ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์ น้อยกว่า 32 สัปดาห์ หรือ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

พัชชาพร ศิริมงคลขจร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ทารกแรกเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อย มักมีปัญหาหายใจลำบากต้องได้รับการช่วยหายใจด้วยออกซิเจนแรงดันบวกหรือใส่ท่อช่วยหายใจ ขณะนอนโรงพยาบาลความเจ็บป่วยแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดติดเชื้อ โรคหัวใจ ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนอยู่นานนำไปสู่การเกิดโรคปอดเรื้อรัง (Bronchopulmonary dysplasia, BPD) ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ซึ่งโรคปอดเรื้อรังส่งผลทำให้ทารกเจริญเติบโตช้าและมีพัฒนาการล่าช้าอีกด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรัง (BPD) ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: Retrospective chart review
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนแฟ้มประวัติผู้ป่วยใน ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม ที่ได้รับและไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคปอดเรื้อรัง ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2564 จากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลของทั้ง 2 กลุ่ม และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรัง
ผลการศึกษา: ในปี พ.ศ.2558-2564 รวบรวมข้อมูลทารกที่เข้าเกณฑ์วิจัยทั้งหมด 246 คน แบ่งเป็นกลุ่ม BPD 123 คน และ no BPD 123 คน พบว่าข้อมูลพื้นฐานของมารดาทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลพื้นฐานของทารกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คืออายุครรภ์ระหว่างกลุ่ม BPD และ no BPD 28 (27 , 30) และ 31 (30 , 31) สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด 1,104.3 (± 248.0) และ 1,370.9 (± 246.6) กรัม p- value <0.001 ลักษณะทางคลินิกในทารกโรคปอดเรื้อรัง มีระดับความรุนแรง grade I, II, III จำนวน 81 (65.9%), 32 (26.0%) และ 10 (8.1%) คน ตามลำดับ และพบว่าทารกที่มีภาวะ RDS, HsPDA, LOS, Pneumonia, Anemia พบในกลุ่ม BPD มากกว่า no BPD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, p- value <0.001 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรัง พบว่า ภาวะซีดได้รับเลือด จำนวนเลือดที่ได้รับเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด BPD adjust OR (95%CI) เท่ากับ 1.37 (1.05 , 1.78), p = 0.021 ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาล (hospital acquired pneumonia, HAP) เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิด BPD มากกว่าถึง 4.67 เท่า adjust OR (95%CI) เท่ากับ 4.67 (1.60 , 13.61), p = 0.005 และระยะเวลาที่ใส่ท่อช่วยหายใจ adjust OR (95%CI) เท่ากับ 1.16 (1.05 , 1.27), p = 0.003 ด้วยเช่นกัน
สรุป: โรคปอดเรื้อรังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยมาก การช่วยหายใจที่เหมาะสม ลดระยะเวลาใส่ท่อช่วยหายใจ ป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล และการให้เลือดอย่างสมเหตุผลจะช่วยลดอุบัติการณ์เกิดโรคปอดเรื้อรังลงได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Higgins RD, Jobe AH, Koso-Thomas M, Bancalari E, Viscardi RM, Hartert TV, et al. Bronchopulmonary Dysplasia: Executive Summary of a Workshop. J Pediatr 2018;197:300-8. doi: 10.1016/j.jpeds.2018.01.043.

Gilstrap LC, Christensen R, Clewell WH, D'Alton ME, Davidson EC Jr, Marilyn B, et al. Effect of corticosteroids for fetal maturation on perinatal outcomes. NIH Consensus Development Panel on the Effect of Corticosteroids for Fetal Maturation on Perinatal Outcomes. JAMA 1995;273(5):413-8. doi: 10.1001/jama.1995.03520290065031.

Jiangsu Multicenter Study Collaborative Group for Breastmilk Feeding in Neonatal Intensive Care Units. [Clinical characteristics and risk factors of very low birth weight and extremely low birth weight infants with bronchopulmonary dysplasia: multicenter retrospective analysis] [Article in Chinese]. Zhonghua Er Ke Za Zhi 2019;57(1):33-9. doi: 10.3760/cma.j.issn.0578-1310.2019.01.009.

Cokyaman T, Kavuncuoglu S. Bronchopulmonary dysplasia frequency and risk factors in very low birth weight infants: A 3-year retrospective study. North Clin Istanb 2019;7(2):124-30. doi: 10.14744/nci.2019.23427.

Geetha O, Rajadurai VS, Anand AJ, Dela Puerta R, Huey Quek B, Khoo PC, et al. New BPD-prevalence and risk factors for bronchopulmonary dysplasia/mortality in extremely low gestational age infants ≤28 weeks. J Perinatol 2021;41(8):1943-50. doi: 10.1038/s41372-021-01095-6.

Baud O, Maury L, Lebail F, Ramful D, El Moussawi F, Nicaise C, et al. Effect of early low-dose hydrocortisone on survival without bronchopulmonary dysplasia in extremely preterm infants (PREMILOC): a double-blind, placebo-controlled, multicentre, randomised trial. Lancet 2016;387(10030):1827-36. doi: 10.1016/S0140-6736(16)00202-6.

Kardum D, Filipović-Grčić B, Müller A, Dessardo S. Incidence and risk factors for moderate to severe bronchopulmonary dysplasia in very low birth weight infants in two Croatian perinatal regions- a retrospective cohort study. JPNIM 2019;8(1):e080129. doi: 10.7363/080129