ความชุกของผู้ป่วยไตเรื้อรังและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบำบัดทดแทนไตในคลินิกโรคไตโรงพยาบาลสุรินทร์ ในช่วงปี พ.ศ.2557-2563

Main Article Content

วรรณพัชร พิศวงศ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลสุรินทร์ จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาและแนวทางป้องกันชะลอไตเสื่อมได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะต่างๆ ในคลินิกโรคไตโรงพยาบาลสุรินทร์และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
วิธีการศึกษา: การศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกโรคไตโรงพยาบาลสุรินทร์ ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในคลินิกโรคไตโรงพยาบาลสุรินทร์ ช่วงปี พ.ศ.2557-2563 จำนวน 2,860 คน ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี โดยเกณฑ์คัดออกได้แก่ผู้ป่วยที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ไม่มีค่า serum creatinine หรือค่า eGFR และผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยเป็นรหัส Acute kidney injury หรือ acute renal failure
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงจำนวนใกล้เคียงกับเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 62 ปี โดยมีโรคร่วม ได้แก่ เบาหวาน ร้อยละ 41.4 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 67.3 เกาต์ ร้อยละ 11.4 โรคหัวใจร้อยละ 4.2 โรคเส้นเลือดสมองตีบร้อยละ 1 โรคไตอักเสบร้อยละ 1 และนิ่วที่ไตร้อยละ 1.1 ความชุกของไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 31 คน ระยะที่4 จำนวน 134 คน และระยะที่5 จำนวน 2,695 คน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยไตเรื้อรัง ได้แก่ เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเลือกล้างไตมากกว่าเพศชาย 1.1 เท่า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 0.89-1.41) อายุที่เพิ่มขึ้นทุก3เดือนมีผลต่อการตัดสินใจล้างไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 1.03-1.04) ค่าการทำงานของไต (eGFR) ทุกๆ 10 หน่วยที่เปลี่ยนแปลงมีผลต่อการตัดสินใจล้างไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(95%CI 1.05-1.14)
สรุป: เมื่อทราบถึงความชุกโรคไตเรื้อรังในพื้นที่ที่รับผิดชอบแล้วทำให้สามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วยเพื่อชะลอไตเสื่อมไม่ให้เข้าสู่ระยะที่ต้องรับการบำบัดทดแทนไต และวางแนวทางป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ได้ รวมไปถึงทราบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการล้างไตของผู้ป่วยโรคไต จะได้นำข้อมูลมาประกอบแนวทางในการให้ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อที่ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจในการรักษาได้เร็วขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจากความล่าช้าในการตัดสินใจล้างไตได้
คำสำคัญ: ภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะของไตวายเรื้อรัง การบำบัดทดแทนไต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Coresh J, Selvin E, Stevens LA, Manzi J, Kusek JW, et al. Prevalence of chronic kidney disease in the United States. JAMA 2007;298(17):2038-47. doi: 10.1001/jama.298.17.2038.

Domrongkitchaiporn S, Sritara P, Kitiyakara C, Stitchantrakul W, Krittaphol V, Lolekha P, et al. Risk factors for development of decreased kidney function in a southeast Asian population: a 12-year cohort study. J Am Soc Nephrol 2005;16(3):791-9. doi: 10.1681/ASN.2004030208.

Johnson RJ, Nakagawa T, Jalal D, Sánchez-Lozada LG, Kang DH, Ritz E. Uric acid and chronic kidney disease: which is chasing which? Nephrol Dial Transplant 2013;28(9):2221-8. doi: 10.1093/ndt/gft029.

Verhave JC, Fesler P, Ribstein J, du Cailar G, Mimran A. Estimation of renal function in subjects with normal serum creatinine levels: influence of age and body mass index. Am J Kidney Dis 2005;46(2):233-41. doi: 10.1053/j.ajkd.2005.05.011.

Shen Y, Cai R, Sun J, Dong X, Huang R, Tian S, et al. Diabetes mellitus as a risk factor for incident chronic kidney disease and end-stage renal disease in women compared with men: a systematic review and meta-analysis. Endocrine 2017;55(1):66-76. doi: 10.1007/s12020-016-1014-6.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. Thailand Renal Replacement Therapy Registry Report 2012 [อินเตอร์เน็ท] 2555 [ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2558]. ค้นได้จาก:URL: http://www.nephrothai.org/trt/ trt.asp?type=TRT&news_id=418

Chittinandana A, Chailimpamontree W, Chaloeiphap P. Prevalence of chronic kidney disease in Thai adult population. J Med Assoc Thai 2006;89 Suppl 2:S112-20.

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25(5):1567-75. doi: 10.1093/ndt/gfp669.

Chandna SM, Da Silva-Gane M, Marshall C, Warwicker P, Greenwood RN, Farrington K. Survival of elderly patients with stage 5 CKD: comparison of conservative management and renal replacement therapy. Nephrol Dial Transplant 2011;26(5):1608-14. doi: 10.1093/ndt/gfq630.

Moist LM, Al-Jaishi AA. Preparation of the Dialysis Access in Stages 4 and 5 CKD. Adv Chronic Kidney Dis 2016;23(4):270-5. doi: 10.1053/j.ackd.2016.04.001.

Chanouzas D, Ng KP, Fallouh B, Baharani J. What influences patient choice of treatment modality at the pre-dialysis stage?. Nephrol Dial Transplant 2012;27(4):1542-7. doi: 10.1093/ndt/gfr452.

Chiang PC, Hou JJ, Jong IC, Hung PH, Hsiao CY, Ma TL et al. Factors Associated with the Choice of Peritoneal Dialysis in Patients with End-Stage Renal Disease. Biomed Res Int 2016;2016:5314719. doi: 10.1155/2016/5314719.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558[อินเตอร์เน็ท]. 2558. [ค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2558]. ค้นได้จาก:URL:http://www.nephrothai.org/knowledge/news. asp?type=KNOWLEDGE&news_id=441.

Levey AS, Stevens LA, Schmid CH, Zhang YL, Castro AF 3rd, Feldman HI, et al. A new equation to estimate glomerular filtration rate. Ann Intern Med 2009;150(9):604-12. doi: 10.7326/0003-4819-150-9-200905050-00006.

Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD Work Group. KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease. Kidney Int Suppl 2013;3(1) Suppl: 1-150. doi:10.1038/kisup.2012.73