การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

รัตนาภรณ์ ปาลีนิเวศ
ธนิษฐา สุทธิ
รัชนี ผิวผ่อง
จารุวรรณ เยียรพันธุ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator Associated Pneumonia : VAP)เป็นปัญหาอันดับต้นของการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจากการศึกษาก่อนการพัฒนาพบว่ายังขาดความตระหนักในการปฏิบัติตามแนวทาง VAP Bundle การพัฒนาศักยภาพพยาบาลยังไม่ครอบคลุมและยังไม่มีการวางแผนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงต่ำกว่าเกณฑ์แต่ยังไม่คงที่
วิธีการศึกษา: การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคมพ.ศ.2562ถึงเดือนพฤษภาคม 2565ที่หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่1) กลุ่มผู้ป่วยเพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบเดิมและกลุ่มทดลองคือผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่จำนวน 40 คน ต่อกลุ่มและ 2) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบจำนวน 47คนมีขั้นตอนดำเนินการ 3 ระยะคือระยะที่1ระยะวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบและนำลงสู่การปฏิบัติระยะที่3ขั้นการสรุปรูปแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1)เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยได้แก่ 1.1) รูปแบบการพยาบาล 1.2) แบบประเมินความพร้อมในการหย่าและถอดเครื่องช่วยหายใจ 1.3) แบบประเมินความเสี่ยงทางโภชนาการ1.4) แบบบันทึก VAP daily gold sheet 2) เครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ 2.2) แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและ 2.3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สถิติฟิชเชอร์และสถิติ independent t-test
ผลการศึกษา: เปรียบเทียบผลลัพธ์ระยะก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาลพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.35,p=0.29) มีจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.5,p=0.03)มีอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยลดลงและความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเฉลี่ย 4.4 (S.D.=0.59)
สรุปผล: รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีจำนวนวันนอนลดลง และมีอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Cagle SD Jr, Hutcherson BL, Wiley AT. Health Care-Associated Infections: Best Practices for Prevention. Am Fam Physician 2022;105(3):262-70.

รองพงษ์ โพลังละ, โอภาส พุทธเจริญ, กำพล สุวรรณพิมลกุล, กมลวรรณ จุติวรกุล, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. Clinical approach and management in respiratory tract infection. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2555.

Ranjan N, Chaudhary U, Chaudhry D, Ranjan KP. Ventilator-associated pneumonia in a tertiary care intensive care unit: Analysis of incidence, risk factors and mortality. Indian J Crit Care Med 2014;18(4):200-4. doi: 10.4103/0972-5229.130570.

ภาณุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย, ตวงรัตน์ โพธะ, อาทร ริ้วไพบูลย์, สุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6(3):352-360.

Ansari E, Klompas M. What is ventilator-associated pneumonia? How do I diagnose it? How do I treat it? In: Deutschman CS, Neligan PJ, eds. Evidence-Based Practice of Critical Care. 3rd. ed. NewYork : Elsevier ; 2020 : 325-31.

Centers for Disease Control and Prevention. Guideline for preventing health-care-associated pneumonia. [Internet]. 2003 [cited 2022 January 3]. Available from: http://www.cdc.gov/hicpac/pdf/ guidelines/HApneu 2003 guidelines.pdf

ศรีสุภา เรืองแข, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การปฏิบัติและอุปสรรคในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต. พยาบาลสาร 2564;48(2):84-94.

Klompas M, Branson R, Eichenwald EC, Greene LR, Howell MD, Lee G, et al. Strategies to prevent ventilator-associated pneumonia in acute care hospitals: 2014 update. Infect Control Hosp Epidemiol 2014;35(8):915-36. doi: 10.1086/677144.

เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(1):25-42.

อัลจนา ไชยวงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต, อุษณีย์ นํากุ, สุรสิทธิ์ จีสันติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2557;10(3):183-93.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558;42(ฉบับพิเศษ):95-104.

แผนกป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. สถิติตัวชี้วัดคุณภาพด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. บุรีรัมย์ : แผนกป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2565.

Komindrg S, Tangsermwong T, Janepanish P. Simplified malnutrition tool for Thai patients. Asia Pac J Clin Nutr 2013;22(4):516-21. doi: 10.6133/apjcn.2013.22.4.06.

นิรมล อู่เจริญ, กลัยาณี นาคฤทธิ์. ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระนอง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2564;4(1):15-27.

อภิวรรณ อินทรีย์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการให้สารอาหารในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(1):118-37.

ชลลดา สุขรัตน์, สุกัญญา ศรีสง่า, และดวงพร จินาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วย บาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(2):449-64.

Kang, F., & Wang, X. (2017). Efficacy of bundle care under the supervision of professionals in preventing ventilator-associated pneumonia. Chinese Journal of Infection Control, 134-137.

ปริศนา วะสี, ฉวีวรรณ ธงชัย, พิชัย พงศ์มั่นจิตร, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน, สุวิมล สุขเกษม. (2549). ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่มีพื้นฐานบนความรู้เชิงประจักษ์ในผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์. วารสารสภาการพยาบาล 2549;21(3):75-86.