ผลลัพธ์จากการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นระหว่าง กันยายน พ.ศ.2560 ถึง กันยายน พ.ศ.2563 ในโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

เรืองเดช แสนโคตร์
ทศพร เจริญจิต

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรงพยาบาลแก้งคร้อเริ่มให้บริการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560 การศึกษานี้รวบรวมผลลัพธ์ของบริการส่องกล้อง เพื่อทราบถึงวินิจฉัยโรคข้อมูลการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรและอุบัติการณ์มะเร็งทางเดินอาหารส่วนต้นในพื้นที่
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ Descriptive retrospective study เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้อง 358 ราย ระหว่าง 15 กันยายน พ.ศ.2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2563 จากการสัมภาษณ์ และฐานข้อมูลโรงพยาบาลแก้งคร้อ
ผลการศึกษา: โรคที่พบมากที่สุดในพื้นที่คือการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร 123 ราย (ร้อยละ 34) พบร่วมกับกระเพาะอาหารอักเสบร้อยละ 67 การติดเชื้อเพิ่มการเกิดกระเพาะอาหารหรือลำไส้ดูโอดีนัมอักเสบมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และสัมพันธ์กับผลตรวจพยาธิวิทยาผิดปกติ คือ กระเพาะอาหารอักเสบรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบเลือดออกและเยื่อบุกระเพาะอาหารเปลี่ยนเป็นเยื่อบุลำไส้อย่างมีนัยสำคัญอันดับสองคือFunctional dyspepsia 89 ราย (ร้อยละ 24) และอันดับสามกระเพาะอาหารอักเสบ 47 ราย (ร้อยละ 13) อุบัติการณ์มะเร็งหลอดอาหาร 2 ราย (2.6:100,000 ประชากร) อุบัติการณ์มะเร็งกระเพาะอาหาร 5 ราย (6.6:100,000 ประชากร) อุบัติการณ์มะเร็งทั้ง 2 ชนิด น้อยกว่าประชากรไทยทั่วไปแต่การศึกษานี้จำนวนประชากรน้อย ไม่พบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ดูโอดีนัมในพื้นที่เนื่องจากเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์ต่ำ
สรุป: โรคที่พบมากที่สุดในพื้นที่คือการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร Functional dyspepsia และกระเพาะอาหารอักเสบ อุบัติการณ์มะเร็งหลอดอาหาร 2.6:100,000 ประชากร อุบัติการณ์มะเร็งกระเพาะอาหาร 6.6:100,000 ประชากร
คำสำคัญ: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร มะเร็งทางเดินอาหารส่วนต้น แก้งคร้อ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Pittayanon R, Leelakusolvong S, Vilaichone RK, Rojborwonwitaya J, Treeprasertsuk S, Mairiang P, et al. Thailand Dyspepsia Guidelines: 2018. J Neurogastroenterol Motil 2019;25(1):15-26. doi: 10.5056/jnm18081.

สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ.2563 (Thailand GERD guideline 2020). กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริ้นท์เอเบิ้ลจำกัด; 2563.

Lau JYW, Yu Y, Tang RSY, Chan HCH, Yip HC, Chan SM, et al. Timing of Endoscopy for Acute Upper Gastrointestinal Bleeding. N Engl J Med 2020;382(14):1299-1308. doi: 10.1056/NEJMoa1912484.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. นนทุบรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Saleem N, Howden CW. Update on the Management of Helicobacter pylori Infection. Curr Treat Options Gastroenterol 2020:1-12. doi: 10.1007/s11938-020-00300-3.

ASGE Standards of Practice Committee, Ben-Menachem T, Decker GA, Early DS, Evans J, Fanelli RD, et al. Adverse events of upper GI endoscopy. Gastrointest Endosc. 2012 Oct;76(4):707-18. doi: 10.1016/j.gie.2012.03.252.

ASGE Standards of Practice Committee, Early DS, Lightdale JR, Vargo JJ 2nd, Acosta RD, Chandrasekhara V et al. Guidelines for sedation and anesthesia in GI endoscopy. Gastrointest Endosc 2018;87(2):327-37. doi: 10.1016/j.gie.2017.07.018.

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin 2018;68(6):394-424. doi: 10.3322/caac.21492.

สำนักงานสถิติจังหวัดชัยภูมิ. รายงานสถิติจังหวัดชัยภูมิ. [Internet]. [สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563]. ค้นได้จาก:URL: http://chaiyaphum.nso.go.th/

ชัยพจน์ สวัสดิวัลลภ. สาเหตุของการปวดแน่นท้องเรื้อรังของผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 7 1995;14(4):299–305.

อภิชัย ไพยารมณ์. การตรวจ Gastroscope ในโรงพยาบาลจอมทอง. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2005;1(2):119–26.

