ผลของสื่อแอปพลิเคชั่นบนมือถือต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Main Article Content

ศีตรา มยูขโชติ
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับความรู้ที่ถูกต้องจะส่งผลต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนดก่อนและหลังการใช้สื่อแอปพลิเคชัน และเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดระหว่างกลุ่มที่คลอดครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนด
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำก่อน-หลัง ทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจำนวน 80 รายคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนด แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการพรรณนาผลการศึกษา และใช้สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20-34 ปี (Mean±SD= 27.5±6.4) ครรภ์หลัง (ร้อยละ 73.7) ฝากครรภ์มาจากที่อื่น (ร้อยละ 60.0) คลอดทางช่องคลอด (ร้อยละ 52.5) ร้อยละ 62.5 คลอดครบกำหนด และร้อยละ 37.5 คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกเกิดอยู่ระหว่าง 1,040-3,970 กรัม (Mean±SD=2,691.9±613.7) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนดโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งคะแนนภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ภายหลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่คลอดก่อนกำหนดมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนดมากกว่ากลุ่มที่คลอดครบกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p<0.05) คะแนนพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean±SD=3.3±0.3) โดยกลุ่มที่คลอดครบกำหนดมีคะแนนมากกว่ากลุ่มที่คลอดก่อนกำหนดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ภายหลังการศึกษาสื่อแอปพลิเคชันกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นพยาบาลควรเพิ่มการติดตามและกระตุ้นเตือนการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
คำสำคัญ: ความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนด พฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด สื่อแอปพลิเคชัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก พ.ศ. 2556-2558, คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556-2558. การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. 2558. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น 4 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL: http://www.rtcog.or.th/home/ob014%e0%b8%81%e0%

b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b9%

%e0%b8%a5%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%

e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%

b8%a7%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%

%e0%b8%9a%e0%b8%84/396/

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลสุรินทร์. เอกสารรายงานสถิติประจำปี 2563. สุรินทร์: งานห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์; 2563.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. มาตรฐานคุณภาพสำหรับป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. [อินเตอร์เน็ท]. 2562. [สืบค้น 5 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.hitap.net/documents/173868.

ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557;22(1):27-38.

ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, อัมพร คงจีระ, ราตรี ศิริสมบูรณ์, กาญจนา พิมล, อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ. การสนับสนุนทางสังคม ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารสภาการพยาบาล 2550;22(1):60-71.

พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, รัศมีแข พรหมประกาย, มณีรัตน์ เพิ่มชาติ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559;34(2):164-73.

วรรณทนีย์ ลีฬหาพงศธร, พรทิพย์ จันทาทิพย์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในห้องคลอด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารกองการพยาบาล2559;43(3 พิเศษ):46-62.

ชลทิชา รักษาธรรม, ทวีศักดิ์ กสิผล, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19 (พิเศษ):348-56.

กัลยา มณีโชติ, นิจ์สากร นังคลา. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล 2560;44(2):7-25.

รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, เอมพร รตินธร, เอกชัย โควาวิสารัช. ผลของการบำบัดทางการพยาบาลต่อการจัดการเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2552;27(2):39-48.

นวรัตน์ ไวชมพู, อาภรณ์ คงช่วย.การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558;2(3):114-28.

บุญชม ศรีสะอาด.การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารวัดผลการศึกษา2539; 2(1):64-70.