การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยแยกระหว่างไส้ติ่งอักเสบเป็นหนองกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

Main Article Content

ปนัดดา จิตวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะไส้ติ่งอักเสบเป็นหนองและมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวามีการรักษาที่แตกต่างกัน แต่มักมาด้วยอาการที่คล้ายคลึงกันทำให้แยกออกจากกันได้ยาก ในปัจจุบันการตรวจด้วยรังสีคอมพิวเตอร์ช่องท้องมีบทบาทสำคัญสามารถใช้ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองออกจากกันได้ เพื่อช่วยในการวางแผนรักษาที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ช่วยแยกระหว่างไส้ติ่งอักเสบเป็นหนองกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrospective study เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากอาการทางคลินิกว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นหนองที่ได้รับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นหนอง กับกลุ่มที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา เพื่อเปรียบเทียบลักษณะที่พบทางรังสีวิทยา ดังนี้ หนองในช่องท้อง ต่อมน้ำเหลืองโต การพบไส้ติ่งที่ผิดปกติ ขนาดของไส้ติ่ง ก้อนหินปูนในไส้ติ่ง ผนังลำไส้ใหญ่ซีคัมหนาตัว อากาศที่ผิดปกติในช่องท้องการอักเสบของไขมัน ก้อนในลำไส้ใหญ่ ก้อนในเยื่อบุช่องท้อง มะเร็งกระจายไปที่ตับ และ น้ำในช่องท้อง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่เป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นหนอง 86 คน กับกลุ่มที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา 34 คน พบว่า ลักษณะทางรังสีวิทยาที่มีโอกาสเป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นหนอง ได้แก่ พบหนองในช่องท้อง ขนาดของหนองในช่องท้องที่ใหญ่ การพบไส้ติ่งที่ผิดปกติและ ก้อนหินปูนในไส้ติ่ง (p-value <0.001, 0.010, <0.001, และ 0.004 ตามลำดับ) ลักษณะทางรังสีวิทยาที่มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา ได้แก่ ผนังลำไส้ใหญ่ซีคัมหนาตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และ ก้อนในลำไส้ใหญ่ (p-value <0.001, 0.002 และ <0.001 ตามลำดับ) multivariate analyses ที่มีโอกาสเป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นหนอง ได้แก่ พบหนองในช่องท้อง (p-value 0.047) และ การพบไส้ติ่งที่ผิดปกติ (p-value <0.026)
สรุป: ลักษณะทางรังสีวิทยาที่มีโอกาสเป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นหนอง ได้แก่ การพบไส้ติ่งที่ผิดปกติ และการพบ หนองในช่องท้อง ในขณะที่การพบ ก้อนในลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Tannoury J, Abboud B. Treatment options of inflammatory appendiceal masses in adults. World J Gastroenterol 2013;19(25):3942-50. doi: 10.3748/wjg.v19.i25.3942.

Kim JK, Ryoo S, Oh HK, Kim JS, Shin R, Choe EK, et al. Management of appendicitis presenting with abscess or mass. J Korean Soc Coloproctol 2010;26(6):413-9. doi: 10.3393/jksc.2010.26.6.413.

Willemsen PJ, Hoorntje LE, Eddes EH, Ploeg RJ. The need for interval appendectomy after resolution of an appendiceal mass questioned. Dig Surg 2002;19(3):216-20. doi: 10.1159/000064216.

Hurme T, Nylamo E. Conservative versus operative treatment of appendicular abscess. Experience of 147 consecutive patients. Ann Chir Gynaecol 1995;84(1):33-6. PMID: 7645908

Mosegaard A, Nielsen OS. Interval appendectomy. A retrospective study. Acta Chir Scand 1979;145(2):109-11. PMID: 463439

Andersson RE, Petzold MG. Nonsurgical treatment of appendiceal abscess or phlegmon: a systematic review and meta-analysis. Ann Surg 2007;246(5):741-8. doi: 10.1097/SLA.0b013e31811f3f9f.

Thompson JE Jr, Bennion RS, Schmit PJ, Hiyama DT. Cecectomy for complicated appendicitis. J Am Coll Surg 1994;179(2):135-8. PMID: 8044380

Kim Y, Al-Sawat A, Lee CS. Laparoscopic cecectomy for complicated appendicitis using a new articulating instrument: A video vignette. Asian J Surg 2022;45(1):527-8. doi: 10.1016/j.asjsur.2021.09.025.

Sarkar R, Bennion RS, Schmit PJ, Thompson JE. Emergent ileocecectomy for infection and inflammation. Am Surg 1997;63(10):874-7.PMID: 9322662

Weixler B, Warschkow R, Ramser M, Droeser R, von Holzen U, Oertli D, et al. Urgent surgery after emergency presentation for colorectal cancer has no impact on overall and disease-free survival: a propensity score analysis. BMC Cancer 2016;16:208. doi: 10.1186/s12885-016-2239-8.

Pinto Leite N, Pereira JM, Cunha R, Pinto P, Sirlin C. CT evaluation of appendicitis and its complications: imaging techniques and key diagnostic findings. AJR Am J Roentgenol 2005;185(2):406-17. doi: 10.2214/ajr.185.2.01850406.

Suthikeeree W, Lertdomrongdej L, Charoensak A. Diagnostic performance of CT findings in differentiation of perforated from nonperforated appendicitis. J Med Assoc Thai 2010;93(12):1422-9. PMID: 21344805

Watchorn RE, Poder L, Wang ZJ, Yeh BM, Webb EM, Coakley FV. Computed tomography findings mimicking appendicitis as a manifestation of colorectal cancer. Clin Imaging 2009;33(6):430-2. doi: 10.1016/j.clinimag.2009.01.009.

Mun S, Ernst RD, Chen K, Oto A, Shah S, Mileski WJ. Rapid CT diagnosis of acute appendicitis with IV contrast material. Emerg Radiol 2006;12(3):99-102. doi: 10.1007/s10140-005-0456-6.

Rud B, Vejborg TS, Rappeport ED, Reitsma JB, Wille-Jørgensen P. Computed tomography for diagnosis of acute appendicitis in adults. Emergencias 2020;32(6):429-30. PMID: 33275365.

Lai HW, Loong CC, Tai LC, Wu CW, Lui WY. Incidence and odds ratio of appendicitis as first manifestation of colon cancer: a retrospective analysis of 1873 patients. J Gastroenterol Hepatol 2006;21(11):1693-6. doi: 10.1111/j.1440-1746.2006.04426.x.

Fiume I, Napolitano V, Del Genio G, Allaria A, Del Genio A. Cecum cancer underlying appendicular abscess. Case report and review of literature. World J Emerg Surg 2006;1:11. doi: 10.1186/1749-7922-1-11.

Chandra Mohan S, Gummalla KM, H'ng MWC. Malignant Tumours Mimicking Complicated Appendicitis and Discovered upon Follow-Up after Percutaneous Drainage: A Case of Two Patients. Case Rep Radiol 2017;2017:3253928. doi: 10.1155/2017/3253928.

Horrow MM, White DS, Horrow JC. Differentiation of perforated from nonperforated appendicitis at CT. Radiology 2003;227(1):46-51. doi: 10.1148/radiol.2272020223.

Kim MS, Park HW, Park JY, Park HJ, Lee SY, Hong HP, et al. Differentiation of early perforated from nonperforated appendicitis: MDCT findings, MDCT diagnostic performance, and clinical outcome. Abdom Imaging 2014;39(3):459-66. doi: 10.1007/s00261-014-0117-x.