บทบาทพยาบาลและครอบครัวในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

Main Article Content

ปัณณทัต บนขุนทด
ถาวรีย์ แสงงาม
ริรร์ พิมมานุรักษ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพทารก เช่น ลดอัตราการตาย การเกิดภาวะอ้วนการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทารกนอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อตัวมารดาเอง ช่วยลดโอกาสตกเลือดหลังคลอด การเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกองค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียว 6 เดือนหลังคลอดหลังจากนั้นจึงให้น้ำนมมารดาร่วมกับอาหารตามวัยจนกระทั่งอายุ 2 ปีหรือมากกว่านั้นผลสำรวจอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือนของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะมีการส่งเสริมให้โรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก และดำเนินงานตามหลักบันได 10 ขั้น สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ตาม
วัตถุประสงค์: เพื่อการช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งมารดาและทารกนั้นต้องมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรทางด้านสุขภาพและครอบครัว
ผลการศึกษา: บทความนี้ได้บูรณาการโดยใช้แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์และการเสริมพลังสุขภาพ และครอบครัว ซึ่งบทบาทของพยาบาลและครอบครัวในการส่งเสริมมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาได้บูรณาการโดยใช้แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์และการเสริมพลังอำนาจของกิ๊บสัน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การค้นหาสภาพการณ์จริงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม รวมถึงการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการสนับสนุนด้านอารมณ์ ด้านการประเมิน ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านทรัพยากร
สรุป: พยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการหาแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาให้สำเร็จในการช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งมารดาและทารกนั้นต้องมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพและครอบครัว
คำสำคัญ: มารดาวัยรุ่นหลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บทบาทพยาบาลและครอบครัว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Gartner LM, Morton J, Lawrence RA, Naylor AJ, O'Hare D, Schanler RJ, et al. Breastfeeding and the use of human milk. Pediatrics. 2005;115(2):496-506. doi: 10.1542/peds.2004-2491.

American College of Obstetricians and Gynecologist. Breastfeeding: Maternal and infant aspect.(2007). [Internet]. [Cited 2021 Feb 3]. Available from:URL:http:www.oumedicine.com/docs/adobgyn workfiles/acogclinreviewbfdg2007.pdf?sfvrsn=2.

World Health Organization (WHO), United Nations Children’s Fund (UNICEF). Baby-friendly hospital initiative revised updated and expanded for integrated care [Internet]. 2009 [cited 2021 18 Apr]. Available from:URL: http//www.unicef.org/ french/nutrition/files/BFHI_2009_s3.slides.pdf

สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์. ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 2560;11(1):27-32.

กลุ่มสถิติรายได้รายจ่าย สำนักสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น;2556.

Scott JA, Binns CW, Oddy WH, Graham KI. Predictors of breastfeeding duration: evidence from a cohort study. Pediatrics. 2006;117(4):e646-55. doi: 10.1542/peds.2005-1991.

ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, นันทา กาเลี่ยง, อนงค์ ภิบาล, รัตนา ใจสมคม, วนิสา หะยีเซะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ของมารดาในจังหวัดนราธิวาส. วารสารพยาบาลสาร 2557;41(5): 133-41.

El-Houfey AA, Saad K, Abbas AM, Mahmoud SR, Wadani M. Factors That Influence Exclusive Breastfeeding:A literature Review. IJND 2017;7(11):24-31.

House JS. Work stress and social support. Mass. : Addison-Wesley Pub. Co.;1981.

เบญจมาศ เกษตรพรม, กรรณิการ์ กันธะรักษา, นันทพร แสนศิริพันธ์. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาวัยรุ่น. พยาบาลสาร 2558;42(4):156-67.

ฐิติพร แสงพลอย, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, ปิยะนุช ชูโต. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรม การให้นมมารดาของมารดาคลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2559;43(3):13.-23.

World Health Organization. Continued breastfeeding for healthy growth and development of children. [Internet]. 2017. 2009 [cited 2021 3 Feb]. Available from:URL: https://www.who.int/elena/titles/bbc/continued_breastfeeding/en/.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs 1991;16(3):354-61. doi: 10.1111/j.1365-2648.1991.tb01660.x.