ผลของนมเปรี้ยวผสมโพรไบโอติกส์ต่อการเกิดรอยโรคฟันผุใหม่ของนักเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนเทศบาลกระสัง

Main Article Content

กษิดิ์เดช ศิริเวชยันต์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า ในเด็กอายุ 5 ปี มีคราบจุลินทรีย์เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ งานวิจัยนี้จึงเลือกใช้ Lactobacillus rhamnosus SD 11 ซึ่งเป็นโพรไบโอติกส์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสามารถในการเกาะติดเยื่อบุในช่องปากและพบการสร้างโปรตีนที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคฟันผุ เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกในการป้องกันการเกิดรอยโรคฟันผุใหม่ในอาสาสมัครโรงเรียนเทศบาลกระสัง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ในการป้องกันฟันผุของนมเปรี้ยวที่ผสมโพรไบโอติกส์เปรียบเทียบกับนมเปรี้ยวที่ไม่ผสมโพรไบโอติกส์ในเด็กนักเรียนอนุบาลโรงเรียนเทศบาลกระสัง
วิธีการทดลอง: มีอาสาสมัครเข้าร่วม 62 คน เป็นเด็กอายุ 5-6 ปี การศึกษาดำเนินการที่โรงเรียนเทศบาลกระสัง อาสาสมัครทุกคนได้รับการตรวจรอยโรคฟันผุ 1 ครั้ง ก่อนได้รับนมเปรี้ยว จากนั้นอาสาสมัครทั้งหมดได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ได้รับนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ (คือหัวเชื้อ L. rhamnosus SD 11) และกลุ่มที่ได้รับนมเปรี้ยวที่ไม่มีหัวเชื้อดังกล่าว โดยอาสาสมัครได้รับนมเปรี้ยววันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ในเดือนที่ 3 และ 6 อาสาสมัครจะได้รับการตรวจรอยโรคฟันผุ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับนมเปรี้ยวผสมโพรไบโอติกส์ และกลุ่มที่ได้รับนมเปรี้ยวที่ไม่ได้ผสมโพรไบโอติกส์
ผลการทดลอง: ที่เวลา 6 เดือน (T6) พบว่ากลุ่มที่ได้รับนมผสมโพรไบโอติกส์มีจำนวนซี่ฟันที่ปราศจากรอยโรคฟันผุมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการทดลอง: การรับประทานนมผสมโพรไบโอติกส์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 6 เดือน สามารถให้ผลในการลดการเกิดรอยโรคฟันผุใหม่ได้ในกลุ่มอาสาสมัครอายุ 5-6 ขวบ
คำสำคัญ: โพรไบโอติกส์ ฟันผุ การป้องกันฟันผุ มิวแทนต์สเตร็ปโตคอคไค แลคโตบาซิลไล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานครฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2560:19, 22, 39.

Food and Agriculture Organization of the United Nations, World Health Organization. Guidelines for the Evaluation of Probiotics in Food. Canada: Joint FAO/WHO Working Group Report on Drafting Guidelines for the Evaluation of Probiotics in Food London; 2002.

Näse L, Hatakka K, Savilahti E, Saxelin M, Pönkä A, Poussa T, et al Effect of long-term consumption of a probiotic bacterium, Lactobacillus rhamnosus GG, in milk on dental caries and caries risk in children. Caries Res 2001;35(6):412-20.

Juneja A, Kakade A.. Evaluating the effect of probiotic containing milk on salivary mutans streptococci levels. J Clin Pediatr Den 2012 Fall;37(1):9-14.

Teanpaisan R, Piwat S. Lactobacillus paracasei SD1, a novel probiotic, reduces mutans streptococci in human volunteers: a randomized placebo-controlled trial. Clin Oral Investig 2014;18(3):857-62.

Featherstone JD, Duncan JF, Cutress TW. A mechanism for dental caries based on chemical processes and diffusion phenomena during in-vitro caries simulation on human tooth enamel. Arch Oral Bio 1979;24(2):101-12.

Fejerskov O. Changing paradigms in concepts on dental caries: consequences for oral health care. Caries Res 2004;38(3):182-91.

Kuramitsu HK. Virulence properties of oral bacteria: impact of molecular biology. Curr Issues Mol Biol 2001;3(2):35-6.

Banas JA. Virulence properties of streptococcus mutans. Front Biosci. 2004 May 1;9:1267-77.

Meurman JH. Probiotics: Do they have a role in oral medicine and dentistry? Eur J Oral Sci 2005;113(3):188-96.

Twetman S, Stecksén-Blicks C.Probiotics and oral health effects in children. Int J Paediatr Dent. 2008;18(1):3-10.

Piwat S, Teanpaisan R, Thitasomakul S, Thearmontree A, Dahlén G. Lactobacillus species and genotypes associated with dental caries in Thai preschool children. Mol Oral Microbiol 2010;25(2):157-64.

Rodríguez G, Ruiz B, Faleiros S, Vistoso A, Marró ML, Sánchez J, et al. Probiotic Compared with Standard Milk for High-caries Children: A Cluster Randomized Trial. J Dent Res 2016;95(4):402-7.

Petersson LG, Magnusson K, Hakestam U, Baigi A, Twetman S. Reversal of primary root caries lesions after daily intake of milk supplemented with fluoride and probiotic lactobacilli in older adults. Acta Odontol Scand 2011;69(6):321-7.

Hasslöf P, West CE, Videhult FK, Brandelius C, Stecksén-Blicks C. Early intervention with probiotic Lactobacillus paracasei F19 has no long-term effect on caries experience. Caries Res 2013;47(6):559-65.

Stensson M, Koch G, Coric S, Abrahamsson TR, Jenmalm MC, Birkhed D, et al. Oral administration of Lactobacillus reuteri during the first year of life reduces caries prevalence in the primary dentition at 9 years of age. Caries Res 2014;48(2):111-7.

Wattanarat O, Makeudom A, Sastraruji T, Piwat S, Tianviwat S, Teanpaisan R, et al. Enhancement of salivary human neutrophil peptide 1–3 levels by probiotic supplementation. BMC Oral Health 2015;15:19.

Gugnani N, Pandit IK, Srivastava N, Gupta M, Sharma M. International Caries Detection and Assessment System (ICDAS): A New Concept. Int J Clin Pediatr Dent 2011;4(2):93-100.

ElSalhy M, Alsumait A, Lai H, Almerich-Silla JM, Piovesan C, Flores-Mir C, et al. Identifying a Potential Summary Measure for Overall Caries Level in Children Examined with the International Caries Detection and Assessment System. Caries Res 2018;51(6):568-75.

Rungsri P, Akkarachaneeyakorn N, Wongsuwanlert M, Piwat S, Nantarakchaikul P, Teanpaisan R. Effect of fermented milk containing Lactobacillus rhamnosus SD11 on oral microbiota of healthy volunteers: A randomized clinical trial. J Dairy Sci 2017;100(10):7780-7.

Borriello SP, Hammes WP, Holzapfel W, Marteau P, Schrezenmeir J, Vaara M, et al. Safety of probiotics that contain lactobacilli or bifidobacteria. Clin Infect Dis 2003;36(6):775-80.