การพัฒนาระบบการจัดการความปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัด แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การควบคุมความปวดหลังการผ่าตัด หากไม่ได้ประเมินและจัดการให้เหมาะสม จะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ รวมทั้งเกิดผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด โรงพยาบาลเลยมีแนวทางการประเมินและจัดการความปวดแต่ขาดการกำกับติดตามและไม่จำเพาะต่อการดูแลด้านศัลยกรรมดังนั้นหน่วยงานจึงร่วมกันพัฒนาระบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัดให้เป็นสัญญาณชีพที่ 5 รวมทั้งทบทวนการประเมินและจัดการความปวดที่เหมาะสมชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยศึกษาผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรมที่ได้รับการผ่าตัดจำนวน4,878 รายตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 แบ่งการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ การประเมินและวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุงระบบ เครื่องมือ คือ แบบประเมินและแนวทางการควบคุมความปวดของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงกลุ่มวิเคราะห์ด้วยความถี่และร้อยละ ข้อมูลต่อเนื่องวิเคราะห์ด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และMann Whitney U test
ผลการศึกษา: หน่วยงานเกิดระบบการจัดการความปวด คือ แนวทางการประเมินและจัดการความปวด การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนานวัตกรรม Pain kits การออกแบบเอกสาร Block scale pain กำหนดนโยบายและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้การประเมินความปวดเป็นสัญญาณชีพ 5 ผลการใช้ระบบพบว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้รับการประเมินและจัดการความปวดอย่างน้อย 4ครั้งต่อวันร้อยละ 97.9 ประเมินครบ 72 ชั่วโมงร้อยละ 97.6 มีความปวดลดลงร้อยละ 95.9 ผู้ป่วยทั้งหมดไม่มีผลข้างเคียงจากการให้ยากลุ่มopioid ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจระดับมากร้อยละ 98.1 และลดระยะเวลานอนโรงพยาบาลได้
สรุป: ระบบที่พัฒนาขึ้น สามารถปฏิบัติได้จริงต่อเนื่องและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยสามารถลดความปวดเกิดความพึงพอใจไม่มีผลข้างเคียงของ opioid และลดวันนอนโรงพยาบาลควรนำไปขยายผลใช้กับทุกหน่วยงาน
คำสำคัญ: ความปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัด การประเมินและจัดการความปวด
Article Details
References
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด. ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2562.
ลักษมี ชาญเวชช์. Acute Postoperative Pain Management. [อินเตอร์เน็ท]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563]. สืบคืนได้จาก:URL: http://medinfo2.psu.ac.th/anesth/education/acutepain.html
Gan TJ. Poorly controlled postoperative pain: prevalence, consequences, and prevention. J Pain Res 2017;10:2287-98. doi: 10.2147/JPR.S144066. eCollection 2017.
โรงพยาบาลเลย. การประเมินผลการจัดการความปวดพ.ศ.2559. ระเบียบปฏิบัติเลขที่PR-NUR-3-013 เรื่องการประเมินผลการจัดการความปวด พ.ศ.2559. เลย: โรงพยาบาลเลย; 2559.
Deming WE. Out of the Crisis. Cambridge : MIT Press; 1986.
พัชรา อัมรินทร์พรชัย, อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักติวงศ์. ประสิทธิผลของระบบการพยาบาลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33(1):80-7.
เสาวนันทา เลิศพงษ์, นงลักษณ์ สุรศร. การศึกษาผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นในกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557;29(2):93-101.
รัชดา กำหอม, มาลินี วงศ์สวัสดิ์, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง, กชกร พลาชีวะ, พิกุล มาลาไสย์. การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นตามแผนภูมิการระงับปวดที่กำหนดขึ้น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2544;16(1): 251-6.
วัชนี มุกด์ธนะอนันต์. การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555;27(2):161-71.
Garimella V, Cellini C. Postoperative pain control. Clin Colon Rectal Surg 2013;26(3):191-6. doi: 10.1055/s-0033-1351138.