การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ชลลดา สุขรัตน์
สุกัญญา ศรีสง่า
ดวงพร จินาพันธ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การนิเทศผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะมีวิธีการที่แตกต่างกันตามประสบการณ์ของผู้นิเทศส่งผลทำให้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลไม่บรรลุตามเป้าหมายและยังพบการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ ทำให้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น
วัตถุประสงค์: 1)พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2) เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการพยาบาลในพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะก่อนและหลังการพัฒนา ได้แก่ อัตราผู้ป่วยทรุดลงจากเดิม Glasgow coma scale ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนน อัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจอัตราการเกิดแผลกดทับอัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและอัตราท่อหลอดลมเลื่อนหลุด3)ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี5ขั้นตอนคือ 1) การเตรียมการและค้นหาปัญหาการนิเทศทางคลินิก2) การสร้างรูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ 3) การนำรูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนามาทดลองใช้ 4) ประเมินผล 5) นำรูปแบบที่ปรับปรุงไปใช้และติดตามผลลัพธ์ทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์จำนวน 44คนพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยจำนวน 23 คน และเปรียบเทียบผลการศึกษาก่อนการพัฒนาใช้ข้อมูลปี 2563 กับหลังการพัฒนาระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง 22 มิถุนายนถึง 31 กรกฎาคม 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-square
ผลการศึกษา: การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลประกอบด้วย 1)การนิเทศตามมาตรฐาน (Normative clinical supervision) 2) การนิเทศตามหลักสัมพันธภาพ (Restorative clinical supervision) โดยหัวหน้าหอผู้ป่วยร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ ดำเนินกิจกรรมการนิเทศทางคลินิกประกอบด้วย การให้คำปรึกษาพยาบาลรายบุคคล และการประชุมปรึกษาการพยาบาล 3) การนิเทศเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ (Formative clinical supervision) โดยหัวหน้าหอผู้ป่วยติดตามนิเทศการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยกิจกรรมนิเทศคือการสอนงาน (Coaching) พยาบาลรายกลุ่มและรายบุคคลในเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลพบว่า 1)อัตราผู้ป่วยทรุดลงจากเดิม (Glasgow coma scale ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนน) หลังการพัฒนาลดลงจากร้อยละ 8.1 เป็น 0 อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.04) 2) อัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจากร้อยละ 8.7เป็น 0 อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.04) 3) อัตราท่อหลอดลมเลื่อนหลุดจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2.3 (p = 0.84) 4) อัตราการเกิดแผลกดทับจากร้อยละ 3.1 เป็นร้อยละ2.3 (p= 0.64) 5) อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะก่อนการพัฒนาพบร้อยละ 1.4 หลังการพัฒนาไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ(p= 0.43) 6) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่พัฒนามีความพึงพอใจในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดโดยพบความพึงพอใจระดับมากร้อยละ 74.8รองลงมาคือระดับมากที่สุดร้อยละ 20.9
สรุป: รูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปลอดภัยจากอาการทรุดลง การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ท่อหลอดลมเลื่อนหลุด แผลกดทับและการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ทิพวรรณ วงษ์ใจ, จีราพรรณ อันบุรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35(3):51-68.

ปราณี นิพัทธกุศลกิจ, ภินวนันทน์ นิมิตพันธ์, ประณีต ส่งวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังจำหน่าย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558;35(1):135-52.

เผอิญ ณ พัทลุง. บทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริงและที่คาดหวังด้านการใช้กระบวนการพยาบาลด้านการบันทึกทางการพยาบาลและด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากรในโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(1 ):190-206.

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge; 2001: 25–46.

สุพัตรา สงฆรักษ์. ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกสำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

นิภา ภู่ปะวะโรทัย. Suandok Supervision Model ในงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์. [อินเตอร์เน็ท]. 2556. [สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL:https://w2.med.cmu.ac.th/nis/downloads/?p=771.

รัชนี อยู่ศิริ, บรรณาธิการ. การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์การพิมพ์; 2551.

รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา, รัชนี นามจันทรา. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562;30 (2):193-209.

ผ่องพรรณ ธนา, กนกรัตน์ แสงอำไพ, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(4):52-60.

Halpern H, McKimm J. Supervision. Br J Hosp Med (Lond) 2009;70(4):226-9. doi: 10.12968/hmed.2009.70.4.41628

พัชรริดา เคณาภูมิ. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ได้รับการผ่าตัดสมองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม 2563;4(8):35-47.

รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์. ทฤษฎีระบบ SystemsTheory. [อินเตอร์เน็ท]. 2557. [สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://poundtv5.blogspot.com/2014/10/systemtheory.html

วรรณพร พุทธภมูพิทักษ. ทฤษฏีระบบ. [อินเตอร์เน็ท]. 2554. [สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:URL:https://mylibrary4u2.files.wordpress.com/2017/07/000879.pdf.

มณีนุช สุทธสนธิ์, ขนิษฐา แก้วกัลยา, วาสนา นัยพัฒน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยอาการหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2517;10(2):58-70.

Dowling S. Implementing the supervisory process theory and practice. New Jersey: Prentice – Hall; 1992.

อรนุช มกราภิรมย์, อันธิกา คะระวานิช. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสาหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาลตราด. วารสารกองการพยาบาล 2563;47(1):139-52.

พูนทรัพย์ โสภารัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.