การประเมินภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างในผู้ป่วยเด็ก กลุ่มอายุ 6-12 ปีที่ได้รับการรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียว

Main Article Content

ธิดา รัตนวิไลศักดิ์
พรพุทธิ ภัทรวุฒิพร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความพิการแต่กำเนิดบริเวณใบหน้าและขากรรไกรที่พบได้บ่อยสามารถรักษาได้แต่มีความซับซ้อนและระยะเวลาการดูแลรักษายาวนานตั้งแต่แรกคลอดไปถึงวัยรุ่น ต้องมีบุคลากรการแพทย์หลายสาขาทำงานร่วมกัน ภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง มีความสำคัญในการวางแผน วิเคราะห์และการประเมินผลของการรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างเปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยากะโหลกศีรษะและช่องว่างหลังโพรงจมูกเด็กที่ได้รับการรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวและกลุ่มควบคุม อายุ 6-12 ปี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลจากเด็กอายุ 6-12 ปี จำนวน 75 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือเด็กที่มีภาวะเพดานโหว่ จำนวน 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 52 คน ไม่มีภาวะเพดานโหว่ วัดค่าภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง วิเคราะห์ค่าสถิติของตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้ สถิติพรรณนา ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยากะโหลกศีรษะของเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t- test
ผลการศึกษา: เปรียบเทียบลักษณะทางกายวิภาคใบหน้าและขากรรไกร พบว่าค่า SNA ค่ามุม U1 to SN (องศา) มุม U1 to L1 (องศา) ค่า Upper lip-E plane (มม.) มุม H angle (องศา) และลักษณะทางกายวิภาคของเพดานอ่อนและผนังคอหอยได้แก่ ความยาวของเพดานอ่อน ความลึกของช่องว่างคอหอย และมุมของเพดาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป: เด็กกลุ่มที่ได้รับการรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวพบการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบน ตำแหน่งริมฝีปากบน ความยาวของเพดานอ่อน ความลึกของช่องว่างคอหอย และมุมของเพดานที่น้อยกว่ากลุ่มควบคุม และยังพบการเอียงตัวของฟันหน้าบนที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Mossey P, Castillia E, editors. Global registry and database on craniofacial anomalies : report of a WHO Registry Meeting on Craniofacial Anomalies. Geneva: World Health Organization; 2003: 85-9.

Mossey PA, Shaw WC, Munger RG, Murray JC, Murthy J, Little J. Global oral health inequalities: challenges in the prevention and management of orofacial clefts and potential solutions. Adv Dent Res 2011;23(2):247-58. doi: 10.1177/0022034511402083.

Chowchuen B, Thanaviratananich S, Chichareon V, Kamolnate A, Uewichitrapochana C, Godfrey K. A Multisite Study of Oral Clefts and Associated Abnormalities in Thailand: The Epidemiologic Data. Plast Reconstr Surg Glob Open 2016;3(12):e583. doi: 10.1097/GOX.0000000000000570.

ศันสนีย์ อนันต์สกุลวัฒน์, นิตา วิวัฒนทีปะ, บรรณาธิการ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปากแหว่งเพดานโหว่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2555.

Pai BCJ, Hung YT, Wang RSH, Lo LJ. Outcome of Patients with Complete Unilateral Cleft Lip and Palate: 20-Year Follow-Up of a Treatment Protocol. Plast Reconstr Surg 2019;143(2):359e-367e. doi: 10.1097/PRS.0000000000005216.

Bearn DR, Sandy JR, Shaw WC. Cephalometric soft tissue profile in unilateral cleft lip and palate patients. Eur J Orthod 2002;24(3):277-84. doi: 10.1093/ejo/24.3.277.

Liu R, Lu D, Wamalwa P, Li C, Hu H, Zou S. Craniofacial morphology characteristics of operated unilateral complete cleft lip and palate patients in mixed dentition. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 2011;112(6):e16-25. doi: 10.1016/j.tripleo.2011.04.011.

ROMANINI RCS, VEDOVELLO S, RAITZ R, SILVA MB, JUNQUEIRA JL, OLIVEIRA LB. Craniofacial features of operated unilateral complete cleft lip and palate children: a case control study. Rev Gaúch Odontol 2014;62 (4):383-8. https://doi.org/10.1590/1981-8637201400040000052902

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175-91. doi: 10.3758/bf03193146.

เบญจมาศ พระธานี. ภาษาและการพูดของเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่. ศรีนครินทร์เวชสาร 2544;16(1):8-26.

ลัดดาวัลย์ สุนันท์ลิกานนท์, วรนุช เชษฐภักดีจิต. แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่โดยทีมสหวิชาชีพ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2017;2(2):15-27.

Johnson GP. Craniofacial analysis of patients with complete clefts of the lip and palate. Cleft Palate J 1980;17(1):17-23.

Gaukroger MJ, Noar JH, Sanders R, Semb G. A cephalometric inter-centre comparison of growth in children with cleft lip and palate. J Orthod 2002;29(2):113-7. doi: 10.1093/ortho/29.2.113.

Treutlein C, Berten JL, Swennen G, Brachvogel P. Comparative cephalometric study of 10-year-old patients with complete unilateral cleft lip and palate. A cross-sectional study of the Hanover concept. J Orofac Orthop 2003;64(1):27-39. doi: 10.1007/s00056-003-0133-x.

da Silva Filho OG, Normando AD, Capelozza Filho L. Mandibular growth in patients with cleft lip and/or cleft palate--the influence of cleft type. Am J Orthod Dentofacial Orthop 1993;104(3):269-75. doi: 10.1016/s0889-5406(05)81729-9.

Khanna R, Tikku T, Verma SL, Verma G, Dwivedi S. Comparison of maxillofacial growth characteristics in patients with and without cleft lip and palate. J Cleft Lip Palate Craniofac Anomal 2020;7(1):30-42. DOI: 10.4103/jclpca.jclpca_22_19.

Kudo K, Takagi R, Kodama Y, Terao E, Asahito T, Saito I. Evaluation of speech and morphological changes after maxillary advancement for patients with velopharyngeal insufficiency due to repaired cleft palate using a nasometer and lateral cephalogram. J Oral Maxillofac Surg Med Pathol 2014;26(1):22-7. DOI:10.1016/J.AJOMS.2013.07.006

Kummer AW. Speech therapy for errors secondary to cleft palate and velopharyngeal dysfunction. Semin Speech Lang 2011;32(2):191-8. doi: 10.1055/s-0031-1277721.