การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดวัณโรคในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีหลังได้รับยาต้านไวรัส

Main Article Content

สุนีย์ ชยางศุ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: วัณโรคยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆโดยเฉพาะในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ทั้งที่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยในการได้รับยาต้านไวรัสครอบคลุมและทั่วถึงในคนไทยทุกคนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมาพบแพทย์และตรวจคัดกรองไม่พบการติดเชื้อวัณโรคในระยะแพร่เชื้อสามารถเริ่มยาต้านไวรัสเอชไอวีได้ทันที ดังนั้น จึงทำการศึกษาเพื่อหาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดวัณโรคในระยะแพร่เชื้อในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสแล้วเป็นอย่างไร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาชนิด retrospective cohort study ซึ่งบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสในคลินิกภูมิคุ้มกันบกพร่องโรงพยาบาลสุรินทร์ทุกคนที่มีการรักษาจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อหาอัตราการเกิดวัณโรคในระยะแพร่เชื้อหลังเริ่มยาต้านไวรัสและศึกษาข้อมูลทั่วไป ชนิดของยาต้านไวรัส ผลระดับเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีสี่ก่อนได้รับยาต้านไวรัส ผลปริมาณไวรัสหลังได้รับยาต้านไวรัส และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 1,610 รายที่ได้รับยาต้านไวรัสในคลินิกภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดตามต่อเนื่องเป็นเพศชาย 840 ราย (ร้อยละ 52.1) มีอายุเฉลี่ย 42.0 ± 11.6 ปี มีน้ำหนักเฉลี่ย 55.6 ± 10.6 กิโลกรัม มีมัธยฐานของจำนวนซีดีสี่เริ่มต้นเท่ากับ234เซลล์ต่อมิลลิลิตร (IQR 88-400 cell/mm3) สูตรยาต้านไวรัสที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสูตรมาตรฐานขั้นต้น จำนวน 1,508 ราย (ร้อยละ 93.6) เคยมีประวัติป่วยเป็นวัณโรคและรักษาครบก่อนกินยาต้านไวรัสจำนวน 109 ราย (ร้อยละ 6.8) มัธยฐานเวลาที่กินยาต้านไวรัส 85.2 เดือน (IQR 36.8-128.0) ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วย 20 รายที่ป่วยเป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อคิดเป็นร้อยละ 1.24 พบอัตราอุบัติการณ์การป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อหลังได้รับยาต้านไวรัส 0.159 ต่อ 100คนต่อปี และเมื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ป่วยเป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อกับกลุ่มที่ไม่ป่วยหลังกินยาต้านไวรัส พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยเป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อได้แก่ การเคยป่วยเป็นวัณโรคมาก่อน (adjusted odds ratio, 3.41; 95%CI, 1.10 to 10.48) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การมีระดับซีดีสี่เริ่มต้นน้อยกว่า 200 เซลล์ต่อมิลลิลิตร (adjusted odds ratio, 1.89; 95%CI, 0.73 to 4.88) และเพศชาย (adjusted odds ratio, 1.31; 95%CI, 0.50 to 3.44) อย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้ไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ 1,608 ราย (ร้อยละ 99.8) ขาดนัดติดตาม 2 ราย (ร้อยละ 0.1) และชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 0.1)
สรุป: ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสแล้วมีอัตราอุบัติการณ์การป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อหลังได้รับยาต้านไวรัส159 ต่อประชากรแสนคนและคนที่เคยป่วยเป็นวัณโรคมาก่อนและค่าซีดีสี่ที่เริ่มต้นน้อยกว่า 200 เซลล์ต่อมิลลิลิตรมีโอกาสเกิดเป็นอีกได้มากขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังในผู้ป่วยดังกล่าวต่อไป
คำสำคัญ: การเกิดวัณโรค ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซีดีสี่

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2017. Geneva : World Health Organization; 2017

Antonucci G, Girardi E, Raviglione MC, Ippolito G. Risk factors for tuberculosis in HIV-infected persons. A prospective cohort study. The GruppoItaliano di Studio Tubercolosi e AIDS (GISTA). JAMA 1995;274(2):143-8. doi: 10.1001/jama.274.2.143.

Guelar A, Gatell JM, Verdejo J, Podzamczer D, Lozano L, Aznar E, et al. A prospective study of the risk of tuberculosis among HIV-infected patients.AIDS 1993;7(10):1345-9. doi: 10.1097/00002030-199310000-00007.

Kirk O, Gatell JM, Mocroft A, Pedersen C, Proenca R, Brettle RP, et al. Infections with Mycobacterium tuberculosis and Mycobacterium avium among HIV-infected patients after the introduction of highly active antiretroviral therapy.EuroSIDA Study Group JD. Am J RespirCrit Care Med 2000;162(3 Pt 1):865-72. doi: 10.1164/ajrccm.162.3.9908018.

Girardi E, Sabin CA, d'ArminioMonforte A, Hogg B, Phillips AN, Gill MJ, et al. Incidence of Tuberculosis among HIV-infected patients receiving highly active antiretroviral therapy in Europe and North America. Clin Infect Dis 2005;41(12):1772-82. doi: 10.1086/498315.

Lawn SD, Badri M, Wood R.Tuberculosis among HIV-infected patients receiving HAART: long term incidence and risk factors in a South African cohort. AIDS 2005;19(18):2109-16. doi:10.1097/01.aids.0000194808.20035.c1.

Bonnet MM, Pinoges LL, Varaine FF, Oberhauser BB, O'Brien DD, Kebede YY, et al. Tuberculosis after HAART initiation in HIV-positive patients from five countries with a high tuberculosis burden. AIDS 2006;20(9):1275-9. doi: 10.1097/01.aids.0000232235.26630.ee.

Antiretroviral Therapy in Low-Income Countries Collaboration of the International epidemiological Databases to Evaluate AIDS (IeDEA); ART Cohort Collaboration, Brinkhof MW, Egger M, Boulle A, May M, Hosseinipour M, et al.Tuberculosis after initiation of antiretroviral therapy in low-income and high-income countries. Clin Infect Dis 2007;45(11):1518-21. doi: 10.1086/522986.

Alvarez-Uria G, Pakam R, Midde M, Naik PK. Incidence and mortality of tuberculosis before and after initiation of antiretroviral therapy: an HIV cohort study in India. J Int AIDS Soc 2014;17(1):19251. doi: 10.7448/IAS.17.1.19251.