ผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังตามระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง

Main Article Content

มนัสวี ให้ศิริกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care: IMC) โดยสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าถึงการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องไปจนครบระยะเวลา 6 เดือน ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาผลการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการดูแลฟื้นฟูระยะกลาง (IMC) ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง หลังฟื้นฟูตามแนวทางการดูแลฟื้นฟูระยะกลาง
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experiment Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่พักรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ.2563 โดยฟื้นฟูผู้ป่วยต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ราย อายุระหว่าง 43-71 ปี ค่ามัธยฐาน 64 ปี พบว่าผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในวันแรกพบ และเมื่อตามเยี่ยมครบ 6 เดือน ค่ามัธยฐาน 11 คะแนน และ 65 คะแนนตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างวันแรกที่พบ และเมื่อตามเยี่ยมบ้านครบ 6 เดือน
สรุป: จากการติดตามฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตามแนวทางการดูแลฟื้นฟูระยะกลางผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันดี เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการ และได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีความเฉพาะเจาะจง ถูกต้อง เหมาะสม ลดภาวะพึ่งพิงบุคคลผู้อื่นส่วนคุณภาพชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง คุณภาพชีวิต ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ประพันธ์พงศ์ คณิตานนท์, พิมพ์ใจ สุวรรณพฤกษ์, จุฬาลักษณ์ สอนดิษฐ์. แนวทางการฟื้นฟูผู้บาดเจ็บ/คนพิการจากอุบัติเหตุบนท้องถนน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ : บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่งจำกัด; 2555.

ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. แนวทางปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่บาดเจ็บไขสันหลัง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่งจำกัด; 2556.

อภิชนา โฆวินทะ, ปรัชญพร คำเมืองลือ, สยาม ทองประเสริฐ, นภัสภรณ์ โกมารทัต, รุ่งอรุณ มหาไชย, ชยาภรณ์ โชติญาณวงษ์, สินธิป พัฒนะคูหา. รายงานเบื้องต้นผลลัพธ์การบริการฟื้นสภาพแบบผู้ป่วยในจากสถานพยาบาลระดับตติยภูมิในโครงการทะเบียนโรคบาดเจ็บไขสันหลังไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2560;27(3):101-7.

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่1. สมุทรสาคร : บริษัทบอร์นทูบีพับลิชชิ่งจำกัด; 2562.

กัญญารัตน์ ค้ำจุน, ปานจิต วรรณภิระ, ปราญปริญ ปิ่นสกุล, ศศิธร สมจิตต์. การพัฒนางานฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางแบบต่อเนื่องสู่ชุมชน. พุทธชินราชเวชสาร 2561;35(5):304-12.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะรังกุล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). 2561. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561]. สืบค้นได้จาก:URL: http://www.dmh.go.th.

วรุณนภา ศรีโสภาพ, ฉลองพันธุ์ กนกพงศ์. ผลการฝึกกายภาพบำบัดผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บที่บ้านโดยผู้ดูแลหลักและอาศาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พุทธชินราชเวชสาร 2554;28(1):51-9

นคัมยภรณ์ ชูชาติ, รัตนา วิเชียรศิริ, ปรีดา อารยาวิชานนท์, ณัฐเศรษฐ มนิมนากร. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจากอุบัติเหตุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2558;25(1):15-21.

ภัทรา วัฒนพันธุ์, ชื่นชนก นิพิฐวัธนะผล, รัตนา วิเชียรศิริ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลังที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2553;20:46-51.

Dajpratham P, Kongkasuwan R. Quality of life among the traumatic Spinal Cord Injured Patients. J Med Assoc Thai 2011;94:1252-9.

กิ่งเพ็ชร วงศ์พิเชษฐ์. การพยาบาลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550;22:99-100.

ณัฐวัฒน์ ขันโท. คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชนคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย; ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์, พวงพยอม ปัญญา. ผลของการฟื้นฟูสภาพที่บ้านต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร 2550;34(1):110-20.

จิรพรรณ โพธิ์ทอง, อาภรณ์ ดีนาน, รัชนี สรรเสริญ. ประสิทธิผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(2):232-41.

ศมนรักษ์ สุวรรณทรัพย์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, วรรณรัตน์ ลาวัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการเคลื่อนไหวในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559;9(3):20-35.

ไปยดา วงศ์ภากร, อภิชนา โฆวินทะ. ปัจจัยบ่งชี้และอัตราการมีงานทำของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2557;24:28-36.