การศึกษาประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัด FOLFOX4 ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ระยะลุกลามหรือแพร่กระจายและปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค

Main Article Content

ชวลิต ชยางศุ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: มะเร็งตับเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและเจ็บป่วยเรื้อรังจนตายก่อนวัยอันควรมากเป็นอันดับที่1 เมื่อตรวจพบมักอยู่ในระยะท้ายของโรคซึ่งการรักษาค่อนข้างจำกัดและได้ผลลัพธ์ ไม่ดี ยามุ่งเป้าเป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบันแต่พบมีปัญหาในการเข้าถึงยาเนื่องจากราคาสูง ยาเคมีบำบัด FOLFOX4 ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับมากขึ้น แต่การศึกษาประสิทธิภาพยังมีน้อยและในประเทศไทยเองยังไม่พบมีการรายงานมาก่อน การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัด FOLFOX4 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะลุกลามหรือแพร่กระจายที่ได้รับการรักษาเป็นสูตรแรกและค้นหาปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่อระยะเวลาการรอดชีพ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบไปข้างหน้า (retrospective cohort) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะลุกลามหรือแพร่กระจายและได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด FOLFOX4 ป็นสูตรแรก ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2563 ในโรงพยาบาลสุรินทร์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัด FOLFOX4 อัตราการตอบสนองต่อการรักษา ระยะเวลาการรอดชีพ ระยะเวลาควบคุมโรค และปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 38 ราย เป็นเพศชาย 31 ราย (ร้อยละ 81.6) อายุเฉลี่ย 58.1(±10.0) ปี พบปัจจัยเสี่ยงโรคตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 20 ราย (ร้อยละ 52.6) ไวรัสตับอักเสบซี 5 ราย (ร้อยละ13.2) แอลกอฮอล์ 8 ราย (ร้อยละ 21) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะตับแข็ง 31 ราย (ร้อยละ 81.6) ระยะของโรคมะเร็งตับตาม BCLC พบเป็นระยะ B 1 ราย (ร้อยละ 2.6) ระยะ C 36 ราย (ร้อยละ 94.8) และระยะ D 1 ราย (ร้อยละ 2.6) มีค่ากลางของ AFP เท่ากับ 2109.8(IQR,60.63-18810) มีอัตราการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด (RR) ร้อยละ 29.2และอัตราการควบคุมโรค (DCR) ร้อยละ 41.7 มีค่ากลางระยะเวลาที่ควบคุมโรคได้ (PFS) อยู่ที่ 2.9 เดือน (95%CI, 2.2-4.1) และค่ากลางระยะเวลาการรอดชีพรวม(OS)4.2 เดือน (95%CI, 2.6-5.0)ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อระยะเวลาการรอดชีพที่น้อยกว่าได้แก่ เพศหญิง BCLC Stage C และ D การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีและกลุ่มที่ค่า AFP มากกว่า 400 ng/ml เมื่อนำปัจจัยมาวิเคราหะ์แบบ multivariate พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลารอดชีพที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ระยะโรค D ตาม BCLC (HR 231.83; 95%CI, 6.42-8370.24; p=0.003) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HR 4.39; 95%CI, 1.01-19.00; p=0.048) และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HR 30.93; 95%CI, 4.56-209.69; p<0.001)
สรุป: ยาเคมีบำบัด FOLFOX4 มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษากรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยามุ่งเป้าได้ และผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม BCLC stage D มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีร่วม เพศหญิง และ AFP ที่มากกว่า 400 ng/ml พบเป็นปัจจัยต่อการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี
คำสำคัญ: มะเร็งตับ ยาเคมีบำบัด FOLFOX4 ปัจจัยพยากรณ์ ระยะเวลาการรอดชีพ

Article Details

How to Cite
ชยางศุ ช. . (2021). การศึกษาประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัด FOLFOX4 ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ระยะลุกลามหรือแพร่กระจายและปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(1), 139–148. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/250487
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Amon JJ, Nedsuwan S, Chantra S, Bell BP, Dowell SF, Olsen SJ, et al. Trends in liver cancer, Sa Kaeo Province Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2005;6(3):382-6. PMID: 16236004

Parkin DM, Bray FI, Devesa SS. Cancer burden in the year 2000. The global picture. Eur J Cancer 2001;37 (Suppl 8):S4-66. doi: 10.1016/s0959-8049(01)00267-2.

Chitapanarux T, Phornphutkul K. Risk Factors for the Development of Hepatocellular Carcinoma in Thailand. J Clin Transl Hepatol 2015;3(3):182-8. doi: 10.14218/JCTH.2015.00025.

