลโดสเตอโรนสูงและได้รับการทำหัตถการการเก็บเลือด จากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไต หัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไตประสบความสำเร็จในผู้ป่วย 12 ราย (ร้อยละ 66.7) อัตราประสบความสำเร็จในการเก็บเลือดจากเส้นเลือดต่อมหมวกไตข้างขวาเท่ากับร้อยละ66.7และจากเส้นเลือดต่อมหมวกไตข้างซ้ายเท่ากับร้อยละ 100 พบความสำเร็จในการเก็บเลือดจากเส้นเลือดต่อมหมวกไตข้างขวาโดยใช้สายสวนหลอดเลือดสองชนิดในผู้ป่วย 12 ราย พบความสำเร็จในการเก็บเลือดจากเส้นเลือดต่อมหมวกไตข้างขวา โดยใช้วิธีตรวจระดับคอร์ติซอลขณะทำหัตถการในผู้ป่วย 5 ราย ในผู้ป่วย 6 รายที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำหัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไตได้รับการผ่าตัดภายหลัง จำนวน 2 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไตในผู้ป่วยทุกราย
สรุป: หัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไตในผู้ป่วยที่มีภาวการณ์ทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติชนิดที่มีอัลโดสเตอโรนสูงเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูงและเพิ่มความสามารถในการประเมินโรคของต่อมหมวกไตว่ามีความผิดปกติที่ต่อมหมวกไตข้างเดียวหรือสองข้างเทคนิคการทำหัตถการโดยการใช้สายสวนหลอดเลือดที่มีความหลากหลายและการวัดระดับคอร์ติซอลขณะทำหัตถการสามารถช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการเก็บเลือดจากเส้นเลือดต่อมหมวกไตข้างขวา
คำสำคัญ: ภาวะอัลโดสเตอโรนสูง หัตถการการเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำต่อมหมวกไต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Young WF. Primary aldosteronism: Renaissance of a syndrome. Clin Endocrinol (Oxf) 2007;65(5):607–18.

Rossi GP, Bernini G, Caliumi C, Desideri G, Fabris B, Ferri C, et al. A Prospective Study of the Prevalence of Primary Aldosteronism in 1,125 Hypertensive Patients. J Am Coll Cardiol 2006;48(11):2293–300.

Fardella CE, Mosso L, Gómez-Sánchez C, Cortés P, Soto J, Gómez L, et al. Primary Hyperaldosteronism in Essential Hypertensives: Prevalence, Biochemical Profile, and Molecular Biology . J Clin Endocrinol Metab 2000;85(5):1863–7.

Lim PO, Dow E, Brennan G, Jung RT, MacDonald TM. High prevalence of primary aldosteronism in the Tayside hypertension clinic population. J Hum Hypertens 2000;14(5):311–5.

Stowasser M, Sharman J, Leano R, Gordon RD, Ward G, Cowley D, et al. Evidence for abnormal left ventricular structure and function in normotensive individuals with familial hyperaldosteronism type I. J Clin Endocrinol Metab 2005;90(9):5070–6.

Milliez P, Girerd X, Plouin PF, Blacher J, Safar ME, Mourad JJ. Evidence for an increased rate of cardiovascular events in patients with primary aldosteronism. J Am Coll Cardiol 2005;45(8):1243–8.

Funder JW, Carey RM, Mantero F, Murad MH, Reincke M, Shibata H, et al. The management of primary aldosteronism: Case detection, diagnosis, and treatment: An endocrine society clinical practice guideline. J Clin Endocrinol Metab 2016;101(5):1889–916.

Young WF, Stanson AW. What are the keys to successful adrenal venous sampling (AVS) in patients with primary aldosteronism? Clin Endocrinol (Oxf) 2009;70(1):14–7.

Vonend O, Ockenfels N, Gao X, Allolio B, Lang K, Mai K, et al. Adrenal venous sampling: Evaluation of the german conn’s registry. Hypertension 2011;57(5):990–5.

Harvey A, Kline G, Pasieka JL. Adrenal venous sampling in primary hyperaldosteronism: Comparison of radiographic with biochemical success and the clinical decision-making with “less than ideal” testing. Surgery 2006;140(6):847–55.

