ระยะปลายสุดของเบรดเพื่อใช้ในการทำนายการล้มเหลวของการผ่าตัดด้วยวัสดุที่ใช้ดามโลหะชนิดใส่ในโพรงกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหักข้อสะโพก

Main Article Content

ปริศักดิ์ ภู่เงิน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ซึ่งกระดูกหักข้อสะโพกแบบที่ไม่มั่นคง (unstable) สามารถพบเจอได้บ่อยและเป็นสิ่งที่ท้าทายศัลยแพทย์กระดูกอย่างยิ่ง และในปัจจุบันการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมคือการผ่าตัดด้วยวิธีดามโลหะชนิดใส่ในโพรงกระดูก Proximal femoral nail antirotation (PFNA) แต่การผ่าตัดชนิดนี้อาจพบกับความล้มเหลวในการรักษาได้ โดยพบมากที่สุดคือ ปลายสุดของเบรดทะลุออกจากนอกกระดูก (cut out) ซึ่งในปัจจุบันระยะปลายสุดของเบรดที่เหมาะสมที่รักษาด้วย PFNA ยังคงไม่ทราบ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะปลายสุดของเบรด tip-apex distance (TAD) ที่เหมาะสม ในการผ่าตัดด้วย PFNA โดยเปรียบเทียบว่าระยะที่เหมาะสมที่สุดของTAD อยู่ในกลุ่มใด โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม TAD <20 mm, TAD 20-30 mm และ TAD >30 mm โดยดูจากการที่ screw cut out และเปรียบเทียบเชิงสถิติ
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบ retrospective cohort study โดยศึกษาจากฐานข้อมูลภาพถ่ายเอกซเรย์อิเล็กทรอนิกส์ของ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยการใช้ข้อมูลของผู้ป่วยทุกรายที่มีกระดูกข้อสะโพกหักบริเวณ peritrochanteric region ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ประเมินภาพเอกซเรย์หลังการผ่าตัดในวันที่ผ่าตัดหรือหลังจากผ่าตัด และในช่วง 1 และ 3 เดือน โดยวัดค่า TAD และติดตามว่ากลุ่มไหนมีการทะลุของเบรด (cut out) มากที่สุด
ผลการศึกษา: ผลการศึกษามีทั้งหมด 240 ราย โดยทั้งหมดได้รับการผ่าตัดโดยการใช้อุปกรณ์ PFNA และมีผู้ป่วยที่มีการติดตาม ผลการรักษาและมีภาพเอกซเรย์ที่สามารถวัด ค่าต่างๆ ได้ทั้งหมดจำนวน 162 ราย โดยแบ่งเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และเมื่อแบ่งตาม AO classification ส่วนใหญ่ จัดเป็น 31A2.2 จำนวน 27 ราย ผลการศึกษาค่า TAD เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ TAD<20 mm , TAD 20-30 mm และ TAD>30 mm โดยพบว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม 20-30 mm มีจำนวนทั้งสิ้น 98 คน และจากผลการศึกษาพบว่ามีการ cut out รวมทุกกลุ่มจำนวน 7 รายจากทั้งสิ้น 162 ราย และพบว่า TAD <20 mm พบมีการทะลุมากที่สุดถึง 6 รายด้วยกัน และพบว่าในกลุ่มของผู้ป่วยที่ค่าTAD 20-30 mm ซึ่งเป็นกลุ่มส่วนใหญ่ของประชากรที่ศึกษา ไม่พบว่ามีการ cut out เลยแม้แต่คนเดียว
สรุป: จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าควรหลีกเลี่ยง TAD ที่มีค่าน้อยกว่า 20 mm ซึ่งในกลุ่มนี้พบว่ามีการทะลุของเบรดเข้าไปด้านในมากที่สุด (medial perforation) และควรหลีกเลี่ยงค่า TAD ที่มากกว่า 30 mm ซึ่ง TAD ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อป้องกันการ cut out คือ 20-30 mm

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2564. [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2564 (dop.go.th).

Mittal R, Banerjee S. Proximal femoral fractures: Principles of management and review of literature. J Clin Orthop Trauma 2012;3(1):15-23. doi: 10.1016/j.jcot.2012.04.001.

Bojan AJ, Beimel C, Speitling A, Taglang G, Ekholm C, Jönsson A . 3066 consecutive Gamma Nails. 12 years experience at a single centre. BMC Musculoskelet Disord 2010;11:133. doi: 10.1186/1471-2474-11-133.

Lang NW, Breuer R, Beiglboeck H, Munteanu A, Hajdu S, Windhager R, et al. Migration of the Lag Screw after Intramedullary Treatment of AO/OTA 31.A2.1-3 Pertrochanteric Fractures Does Not Result in Higher Incidence of Cut-Outs, Regardless of Which Implant Was Used: A Comparison of Gamma Nail with and without U-Blade (RC) Lag Screw and Proximal Femur Nail Antirotation (PFNA). J Clin Med 2019;8(5):615. doi: 10.3390/jcm8050615.

Hesse B, Gächter A. Complications following the treatment of trochanteric fractures with the gamma nail. Arch Orthop Trauma Surg 2004;124(10):692-8. doi: 10.1007/s00402-004-0744-8.

Baumgaertner MR, Curtin SL, Lindskog DM, Keggi JM. The value of the tip-apex distance in predicting failure of fixation of peritrochanteric fractures of the hip. J Bone Joint Surg Am 1995;77(7):1058-64. doi: 10.2106/00004623-199507000-00012.

Lobo-Escolar A, Joven E, Iglesias D, Herrera A. Predictive factors for cutting-out in femoral intramedullary nailing. Injury 2010;41(12):1312-6. doi: 10.1016/j.injury.2010.08.009.

Nikoloski AN, Osbrough AL, Yates PJ. Should the tip-apex distance (TAD) rule be modified for the proximal femoral nail antirotation (PFNA)? A retrospective study. J Orthop Surg Res 2013;8:35. doi: 10.1186/1749-799X-8-35.

ปิยะ โตสุโขวงศ์. วิธีการวัดตำแหน่งของการใส่โลหะชนิดใส่ในโพรงกระดูก Proximal femoral nail antirotation(PFNA)ในการทำนายการเกิด lag screw migration ในผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีดามโลหะชนิดใส่ในโพรงกระดูก PFNA. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2564;12(1):25-42.

Brunner A, Jöckel JA, Babst R. The PFNA proximal femur nail in treatment of unstable proximal femur fractures--3 cases of postoperative perforation of the helical blade into the hip joint. J Orthop Trauma 2008;22(10):731-6. doi: 10.1097/BOT.0b013e3181893b1b.

Penzkofer J, Mendel T, Bauer C, Brehme K. [Treatment results of pertrochanteric and subtrochanteric femoral fractures: a retrospective comparison of PFN and PFNA]. [Article in German]. Unfallchirurg 2009;112(8):699-705. doi: 10.1007/s00113-009-1642-x.

Zhou JQ, Chang SM.Failure of PFNA: helical blade perforation and tip-apex distance. Injury 2012;43(7):1227-8. doi: 10.1016/j.injury.2011.10.024.

DePuy Synthes Trauma. 2017: Surgical Technique PFNA. With Augmentation Option. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:www.depuysynthes.com/ifu.

Born CT, Karich B, Bauer C, von Oldenburg G, Augat P. Hip screw migration testing: first results for hip screws and helical blades utilizing a new oscillating test method. J Orthop Res 2011;29(5):760-6. doi: 10.1002/jor.21236.