อัตราการเสียชีวิตและการดำเนินโรคของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก

Main Article Content

ผการัตน์ แสงกล้า

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก คือทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัมมีโอกาสเสียชีวิตสูง ส่วนรายที่รอดชีวิตก็เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายระบบซึ่งเกิดสืบเนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาแม้ว่าปัจจุบันนี้การรักษาทารกน้ำหนักน้อยมากมีการพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอัตราการเสียชีวิตของทารกกลุ่มนี้พบว่าแตกต่างกันไปตามสถานที่ศึกษาระดับของโรงพยาบาลที่รักษา และระยะเวลาที่ศึกษา ซึ่งพบว่าการศึกษาในต่างประเทศอัตราการเสียชีวิตของทารกกลุ่มนี้ลดลงส่วนอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็ยังสูงในบางภาวะและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กทารกกลุ่มนี้ เช่นเดียวกับการศึกษาในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตและผลลัพธ์ของการรักษาของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก ที่รักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Descriptive Retrospective) ในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัมทุกรายที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลสุรินทร์ ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด (neonatal intensive care unit, NICU) และหอทารกแรกเกิดป่วย (sick newborn ward) ปีงบประมาณ 2555-2560 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2560) โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลสุรินทร์เวชระเบียนผู้ป่วยใน ใบบันทึกการคลอดของมารดา ใบส่งตัวผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น เวชระเบียนผู้ป่วยนอกรวบรวมและนำมาวิเคราะห์หาอัตราการเสียชีวิต การดำเนินโรค ผลลัพธ์ของการรักษาของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก
ผลการศึกษา: ในช่วงเวลาที่ศึกษามีทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัมที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ทั้งหมด 603 ราย เป็นเพศชาย 314 ราย (ร้อยละ 51.7) น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 1148.28+247.89 กรัมโดยพบน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1000 กรัมร้อยละ 30 ส่วนมากคลอดในโรงพยาบาลสุรินทร์ร้อยละ 83.7 ทารกกลุ่มนี้เสียชีวิตรวม 138 ราย อัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 22.9 อัตราการเสียชีวิตสูงสุดในปีงบประมาณ 2557 ร้อยละ 34.7 ต่ำสุดในปีงบประมาณ 2560 อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 13 สาเหตุการการเสียชีวิตพบว่าภาวะ respiratory distress syndrome เป็นสาเหตุหลักร้อยละ 47.8 รองลงมาคือ late neonatal sepsis ร้อยละ20.3 ทารกรอดชีวิตกลับบ้าน 412 ราย (ร้อยละ68.3) พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนหลักคือ broncho pulmonary dysplasia (BPD) ซึ่งพบsevere BPD มากสุดร้อยละ21.4ภาวะ retinopathy of prematurity (ROP) stage 3, 4 ร้อยละ 12.5 ทารกที่ส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นจำนวน 51 ราย (ร้อยละ8.5) โดยไปรักษาภาวะ ROP 33 ราย PDA ligation 12 รายและภาวะอื่นๆ 9 รายทารก 2 รายผู้ปกครองไม่สมัครใจอยู่รักษาต่อในโรงพยาบาลเนื่องจากทารกมีภาวะความพิการแต่กำเนิดหลายอย่างร่วมกัน
สรุป: ถึงแม้ว่าแนวโน้มของอัตราการเสียชีวิตของทารกน้ำหนักน้อยมากจะลดลงกว่าในอดีต แต่อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็ยังคงสูงอยู่ ดังนั้นนอกจากการพัฒนาการดูแลรักษาให้ดีขึ้นเพื่อลดอัตราการตายและควรพัฒนาไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือให้เกิดน้อยที่สุด และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการป้องกันไม่ให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดที่จะทำให้ทารกน้ำหนักน้อยมากเหล่านี้ต้องคลอดออกมาและเกิดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
คำสำคัญ: ทารกน้ำหนักน้อยมาก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fanaroff AA, Stoll BJ, Wright LL, Carlo WA, Ehrenkranz RA, Stark AR, et al. Trends in neonatal morbidity and mortality for very low birthweight infants. Am J Obstet Gynecol 2007;196(2):147.e1-8.

Walsh MC, Bell EF, Kandefer S, Saha S, Carlo WA, D'angio CT, etal. Neonatal outcomes of moderately preterm infants compared to extremely preterm infants. Pediatr Res 2017;82(2):297-304.

Sritipsukho S, Suarod T, Sritipsukho P. Survival and outcome of very low birth weight infants born in a university hospital with level II NICU. J Med Assoc Thai 2007;90(7):1323-9.

Kusuda S, Fujimura M, Uchiyama A, Totsu S, Matsunami K; Neonatal Research Network, Japan. Trends in morbidity and mortality among very-low-birth-weight infants from 2003 to 2008 in Japan. Pediatr Res 2012;72(5):531-8.

Horbar JD, Carpenter JH, Badger GJ, Kenny MJ, Soll RF, Morrow KA, et al. Mortality and neonatal morbidity among infants 501 to 1500 grams from 2000 to 2009. Pediatrics 2012;129(6):1019-26.

Rüegger C, Hegglin M, Adams M, Bucher HU; Swiss Neonatal Network. Population based trends in mortality, morbidity and treatment for very preterm- and very low birth weight infants over 12 years. BMC Pediatr 2012;12:17.

Ballot DE, Chirwa TF, Cooper PA. Determinants of survival in very low birth weight neonates in a public sector hospital in Johannesburg. BMC Pediatr 2010;10:30.

Isayama T, Lee SK, Mori R, Kusuda S, Fujimura M, Ye XY, et al. Comparison of mortality and morbidity of very low birth weight infants between Canada and Japan. Pediatrics 2012;130(4):e957-65.

Sobaih B, Hadid A, Fariss A, Banoo R, AlKharfi T, AlFaleh K. Mortality and short term outcome of Very Low Birth Weight (VLBW) infants at a tertiary care center in Saudi Arabia: 9 years’ data. KUWAIT MED J 2014;46(3):233-6.

Marlow N, Bennett C, Draper ES, Hennessy EM, Morgan AS, Costeloe KL. Perinatal outcomes for extremely preterm babies in relation to place of birth in England: the EPICure 2 study. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2014;99(3):F181-8.

Shim JW, Kim MJ, Kim EK, Park HK, Song ES, Lee SM, et al. The impact of neonatal care resources on regional variation in neonatal mortality among very low birthweight infants in Korea. Paediatr Perinat Epidemiol 2013;27(2):216-25.

Chanvitan P, Ruangnapa K, Janjindamai W, Disaneevate S. Outcomes of very low birth weight infants in Songklanagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2010;93(2):191-8.

ธนสินี เนียมทันต์, แสงแข ชำนาญวนกิจ. ผลการรักษาทารกน้ำหนักน้อยมาก: ประสบการณ์ 10 ปี ของโรงพยาบาลกระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก 2015:68:1:27-34.

กนิษฐา กลิ่นราตรี, ฌานิกา โกษารัตน์, วัชรี ตันติประภา. อัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2553และ2558. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2558;56(1):51–9.

ดวงกมล เจริญเกษมวิทย์. อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2008;1:3(1):87–96.

สุธิดา แผ่วัฒนากุล ผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาลอุทัยธานี. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2559;13(3):25-34.

ภิญญดา แก้วปลั่ง. อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์ 2554;26(3):379-92.

เจียมรัตน์ ผลาสินธุ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตและอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555; 51(4): 304-13.

Jobe AH, Bancalari E. Bronchopulmonary dysplasia. Am J Respir Crit Care Med 2001;163(7):1723-9.