ความพึงพอใจและความคาดหวังในการจัดบริการสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว (ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1)

Main Article Content

ชมพูนุท ชีวะกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: มาตรา 55 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุขจึงปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ สำหรับระดับบริการปฐมภูมิจัดให้มีคลินิกหมอครอบครัว (Primary care cluster: PCC) ทั่วประเทศซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินความพึงพอใจและความคาดหวังในการจัดบริการสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพในการให้บริการสอดคล้องกับตัวชี้วัดและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความคาดหวังในการจัดบริการสุขภาพของผู้มารับบริการคลินิกหมอครอบครัว (ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1)
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการคลินิกหมอครอบครัว (ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1) โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 246 ราย เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจและความคาดหวังในการจัดบริการสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการจัดบริการสุขภาพ ผู้ป่วยได้รับความรู้ด้านสุขภาพรวมทั้งความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็น ในระดับมากที่สุดประเด็นที่นั่งรอเพียงพอกับจำนวนผู้มารับบริการ ระดับปานกลางความคาดหวังของผู้ป่วยมีความมั่นใจในการกลับไปดูแลตนเองที่บ้านหลังได้รับคำแนะนำจากคลินิกหมอครอบครัวเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคตมากที่สุดและประเด็นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพระดับปานกลาง
สรุป: การจัดบริการสุขภาพของคลินิกหมอครอบครัว (ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 1) เป็นที่น่าพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, ณัฏฐิญา ค้าผล, น้ำฝน ศรีบัณฑิต, ยศ ตีระวัฒนานนท์. รายงานการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ของนโยบายคลินิกหมอครอบครัว. 2560. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก : URL:www.http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/ 11228/4804/hs2375.pdf?sequence=3&isAllowed=y

สมยศ ศรีจารนัย, พิชญาภัสสร์วรรณศิริกุล, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, อรนรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา, สมนึก นกดี.การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.

วัสนา ศรีวิชัย. การสำรวจการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว ในจังหวัดตาก. บูรพาเวชศาสตร์ 2561; 5(1):64-82.

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลและคณะ. การติดตามประเมินผลนโยบายทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส); 2558.

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ Diamond In Business World; 2546: 256-7.