ระดับของโทรโปนิน ไอ ที่ตรวจด้วยวิธีความไวสูง และ ความสำคัญต่ออาการทางคลินิกในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอันเกิดจากหัวใจห้องบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอันเกิดจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia; SVT) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการตรวจพบ โทรโปนิน ไอ ที่ตรวจด้วยวิธีความไวสูง (High Sensitive Cardiac Troponin I ; hs-cTnI) เพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าปกติ ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของ hs-cTnI ต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย SVT นั้นยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ hs-cTnI และการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย SVT
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective Descriptive Study) ในกลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยโรค SVT ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ ในช่วงเวลาตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2560 จนถึง เมษายน พ.ศ.2564 เกณฑ์คัดเข้า (Inclusion Criteria) คือ ผู้ป่วยอายุ 15-90 ปีที่ได้รับวินิจฉัยหลัก (Principle Diagnosis) ICD 10 รหัส I47.1 และมีผลการตรวจ hs-cTnI อย่างน้อย 1 ครั้งข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานผู้ป่วย วิธีรักษา ระยะเวลาที่เกิด SVT จนถึงการตรวจเลือด ผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ผลการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตามข้อมูลที่มีบันทึกล่าสุดในเวชระเบียน
ผลการศึกษา: ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาพบผู้ป่วย 618 รายได้รับวินิจฉัย SVT ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 261 ราย ผู้ป่วย 149 ราย (ร้อยละ 69.0) มีค่า hs-cTnI ที่เป็นบวก (ค่าปกติคือน้อยกว่า 19.8 ng/L ในผู้ชาย และ 11.6 ng/L ในผู้หญิง) โดยค่า median ของ hs-cTnI คือ 19.7 ng/L (range 0.0-2776.9 ng/L) ปัจจัยเรื่องเพศ อายุ ระดับฮีโมโกลบิน ค่า eGFR วิธีการรักษา ระยะเวลาที่เกิด SVT จนกระทั่งได้รับการเจาะเลือดตรวจ ภาพเอกซเรย์ที่มี cardiomegaly โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือดเดิม ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแรกรับต่ำกว่า 90/60 mmHg และผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิต systolic มากกว่า 180 หรือ diastolic มากกว่า120 mmHg พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับค่า hs-cTnI (p=.96) ไม่มีผู้ป่วยรายใดเสียชีวิตในการนอนโรงพยาบาลครั้งนั้น มีข้อมูลการติดตามผู้ป่วยหลังจากออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว จำนวน 224 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.8 จากผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าเกณฑ์การศึกษา ข้อมูลการติดตามอาการหลังเกิด SVT เฉลี่ยอยู่ที่ 20.0 ± 14.2 เดือน ผู้ป่วย 64 ราย (ร้อยละ 28.6) เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเป็นการเกิด SVT ซ้ำมากที่สุด (ร้อยละ 81.2) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับของ hs-cTnI กับการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (p=.58)
สรุป: SVT สามารถตรวจพบการเพิ่มขึ้นของ hs-cTnI ได้ โดยไม่พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับของ hs-cTnI และค่า hs-cTnI ในผู้ป่วย SVT นั้นไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดภายในระยะเวลา 20 สัปดาห์
คำสำคัญ: โทรโปนิน ไอ ที่ตรวจด้วยวิธีความไวสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติอันเกิดจากหัวใจห้องบน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Vasile VC, Jaffe AS. High-Sensitivity Cardiac Troponin for the Diagnosis of Patients with Acute Coronary Syndromes. Curr Cardiol Rep 2017;19(10):92. doi: 10.1007/s11886-017-0904-4
Giannitsis E, Katus HA. Cardiac troponin level elevations not related to acute coronary syndromes. Nat Rev Cardiol 2013;10(11):623-34. doi: 10.1038/nrcardio.2013.129
Sayadnik M, Shafiee A, Jenab Y, Jalali A, Sadeghian S. Predictors of High-Sensitivity Cardiac Troponin T Elevation in Patients with Acute Paroxysmal Supraventricular Tachycardia and Ischemic Heart Disease. Tex Heart Inst J 2017;44(5):306-11. doi: 10.14503/THIJ-15-5338
Patane S, Marte F, Di Bella G. Abnormal troponin I levels after supraventricular tachycardia. Int J Cardiol 2009;132(2):e57-9. doi: 10.1016/j.ijcard.2007.07.120
Zellweger MJ, Schaer BA, Cron TA, Pfisterer ME, Osswald S. Elevated troponin levels in absence of coronary artery disease after supraventricular tachycardia. Swiss Med Wkly 2003;133(31-32):439-41.
Carlberg DJ, Tsuchitani S, Barlotta KS, Brady WJ. Serum troponin testing in patients with paroxysmal supraventricular tachycardia: outcome after ED care. Am J Emerg Med. 2011;29(5):545-8. doi: 10.1016/j.ajem.2010.01.041
Wood K. Mechanisms and clinical manifestations of supraventricular tachycardias. Prog Cardiovasc Nurs. 1995;10(2):3-14.
Ghersin I, Zahran M, Azzam ZS, Suleiman M, Bahouth F. Prognostic value of cardiac troponin levels in patients presenting with supraventricular tachycardias. J Electrocardiol. 2020;62:200-3. doi: 10.1016/j.jelectrocard.2020.09.001
Gore MO, Seliger SL, Defilippi CR, Nambi V, Christenson RH, Hashim IA, et al. Age- and sex-dependent upper reference limits for the high-sensitivity cardiac troponin T assay. J Am Coll Cardiol 2014;63(14):1441-8. doi: 10.1016/j.jacc.2013.12.032
Collet JP, Thiele H, Barbato E, Barthelemy O, Bauersachs J, Bhatt DL, et al. 2020 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation. Eur Heart J. 2021;42(14):1289-367. doi: 10.1093/eurheartj/ehaa575.
Yan I, Borschel CS, Neumann JT, Sprunker NA, Makarova N, Kontto J, et al. High-Sensitivity Cardiac Troponin I Levels and Prediction of Heart Failure: Results From the Biomar CaRE Consortium. JACC Heart Fail. 2020;8(5):401-11. doi: 10.1016/j.jchf.2019.12.008.