การรับประทานยา Norgesic® ก่อนดมยาสลบช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากยา succinylcholine หลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมง : การศึกษาแบบทดลองโดยการสุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้ succinylcholine คาดว่าเป็นผลจาก fasciculation ทำให้เกิดบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ Norgesic® มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ จึงน่าจะลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยา Norgesic® เปรียบเทียบกับยา placebo ต่ออุบัติการณ์ของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบใส่ท่อช่วยหายใจด้วยยา succinylcholine ผลการศึกษาหลักคืออุบัติการณ์ของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรก ผลการศึกษารองคือ ความรุนแรงของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดที่เวลา 1,6 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาสุ่มตัวอย่างมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบไปข้างหน้าปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ในผู้ป่วยได้รับการดมยาสลบโดยใส่ท่อช่วยหายใจด้วยยา succinylcholine ทั้งหมด 60 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้ยา Norgesic®[NOR] 30 คนและกลุ่มควบคุมได้ยาหลอก [PLA] 30 คนทานก่อนดมยาสลบ 2 ชั่วโมงบันทึกข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ป่วย อุบัติการณ์ และความรุนแรงของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดที่เวลา 1,6 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดความต้องการยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังผ่าตัด (paracetamol) และยาแก้ปวดแผลผ่าตัด (morphine) ผลข้างเคียงจากยา Norgesic® สถิติที่ใช้ student’s t-test และ chi-squared test
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงกลุ่มทดลอง [NOR] ร้อยละ 26.7 เทียบกับกลุ่มควบคุม [PLA] ร้อยละ 73.3 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ผลต่อความรุนแรงของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดพบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มทดลอง [NOR] ที่ชั่วโมงที่ 1 และ 6 (P=0.000 และ 0.006) ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องการรบกวนชีวิตประจำวัน ผลข้างเคียงจากยา และปริมาณยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่ได้รับในทั้งสองกลุ่มสรุป: รับประทานยา Norgesic® ก่อนดมยาสลบ 2 ชั่วโมงช่วยลดอุบัติการณ์การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากยา succinylcholine ใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
คำสำคัญ: Succinylcholine อาการปวดเมื่อยหลังผ่าตัด Norgesic ป้องกัน
Article Details
References
Schreiber JU, Lysakowski C, Fuchs-Buder T, Tramèr MR. Prevention of succinylcholine-induced fasciculation and myalgia: a meta-analysis of randomized trials Anesthesiology 2005 Oct;103(4):877-84. doi: 10.1097/00000542-200510000-00027.
Waters DJ, Mapleson WW. Suxamethonium pains: hypothesis and observation. Anaesthesia 1971;26(2):127-41. doi: 10.1111/j.1365-2044.1971.tb04753.x.
Wong SF, Chung F. Succinylcholine-associated postoperative myalgia. Anaesthesia 2000;55(2):144-52. doi: 10.1046/j.1365-2044.2000.055002144.x.
McLoughlin C, Elliott P, McCarthy G, Mirakhur RK. Muscle pains and biochemical changes following suxamethonium administration after six pretreatment regimens. Anaesthesia 1992;47(3):202-6. doi: 10.1111/j.1365-2044.1992.tb02118.x.
See S, Ginzburg R. Choosing a skeletal muscle relaxant. Am Fam Physician 2008;78(3):365-70. PMID: 18711953
Hunskaar S, Donnell D. Clinical and pharmacological review of the efficacy of orphenadrine and its combination with paracetamol in painful conditions. J Int Med Res 1991;19(2):71-87. doi: 10.1177/030006059101900201.
Witenko C, Moorman-Li R, Motycka C, Duane K, Hincapie-Castillo J, Leonard P, et al. Considerations for the appropriate use of skeletal muscle relaxants for the management of acute low back pain. P T 2014;39(6):427-35. PMID: 25050056
Høivik HO, Moe N. Effect of a combination of orphenadrine/paracetamol tablets ('Norgesic') on myalgia: a double-blind comparison with placebo in general practice. Curr Med Res Opin 1983;8(8):531-5. doi: 10.1185/03007998309109793.
McGuinness BW. A double-blind comparison in general practice of a combination tablet containing orphenadrine citrate and paracetamol ('Norgesic') with paracetamol alone. J Int Med Res 1983;11(1):42-5. doi: 10.1177/030006058301100109.
. Steyn L. Focus on: Orphenadrine citrate as a muscle relaxant. S Afr Fam Pract 2019;61(3):6-8. doi: 10.4102/safp.v61i3.4975