ศุภกิจ พันธุ์ประพันธุ์. ผลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นของผู้ป่วย Chronic dyspepsia ในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 6-7 2551;27(2–1):443–7.

เพชรี มณีธร, ปนัดดา โรจน์พิบูลสถิตย์, รัฐกร วิไลชนม์ และศศิชัย กังสดาลอำไพ. เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรรูปร่างทรงกลม ซึ่งมีชีวิต แต่ไม่เจริญเติบโต ยังคงสร้างกลูตามิลทรานส์เพปทิเดสที่เป็นปัจจัยก่อความรุนแรงโรค. Thai J Sci Technol 2019;7(6 ฉบับเสริม):614–21.

ภัทรายุส ออประยูร. การติดเชื้อ Helicobacter pylori ในผู้ป่วยปวดท้องเรื้อรัง โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2551;6(2 Suppl):6s-12s.

Bumpenboon W, Wasuthit Y, Euanorasetr C, Sumritpradit P, Suwanthunma W, Lertsithichai P, et al. Upper Gastrointestinal Endoscopy Findings in Patients Presenting with Dyspepsia. THAI J Surg 2010;31(1):7–12.

Kasemthamakhun S, Chaiyarerk P. Endoscopic Findings and the Prevalence of Helicobacter Pylori in Dyspeptic Monks at the Priest Hospital. THAI J Surg 2012;33(2):52–5.

Pounder RE, Ng D. The prevalence of Helicobacter pylori infection in different countries. Aliment Pharmacol Ther 1995;9 Suppl 2:33-9. PMID: 8547526

Chey WD, Leontiadis GI, Howden CW, Moss SF. ACG Clinical Guideline: Treatment of Helicobacter pylori Infection. Am J Gastroenterol 2017;112(2):212-39. doi: 10.1038/ajg.2016.563.

Emerenziani S, Guarino MPL, Trillo Asensio LM, Altomare A, Ribolsi M, Balestrieri P, et al. Role of Overweight and Obesity in Gastrointestinal Disease. Nutrients 2019;12(1):111. doi: 10.3390/nu12010111.

Mak AD, Wu JC, Chan Y, Chan FK, Sung JJ, Lee S. Dyspepsia is strongly associated with major depression and generalised anxiety disorder - a community study. Aliment Pharmacol Ther 2012;36(8):800-10. doi: 10.1111/apt.12036.

Ly HG, Weltens N, Tack J, Van Oudenhove L. Acute Anxiety and Anxiety Disorders Are Associated With Impaired Gastric Accommodation in Patients With Functional Dyspepsia. Clin Gastroenterol Hepatol 2015;13(9):1584-91.e3. doi: 10.1016/j.cgh.2015.03.032.

Nan J, Liu J, Mu J, Dun W, Zhang M, Gong Q, et al. Brain-based Correlations Between Psychological Factors and Functional Dyspepsia. J Neurogastroenterol Motil 2015;21(1):103-10. doi: 10.5056/jnm14096.

Pankongngam C. Increasing detection rate of Helicobacter pylori infec- tion in nonvariceal upper gastrointestinal bleeding patients by adding histology to the rapid urease test : An experience from Lampang Hospital. Chiang Mai Med J 2017;56(4):187–93.

Suchartlikitwong S, Lapumnuaypol K, Rerknimitr R, Werawatganon D. Epidemiology of upper gastrointestinal bleeding and Helicobacter pylori infection: review of 3,488 Thai patients. Asian Biomed 2017;9(1):87-93.

Altayar O, Davitkov P, Shah SC, Gawron AJ, Morgan DR, Turner K, AGA Technical Review on Gastric Intestinal Metaplasia-Epidemiology and Risk Factors. Gastroenterology. 2020 Feb;158(3):732-744.e16. doi: 10.1053/j.gastro.2019.12.002. Epub 2019 Dec 6.

Dinis-Ribeiro M, Areia M, de Vries AC, Marcos-Pinto R, Monteiro-Soares M, O'Connor A, et al. Management of precancerous conditions and lesions in the stomach (MAPS): guideline from the European Society of Gastrointestinal Endoscopy (ESGE), European Helicobacter Study Group (EHSG), European Society of Pathology (ESP), and the Sociedade Portuguesa de Endoscopia Digestiva (SPED). Endoscopy 2012;44(1):74-94. doi: 10.1055/s-0031-1291491.

World Health Organization. The Global Cancer Observatory-Thailand. 2021. [Internet]. [cited 2021 February 18]. Available from:URL: https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheets.pdf

สำนักงานมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2562. กรุงเทพ : บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2019.

Siegel RL, Miller KD, Jemal A. Cancer statistics, 2020. CA Cancer J Clin 2020;70(1):7-30. doi: 10.3322/caac.21590.