ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานในโรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกและประเทศไทย โดยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เนื่องจากผู้ป่วยทั้ง 2 โรคนี้มีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบตันสูงกว่าประชากรทั่วไปโดยมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันได้ตามค่าเป้าหมาย หรือมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการควบคุมปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรค ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมซึ่งมีการเข้าฐานการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะสามารถป้องกัน หรือลดความเสี่ยงโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด และเพื่อลดคะแนนโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อโรคโรคหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง Quasi-experimental research แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 233 ราย ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2566 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group counseling) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด 3อ.2ส.1ย. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ Wilcoxon matched pairs signed ranks test
ผลการศึกษา: ผู้ร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 68.2 อายุเฉลี่ย 64.1(± 3.4) ปี หลังเข้าร่วมโปรแกรมค่าเฉลี่ยของ Body mass index, Triglyceride, Body weight และ Systolic blood pressure ของกลุ่มตัวอย่างมีค่าต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย BMI (kg/m2) ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเท่ากับ 28.8 และ 28.4 ตามลำดับ (p-value 0.031) ค่าเฉลี่ยของ Triglyceride(mg/dl) ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเท่ากับ 187.2 และ 168.9 ตามลำดับ (p-value 0.007) ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก Body weight (kg) ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเท่ากับ 70.1 และ 69.6 ตามลำดับ (p-value 0.026) และค่าเฉลี่ยของ SBP (mmHg) ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเท่ากับ 143.5 และ 140.1 ตามลำดับ (p-value 0.001) กลุ่มตัวอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงระดับความเสี่ยง Thai CV risk score หลังเข้าร่วมโปรแกรมลดลงมาอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ต่ำกว่าได้ ร้อยละ 17.1
สรุป: โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดคะแนนโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Thai CV risk score ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ และแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs : วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. นนทบุรี : สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ ; 2557.
มูลนิธิเพื่อพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก ; 2557.
กุสุมา สุวรรณบูรณ์. ประสิทธิผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด เครือข่ายสุขภาพจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2559;30(3):159-68.
นิตยา พันธุเวทย์, หทัยชนก ไชยวรรณ. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปีพ.ศ. 2558. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค 2558 : 1-6.
World Health Organization (WHO). Global status report on noncommunicable diseases 2010. Geneva: World Health Organization; 2011.
Bakris GL, Sarafidis PA, Weir MR, Dahlöf B, Pitt B, Jamerson K, et al. Renal outcomes with different fixed-dose combination therapies in patients with hypertension at high risk for cardiovascular events (ACCOMPLISH):
a prespecified secondary analysis of a randomized controlled trial. Lancet 2010;375(9721):1173-81. doi: 10.1016/S0140-6736(09)62100-0.
Ward AM, Takahashi O, Stevens R, Heneghan C. Home measurement of blood pressure and cardiovascular disease: systematic review and meta-analysis of prospective studies.
J Hypertens 2012;30(3):449-56. doi: 10.1097/HJH.0b013e32834e4aed.
รีพร คงประเสริฐ, สุมนีวัชรสินธุ์, ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, บรรณาธิการ. การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2558.
นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว, พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน, ศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล. ผลของโปรแกรมเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย. และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคเหนือ 2561;24(2):83-95.
ศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. Thai CV risk score. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ อ้างเมื่อ 1 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2553.