เปรียบเทียบระยะเวลาการติดของกระดูกขาที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกแบบ 4 สกรูและ 8 สกรูบน

Main Article Content

ไกรวุฒิ สุขสนิท
ณัช เกษมอมรกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นหัตถการสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว การใส่ท่อช่วยหายใจได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยและลดภาวะ แทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะหายใจล้มเหลว ปัจจุบันการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีนำสลบ (Rapid Sequence Intubation, RSI) เป็นมาตรฐานในการใส่ท่อช่วยหายใจในห้อง ฉุกเฉินในระดับสากล ช่วยให้การใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จได้ใบครั้งแรก และลดภาวะแทรกซ้อนได้ดีกว่าวิธีดั้งเดิม
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลการใส่ท่อช่วยใจสำเร็จในครั้งแรกด้วยวิธีนำสลบ (RSI) กับการใส่ท่อช่วย หายใจด้วยวิธีดั้งเดิมปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จในครั้งแรก (First-pass intubation) และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจทั้งสองวิธี
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษา retrospective observational study ในผู้'ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุรินทร์ดั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2563
ผลการศึกษา : มีผู้ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุรินทร์ทั้งหมด 64 ราย เป็นการ ใส่ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีนำสลบ (RSI) จำนวน 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.6 เป็นการใส่ ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีดั้งเดิม 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.4 ข้อมูลทั่วไปของทั้งสองกลุ่ม ตัวอย่าง เพศ อายุ รูปร่าง ลักษณะของโรคที่จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ความยากง่าย จากการประเมินก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์ในการใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ทำการใส่ท่อ ช่วยหายใจไม่มิความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ โดยการใช้ยานำสลบ (RSI) เปรียบเทียบกับการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีดั้งเดิม โอกาส ในการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จในครั้งแรกได้ไม่แตกต่างกัน แต่แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency Physician) เป็นผู้ใส่ท่อช่วยหายใจ เปรียบเทียบกับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 (6th year medical student) เป็นผู้ใส่ท่อช่วยหายใจมิความแตกต่างกันอย่าง มินัยสำคัญในการใส่ท่อช่วยหายใจได้ในครั้งแรก (p=0.021) ภาวะแทรกซ้อนจากการ
ใส่ท่อช่วยหายใจ ได้แก่ ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia) ภาวะความด้นโลหิตต่ำ (hypotension) การบาดเจ็บของฟัน (dental trauma) โดยพบว่าวิธีการใช้ยานำสลบ (RSI) พบภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia) ภาวะความดันโลหิตต่ำ(hypotension) มากกว่าการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีดั้งเดิมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : การใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จในครั้งแรกด้วยวิธีใช้ยานำสลบ (RSI) และวิธีดั้งเดิมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ : การใส่ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีใช้ยานำสลบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Grounds RM, Twigley AJ, Carli F, Whitwam JG, Morgan M. The haemodynamic effects of intravenous induction. Comparison of the effects of thiopentone and propofol. Anaesthesia 1985;40(8):735-40.

Okubo M, Gibo K, Hagiwara Y, Nakayama Y, Hasegawa K. The effectiveness of rapid sequence intubation (RSI) versus non-RSI in emergency department: an analysis of multicenter prospective observational study. Int J Emerg Med 2017;10(1):1.

Brown CA 3rd, Bair AE, Pallin DJ, Walls RM. NEAR III Investigators. Techniques, success, and adverse events of emergency department adult intubations Ann Emerg Med 2015;65(4):363-370.e1.

Kim JH, Kim YM, Choi HJ, Je SM, Kim E. Korean Emergency Airway Management Registry (KEAMR) Investigators. Factors associated with successful second and third intubation attempts in the ED. Am J Emerg Med 2013;31(9):1376-81.

Sagarin MJ, Barton ED, Chng YM, Walls RM; National Emergency Airway Registry Investigators. Airway management by US and Canadian emergency medicine residents: a multicenter analysis of more than 6,000 endotracheal intubation attempts. Ann Emerg Med 2005;46(4):328-36.

Sakles JC, Laurin EG, Rantapaa AA, Panacek EA. Airway management in the emergency department : a one-year study of 610 tracheal intubations. Ann Emerg Med 1998;31(3):325-32.

Simpson J, Munro PT, Graham CA. Rapid sequence intubation in the emergency department: 5 year trends. Emerg Med J 2006;23(1):54-6.

Tayal VS, Riggs RW, Marx JA, Tomaszewski CA, Schneider RE. Rapid-sequence intubation at an emergency medicine residency: success rate and adverse events during a two-year period. Acad Emerg Med 1999;6(1):31-7.

Walls RM, Brown CA 3rd, Bair AE, Pallin DJ; NEAR II Investigators. Emergency airway management: a multi-center report of 8937 emergency department intubations. J Emerg Med 2011;41(4):347-54.

Li J, Murphy-Lavoie H, Bugas c, Martinez J, Preston c. Complications of emergency intubation with and without paralysis. Am J Emerg Med 1999;17(2):141-3.

Bozeman WP, Kleiner DM, Fluggett V. A comparison of rapid-sequence intubation and etomidate-only intubation in the prehospital air medical setting. Prehosp Emerg Care 2006;10(1):8-13.

Kim C, Kang HG, Lim TH, Choi BY, Shin YJ, Choi HJ.What factors affect the success rate of the first attempt at endotracheal intubation in emergency, departments? Emerg Med J 2013;30(11):888-92.

Wongyingsinn M, Surabenjawong UA. Prospective Controlled of the Rapid Sequence Intubation Technique in the Emergency Department of a University Hospital. J Med Assoc Thai 2017;100(9):953.

Choi YF, Wong TW, Lau CC, Siu AYC, Lo CB, Yuen MC, et al. A study of Orotracheal Intubation in Emergency Departments of Five District Hospitals in Hong Kong. Hong Kong j emerg Med 2003;10(3):138-45.

สกล เฮดดิการ์ด. การใส่ท่อหายใจในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำปางและโรงพยาบาลแพร่. ลำปางเวชสาร 2555;33(2):103-14.

Levitan RM, Rosenblatt B, Meiner EM, Reilly PM, Hollander JE. Alternating day emergency medicine and anesthesia resident responsibility for management of the trauma airway: a study of laryngoscopy perfor mance and intubation success. Ann Emerg Med 2004;43(1):48-53.

Barton ED., Swanson ER., Hutton KC. Success and failure rates of rapid sequence intubation versus non-rapid sequence intubation by air medical providers in 2,853 patients. Ann Emerg Med 2004;44(4 S):S65.

Falcone RE, Herron H, Dean B, Werman H. Emergency scene endotracheal intubation before and after the introduction of a rapid sequence induction protocol. Air Med J 1996;15(4):163-7.

ภุมรินทร์ แซ่ลิ่ม, ประสิทธิ์ วุฒิสุทธิเมธาวี, วีรัตน์ วศินวงศ์. การศึกษานำร่อง เปรียบเทียบวิธีใส่ท่อทางเดินหายใจ แบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ กับวิธีใส่ท่อทางเดินหายใจ แบบไม่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2553;28(6):317-27.

Lin CC, Chen KF, Shih CP, Seak A, Hsu KH. The prognostic factors of hypotension after rapid sequence intubation. Am J Emerg Med 2008;26(8):845-51.