Chayovan T, Limumpornpetch P, Hongsakul K. Success rate of adrenal venous sampling and predictors for success: A retrospective study. Polish J Radiol 2019;84:e136–41.

ชัชชาญ คงพานิช,ไพบูลย์ คูหเพ็ญแสง, ศุภขจี แสงเรืองอ่อน. นิพนธ์ต้นฉบับ อัตราความสำเร็จในการทำหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำของ ต่อมหมวกไตในผู้ป่วยที่มีภาวะอัลโดสเตอโรนสูง ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก 2559;69:73-82.

Williams TA, Reincke M. MANAGEMENT OF ENDOCRINE DISEASE: Diagnosis and management of primary aldosteronism: The endocrine society guideline 2016 revisited. Eur J Endocrinol 2018;179(1):R19-R29.

Stowasser M. Improving the Success and Reliability of Adrenal Venous Sampling: Focus on Intraprocedural Cortisol Measurement. Clin Chem 2012;58(9):1275–7.

Jakobsson H, Farmaki K, Sakinis A, Ehn O, Johannsson G, Ragnarsson O. Adrenal venous sampling: The learning curve of a single interventionalist with 282 consecutive procedures. Diagn Interv Radiol 2018;24(2):89-93.

Berney M, Matter M, Pechère-Bertschi A, Burnier M, Wuerzner G. Cardiovascular Roundtable, CARTA. Kardiovask Med 2010;13(01):35–8.

Omura K, Ota H, Takahashi Y, Matsuura T, Seiji K, Arai Y, et al. Anatomical variations of the right adrenal vein. Hypertension 2017;69(3):428–34.

Makita K, Nishimoto K, Kiriyama-Kitamoto K, Karashima S, Seki T, Yasuda M, et al. A novel method: Super-selective adrenal venous sampling. J Vis Exp 2017;(127):55716.

Araki T, Okada H, Onishi H. Does catheter shape influence the success of right adrenal venous sampling? The interaction of catheter shape to anatomical factors on CT. Jpn J Radiol 2016;34(11):707-17.

Auchus RJ, Michaelis C, Wians FH, Dolmatch BL, Josephs SC, Trimmer CK, et al. Rapid cortisol assays improve the success rate of adrenal vein sampling for primary aldosteronism. Ann Surg 2009;249(2):318–21.

Betz MJ, Degenhart C, Fischer E, Pallauf A, Brand V, Linsenmaier U. Adrenal vein sampling using rapid cortisol assays in primary aldosteronism is useful in centers with low success rates. EJE 2011;165(2):301-6.

Georgiades CS, Hong K, Geschwind JF, Liddell R, Syed L, Kharlip J, et al. Adjunctive Use of C-Arm CT May Eliminate Technical Failure in Adrenal Vein Sampling. J Vasc Interv Radiol 2007;18(9):1102–5.

Park S Il, Rhee Y, Lim JS, Park S, Kang SW, Lee MS, et al. Right Adrenal Venography Findings correlated with C-arm CT for Selection During C-arm CT-assisted Adrenal Vein Sampling in Primary Aldosteronism. Cardiovasc Intervent Radiol 2014;37(6):1469–75.

Rossi GP, Barisa M, Allolio B, Auchus RJ, Amar L, Cohen D, et al. The Adrenal Vein Sampling International Study (AVIS) for Identifying the Major Subtypes of Primary Aldosteronism. J Clin Endocrinol Metab 2012;97(5):1606–14.

Daunt N. Adrenal vein sampling: How to make it quick, easy, and successful. Radiographics 2005;25(Suppl 1):S143-58.

Rossi GP, Cesari M, Cuspidi C, Maiolino G, Cicala MV, Bisogni V, et al. Long-term control of arterial hypertension and regression of left ventricular hypertrophy with treatment of primary aldosteronism. Hypertension 2013;62(1):62–9.

Letavernier E, Peyrard S, Amar L, Zinzindohoué F, Fiquet B, Plouin PF. Blood pressure outcome of adrenalectomy in patients with primary hyperaldosteronism with or without unilateral adenoma. J Hypertens 2008;26(9):1816–23.