ชวลิด ชยางศุ. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและลักษณะของโรคมะเร็งตับในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555;27(3):225–34.

Llovet JM, Ricci S, Mazzaferro V, Hilgard P, Gane E, Blanc JF, et al. Sorafenib in advanced hepatocellular carcinoma. N Engl J Med 2008;359(4):378-90. doi: 10.1056/NEJMoa0708857.

Cheng AL, Kang YK, Chen Z, Tsao CJ, Qin S, Kim JS, et al. Efficacy and safety of sorafenib in patients in the Asia-Pacific region with advanced hepatocellular carcinoma: a phase III randomised, double-blind, placebo-controlled trial. Lancet Oncol 2009;10(1):25-34. doi: 10.1016/S1470-2045(08)70285-7.

Kudo M, Finn RS, Qin S, Han KH, Ikeda K, Piscaglia F, et al. Lenvatinib versus sorafenib in first-line treatment of patients with unresectable hepatocellular carcinoma: a randomised phase 3 non-inferiority trial. Lancet 2018;391(10126):1163-73. doi: 10.1016/S0140-6736(18)30207-1.

Qin S, Bai Y, Lim HY, Thongprasert S, Chao Y, Fan J, et al. Randomized, multicenter, open-label study of oxaliplatin plus fluorouracil/leucovorin versus doxorubicin as palliative chemotherapy in patients with advanced hepatocellular carcinoma from Asia. J Clin Oncol 2013;31(28):3501-8. doi: 10.1200/JCO.2012.44.5643.

Qin S, Cheng Y, Liang J, Shen L, Bai Y, Li J, et al. Efficacy and safety of the FOLFOX4 regimen versus doxorubicin in Chinese patients with advanced hepatocellular carcinoma: a subgroup analysis of the EACH study. Oncologist 2014;19(11):1169-78. doi: 10.1634/theoncologist.2014-0190.

Petrelli F, Coinu A, Borgonovo K, Cabiddu M, Ghilardi M, Lonati V, et al. Oxaliplatin-based chemotherapy: a new option in advanced hepatocellular carcinoma. a systematic review and pooled analysis. Clin Oncol (R Coll Radiol) 2014;26(8):488-96. doi: 10.1016/j.clon.2014.04.031.

สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558. [Internet]. [สืบคืนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564]. สืบค้นได้จาก:URL: http://www.gastrothai.net/source/contentfile/178.Thailand%

Guideline%20for%20Hepatocellular%20Carcinoma.pdf

European Association for the Study of the Liver. Electronic address: easloffice@easloffice.eu; European Association for the Study of the Liver. EASL Clinical Practice Guidelines: Management of hepatocellular carcinoma. J Hepatol 2018;69(2):406-460. doi: 10.1016/j.jhep.2018.03.024.

Karanicolas P, Beecroft JR, Cosby R, David E, Kalyvas M, Kennedy E, et al. Regional Therapies for Colorectal Liver Metastases: Systematic Review and Clinical Practice Guideline. Clin Colorectal Cancer 2020:S1533-0028(20)30137-7. doi: 10.1016/j.clcc.2020.09.008.

Tangkijvanich P, Anukulkarnkusol N, Suwangool P, Lertmaharit S, Hanvivatvong O, Kullavanijaya P, et al. Clinical characteristics and prognosis of hepatocellular carcinoma: analysis based on serum alpha-fetoprotein levels. J Clin Gastroenterol 2000;31(4):302-8. doi: 10.1097/00004836-200012000-00007.

Meyer T, Finn R, Kudo M, Kang Y, Yen C, Galle P, et al. Ramucirumab in advanced hepatocellular carcinoma and elevated alpha-fetoprotein following sorafenib: outcomes by prior transarterial chemoembolisation from two randomised, double-blind, placebo-controlled phase 3 studies (REACH-2 and REACH). Ann Oncol 2019;30(Suppl 4):0-021. https://doi.org/10.1093/annonc/mdz154.020

Zhu A, Finn R, Galle P, Llovet J, Blanc JF, Okusaka T, et al. Ramucirumab as second-line treatment in patients with advanced hepatocellular carcinoma (HCC) and elevated alpha-fetoprotein (AFP) following first-line sorafenib: Pooled efficacy and safety across two global randomized Phase 3 studies (REACH-2 and REACH). Ann Oncol 2018;29(suppl 8):v122. https://doi.org/10.1093/annonc/mdy282.006.

Llovet JM, Kelley RK, Villanueva A, Singal AG, Pikarsky E, Roayaie S, et al. Hepatocellular carcinoma. Nat Rev Dis Primers 2021;7(1):6. doi: 10.1038/s41572-020-00240-3.