ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมอง

Main Article Content

สุวิมล ขัตติยะ
แคทธริน แซ่ว่าง
วราภรณ์ จาวรัตนสกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การลดไข้มีความจำเป็นอย่างมากในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง เนื่องจากภาวะไข้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บสมองระยะที่สองแต่การเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อลดไข้ เป็นการรบกวนผู้ป่วยทางอ้อม อาจเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ส่งผลให้มีการหลั่งของสารสื่อประสาทมากขึ้นหรือเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการลดลงของอุณหภูมิร่างกายเปรียบเทียบระหว่างการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นกับการเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา ในผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง
รูปแบบศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิภาพ รูปแบบ randomized sequencecrossover design ที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองที่ผู้ป่วยจะได้รับการเปิดซองที่ปิดผนึกไว้ล่วงหน้าเพื่อเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นในการลดอุณหภูมิร่างกาย 20 นาที/ครั้ง และกลุ่มการที่ 2 กลุ่มเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาเช็ดตัว 20 นาที/ครั้ง ประเมินผลหลังการทดลองโดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย เปรียบเทียบกลุ่มด้วยสถิติ exact probability test และ t-test วิเคราะห์อุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงเปรียบเทียบระหว่างสองวิธี
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิแรกรับ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในนาทีที่ 30 ของกลุ่มนวัตกรรมเสื้อเย็นและกลุ่มเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาไม่แตกต่างกัน แต่ในนาทีที่ 60 มีแนวโน้มว่ากลุ่มที่ใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นอุณหภูมิลดลงมากกว่า และเมื่อจำแนกวิเคราะห์เป็น 2 กลุ่มย่อย คือในผู้ป่วยได้รับยาลดไข้ และไม่ได้รับยาลดไข้ พบว่าการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นได้ผลดีกว่าในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ คือสามารถลดอุณหภูมิได้ตั้งแต่นาทีที่ 30 ขึ้นไป โดยใช้ exact probability testp= 0.012
สรุป: จากการพัฒนานวัตกรรมเสื้อเย็นลดไข้ มีประโยชน์ และใช้ได้ผลดีในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ จึงควรพิจารณานำนวัตกรรมเสื้อเย็นมาใช้ในการลดไข้ในหอผู้ป่วย เพื่อลดการเช็ดตัวลดไข้ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ป่วยบ่อยครั้ง
คำสำคัญ: Hyperthermia, Brain Surgery, Brain Trauma, Temperature reducing jacket

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สมาน ตั้งอรุณศิลป์, วีระวัตน์ สุขสว่างเจริญ. แนวทางการรักษาการบาดเจ็บที่ศีรษะ (clinical practice guideline for head injury). กรุงเทพมหานคร: สถาบันประสาทวิทยา; 2551: 1-87.

อุษา วงษ์อนันต์. การลดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยสมองบาดเจ็บที่มีภาวะไข้. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2558;4(2):75-82.

Heidenreich T, Giuffre M, Doorley J. Temperature and temperature measurement after induced hypothermia. Nurs Res 1992;41(5):296-300. doi: 10.1097/00006199-199209000-00008

ประนอม หนูเพชร. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง. สงขลา : ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2546: 107-10.

ชัชรินทร์ อังศุภากร. การพยาบาลศัลยกรรมประสารทเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บัณฑิตการพิมพ์: 2532.

สมบัติ มุ่งทวีพงษา. การรักษาด้วยการลดอุณหภูมิในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติทางสมอง. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก:URL: http://www.bcn.ac.th/infomation/Files/Attachfile/%E0%B8% 9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0% B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2% E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%81%E0%B8% B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0% B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9% E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8% A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0% B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89% E0%B8%B4%E0%B8%99/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8% 9A%E0%B8%B1% E0%B8%95%E0%B8%B4.pdf.

Hickey JV. The neurological and neurological nursing. New York : Lippincott; 1997.

Jefferies S, Saxena M, Young P. Paracetamol in critical illness: a review. Crit Care Resusc 2012;14(1):74-80. PMID: 22404066

Morgenstern LB, Hemphill JC 3rd, Anderson C, Becker K, Broderick JP, Connolly ES Jr, et al. Guidelines for the management of spontaneous intracerebral hemorrhage: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2010;41(9):2108-29. doi: 10.1161/STR.0b013e3181ec611b.

พิรานันท์ เงินแก้ว. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะอุณหภูมิกายสูงในผู้ป่วย บาดเจ็บสมอง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. [ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

O'Grady NP, Barie PS, Bartlett JG, Bleck T, Carroll K, Kalil AC, Linden P, et al. Guidelines for evaluation of new fever in critically ill adult patients: 2008 update from the American College of Critical Care Medicine and the Infectious Diseases Society of America. Crit Care Med 2008;36(4):1330-49. doi: 10.1097/CCM.0b013e318169eda9.

Sund-Levander M, Grodzinsky E. Time for a change to assess and evaluate body temperature in clinical practice. Int J Nurs Pract 2009;15(4):241-9. doi: 10.1111/j.1440-172X.2009.01756.x.

Hay AD, Redmond NM, Costelloe C, Montgomery AA, Fletcher M, Hollinghurst S, et al. Paracetamol and ibuprofen for the treatment of fever in children: the PITCH randomised controlled trial. Health Technol Assess 2009;13(27):iii-iv, ix-x, 1-163. doi: 10.3310/hta13270.

สมบัติ มุ่งทวีพงษา. การรักษาด้วยการลด อุณหภูมิในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติทางสมอง. [อินเตอร์เน็ท]. 2558. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558].ค้นได้จาก:URL: http://www.bcn.ac.th/วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีกรุงเทพ.

เสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล, พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร. ผ้าห่มเจลลดไข้. [อินเตอร์เน็ท]. 2556. [สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2558]. ค้นได้จาก:URL:http://www.bcn.ac.th/.

วาสนา ธนเศรษฐ. ผ้าห่มเย็น. ใน: กำจัด รามกุลและคณะ, บรรณาธิการ. รวมผลงานวิชาการดีเด่นกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553: 319-29.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2550: 40-1.

Liu WG, Qiu WS, Zhang Y, Wang WM, Lu F, Yang XF. Effects of selective brain cooling in patients with severe traumatic brain injury: a preliminary study. J Int Med Res 2006;34(1):58-64. doi: 10.1177/147323000603400107.

นิรันดร์ นายกชน, ทิตยา พุฒิคามิน, อำนาจ กิจควรดี. ประสิทธิภาพของเครื่องมือให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอต่อการลดอุณหภูมิเทียบเคียงสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรง. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554;29(4):40-9.

ธนัฐ วานิยะพงศ.์ Management of Closed Head Injury and Brain Death. [อินเตอร์เน็ท] 2558. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558]. ค้นได้จาก:URL:http://www. med.cmu.ac.th/มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภันตรี บัวเหลืองและคณะ. Ice shirt เสื้อปรับอุณหภูมิในร่างกายผู้ป่วยภาวะสูญเสียการควบคุม. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42(6):26 – 27