การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

กัลยรัตน์ สังข์มรรทร
ศศิธร กระจายกลาง
เพ็ญจันทร์ วันแสน

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นกลุ่มโรคปอด ที่พบบ่อยเกี่ยวข้องกับการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างถาวร และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในระดับต้นๆ อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติการพยาบาลที่มีความหลายหลากและไม่เป็นระบบส่งผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา
วิธีการวิจัย: ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน กันยายน พ.ศ.2563 ถึง เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 34 คน และผู้ป่วย 352 คน (ได้ข้อมูลจากเวชระเบียนและจากผู้ป่วยโดยตรง) ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมโรงพยาบาลสุรินทร์เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวัดคุณภาพ ได้แก่ รูปแบบการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินรูปแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบวัดความรู้ แบบตรวจสอบการปฏิบัติ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบบันทึกคุณภาพการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัย: 1. ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการทางการพยาบาลได้แก่ นโยบายการดูแลผู้ป่วย แนวปฏิบัติทางคลินิก (CPG, CNPG, Standing order) มีพยาบาลจัดการรายกรณี 2) ด้านการพยาบาลตามมาตรฐานการดูแล 7 Aspects of care ได้แก่ การประเมินผู้ป่วย การจัดการอาการรบกวน การดูแลความปลอดภัย การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การดูแลต่อเนื่องการสนับสนุนการดูแลตนเองและการสร้างความพึงพอใจ 3) ด้านการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้และการชี้แจงแนวทางปฏิบัติ2.ผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย พบว่า ผู้ปฏิบัติเห็นด้วยกับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยและปฏิบัติตามร้อยละ 99.8 คะแนนความรู้ของพยาบาลเพิ่มจาก 15.6 เป็น 18.5 (p<0.001) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เพิ่มจาก 15.5 เป็น 18.1 (p<0.001) พฤติกรรมการจัดการตนเอง (gif.latex?\bar{x}=3.3, SD=0.2) ดีกว่ากลุ่มควบคุม (gif.latex?\bar{x}2.8, SD=0.1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สมรรถภาพปอด (gif.latex?\bar{x}=64.3, SD=8.7) ดีกว่ากลุ่มควบคุม (gif.latex?\bar{x}=57.9, SD=9.8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.036) ไม่พบการกลับมาพ่นยาขยายหลอดลมที่ห้องฉุกเฉิน ไม่กลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังจำหน่าย 30 วัน ไม่พบมีการเสียชีวิต และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อบริการในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.6, SD=0.4)
สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการจัดการตนเองได้ดี
คำสำคัญ: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการดูแล การพัฒนา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

American Association of Cardiovascular and Pulmonary Rehabilitation. Guidelines for pulmonary rehabilitation programs. 3 rd.ed. Illinois : Human Kinetics; 2004.

Simon ST, Altfelder N, Alt-Epping B, Bausewein C, Weingärtner V, Voltz R, et al. [Characteristics of Patients with Breathlessness]. Pneumologie 2017;71(1):40-47. doi: 10.1055/s-0042-112837.

Lacasse Y, Brosseau L, Milne S, Martin S, Wong E, Guyatt GH, et al. Pulmonary rehabilitation for chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database Syst Rev 2002;(3):CD003793. doi: 10.1002/14651858.CD003793.

American Association of Cardiovascular and Pulmonary Rehabilitation [AACVPR]. Guidelines for pulmonary rehabilitation. 2nd ed. Champaign : Human Kinetics; 1998.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. “รายงานสถิติโรค ปีงบประมาณ 2551”. สถิติโรคกรมการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: สำนกนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

สุมาลี เกียรติบุญศรี. “ปอดอุดกั้นตายแซงที่ 3 หลังโลกสกัดบุหรี่ไร้ผล”. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. 2555 พ.ย. 5; X-CITE/การศึกษา/สาธารณสุข: (คอลัมน์ 4).

สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD). [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD). [อินเตอร์เน็ท]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://HDC-Dashboard (moph.go.th).

กองการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพ : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2544.

Kanfer FH., Gaelick-Buys, L. Self-management methods. In: Kanfer FH., Goldstein AP. , Eds. Helping people change: A textbook of methods1 . Washington, DC : Pergamon Press; 1991: 305-60.

จุฬาภรณ์ คำพานุตย์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการจัดการตนเองอาการหายใจลำบาก สมรรถภาพปอด และความวิตกกังวลในผู้สูงอายุที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.

เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดีลาศุขะ, ทศพร ผลศิริ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2555;39(4):124-47.

Sol BG, van der Graaf Y, Brouwer B, Hickox SM, Visseren FL. The effect of a self-management intervention to reduce vascular risk factors in patients with manifestations of vascular diseases. Eur J Cardiovasc Nurs 2010;9(2):132-9. doi: 10.1016/j.ejcnurse.2009.11.011

Cohen J. Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences. New York : Academic Press; 1977:384.

นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่างกรณีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก :URL:https://home.kku.ac.th/nikom/samplesize_nk_oneway_2561.pdf.

กรมวิชาการ. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว; 2545.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ปัทมาพร ชนะมาร. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจังหวัดมหาสารคาม. [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.

คณะทำงานพัฒนาแนวทางปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. แนวทางปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. การวิจัยและการพัฒนา (Research and Development). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2552;1(2):2-4.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. วงจรการควบคุมคุณภาพ. [อินเทอร์เนต์].2561. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/240-pdca-cycle-deming-cycle.

นวลตา โพธิ์สว่าง, สุดใจ ศรีสงค์, เพชราภรณ์ สุพร. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33(1):50-62.

เสาวลักษณ์ เกษมสุข, วีนารัตน์ กันจีน๊ะ, ดารณี ศิริบุตร. การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วันภายหลังการใช้ระบบการดูแลแบบ 7 7Aspects of care ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเนื่องอกมดลูกหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2562;11(1):85-91.

Hurley J, Gerkin RD, Fahy B, Robbins RA. Meta-analysis of self-management education for patients with chronic obstructive pulmonary disease. Southwest J Pulm Crit Care 2012;4:194–202.

ธิติภรณ์ ยอเสน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร 2555;39(3):52-65.

ลินนภัสร์ ธนะวงค์, พิกุล นันทชัยพันธ์, ประทุม สร้อยวงค์. ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร 2559;43(2):45-56.