การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

สุภาวดี เหลืองขวัญ
บังอร ตุพิมาย
ศิริพร ชมงาม
ธารินี ลอยเด่น

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะตกเลือดหลังคลอดยังคงเป็นปัญหาการตายที่สำคัญของมารดาหลังคลอดจากการทบทวนปัญหาพบว่าการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและการส่งต่อข้อมูลความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ตลอดจนแนวปฏิบัติการพยาบาลยังไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการพยาบาลหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 2.1) เพื่อประเมินความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 2.2) เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของมารดาต่อบริการพยาบาลในระยะคลอด
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์สถานการณ์สาเหตุการตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์จากเวชระเบียนของ ผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดปี 2561 และนำมาเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดในการศึกษาครั้งนี้ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และนำแนวปฏิบัตินี้ให้พยาบาลจำนวน 20 คนทดลองใช้ และผู้คลอดที่คลอดทางช่องคลอดและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 360 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 180 ราย เป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2562 3) สรุปและประเมินผล
ผลการศึกษา: 1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 2) ผลลัพธ์หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 2.1) พยาบาลวิชาชีพระดับต่ำกว่า Proficient มีทักษะการประเมินความแข็งตัวของมดลูกได้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2) อัตรามารดาตกเลือดหลังคลอดลงจากร้อยละ 18.9 เหลือ 3.9 เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ไม่มีอุบัติการณ์ตัดมดลูกและเสียชีวิตจากภาวะตกเลือดหลังคลอด 3) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกอยู่ในระดับมากที่สุด 4) คะแนนความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลอยู่ระดับมาก
สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีประสิทธิภาพสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดได้
คำสำคัญ: ภาวะตกเลือดหลังคลอด แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การตายมารดาไทย (Maternal Mortality). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2557. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.

งานห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานข้อมูลตัวชี้วัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปี 2558-2561. บุรีรัมย์: งานห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์; 2561.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การดูแลและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว. [อินเตอร์เน็ท]. 2558. [สืบค้น 9 มกราคม 2562]. ค้นได้จาก:URL: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2017/04/OB_019.pdf.

ณัฐนนท์ ศิริมาศ, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางศ์พรรณ พาดกลาง, จีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32(2):37–44.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาดา วิภวกานต์, อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3):127-41.

Clinical Practice Obstetrics Committee. Prevention and management of postpartum haemorrhage. SOGC 2000;22(4):271-81. https://doi.org/10.1016/S0849-5831(16)31530-0

World Health Organization. Managing complications in pregnancy and childbirth. [Internet]. 2003. [Cited September 9, 2019]. Available from:URL: https://apps.who.int/bookorders/anglais/dartprt1

นววรรณ มณีจันทร์. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์ 2560;31(1):143-55.

ปทุมมา กังวานตระกูล, อ้อยอิ่น อินยาศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560; 33(2):121–32.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. [อินเตอร์เน็ท]. 2563. [สืบค้น 9 มกราคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://www.rtcog.or.th/home/wpContent/ uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-of-Postpartum-emorrhage.pdf.

National Health and Medical Research Council. A guide to the development, Implementation and evaluation of clinical practice guidelines. Australia: commonwealth; 1999.

Mansfield J. Improving practice and reducing significant postpartum haemorrhage through audit. BJM 2018;26(1):35-43. https://doi.org/10.12968/bjom.2018.26.1.35

นฤมล ทองบุญส่ง . การพัฒนางานการดูแลผู้รับบริการคลอดเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง พ.ศ. 2554-2557. ราชบุรี : โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง ; 2557.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2560;6(2);146–54.

สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ : แนวทางการดำาเนินงานในงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา 2550;30:1-15.

Parry Smith WR, Papadopoulou A, Thomas E, Tobias A, Price MJ, Meher S, et al. Uterotonic agents for first‐line treatment of postpartum haemorrhage: a network meta‐analysis. Cochrane Database Syst Rev 2020;11(11):CD012754. doi: 10.1002/14651858.CD012754

ปัทมา วงษ์กียู้, วงเดือน สุวรรณคีรี, ณิชกานต์ ทรงไทย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการปฏิบัติของพยาบาลและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(2):26-35.

ยุวดี วัฒนานนท์, วาสนา จิติมา, วชิรา วรรณสถิตย์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลก่อนฝึกภาคปฏิบัติในหน่วยห้องคลอดกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติพยาบาลผู้คลอดปกติในระยะคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์(Supplement) 2553;28(4):67-73.