อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดในผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกเกินกว่า 30 วัน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

Main Article Content

วนิดา แสงหิรัญ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: องค์การอนามัยโลก(WHO) คาดการณ์ว่าปี พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยตาบอดถึง 76 ล้านคนทั่วโลก โดยในคนที่อายุมากกว่า 50 ปีที่มีภาวะตาบอดมีสาเหตุหลักคือต้อกระจก ซึ่งมีจำนวนถึง 15.2 ล้านคน แต่เมื่อการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 ทำให้จำเป็นต้องลดปริมาณผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดลง ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดของต้อกระจกชนิดบอดอันสืบเนื่องจากการรอคอยการผ่าตัดที่นานขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการดูแลและจัดทำแนวทางการบริการเมื่อเกิดสถานการณ์เร่งด่วนในอนาคต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดที่เกิดผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน และเกินกว่า 30 วัน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดที่ได้รับการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ.2563 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2565 ทั้งหมดจำนวน 388 ตาที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา โดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาและ chi-square test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 388 ตา อายุที่รับการผ่าตัดมากที่สุดคือ 61-70 ปี(ร้อยละ 44.1) โดยมีประวัติตามัวก่อนมาโรงพยาบาลมีระยะเวลามากกว่า 12 เดือนร้อยละ 63.1 เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดที่ทั้งหมด 13 ตา(ร้อยละ 3.4) โดยเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน ร้อยละ 2.8 ได้รับการผ่าตัดเกินกว่า 30 วันร้อยละ 4.0 ภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (P=0.495)
สรุป: เมื่อเกิดสถานการณ์เร่งด่วนฉุกเฉินของระบบสาธารณสุข ผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด สามารถรอคอยการผ่าตัดเกินกว่า 30 วันหลังจากรับการวินิจฉัยได้ โดยไม่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดในต้อกระจกทุกชนิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. The global initiative for the elimination of avoidable blindness : ACTION PLAN 2006–2011. Geneva : World Health Organization ; 2007.

[No authors listed]. Causes of blindness and vision impairment in 2020 and trends over 30 years, and prevalence of avoidable blindness in relation to VISION 2020: the Right to Sight: an analysis for the Global Burden of Disease Study. Lancet Glob Health 2021;9(2):e144-e160. doi: 10.1016/S2214-109X(20)30489-7.

ภัณฑิรา โมสิกะ. ศึกษาประเด็นปัญหาผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ปฏิเสธการรักษา กรณีศึกษา : อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2563;3(2):1-7.

Isipradit S, Sirimaharaj M, Charukamnoetkanok P, Thonginnetra O, Wongsawad W, Sathornsumetee B, et al. The first rapid assessment of avoidable blindness (RAAB) in Thailand. PLoS One 2014;9(12):e114245. doi: 10.1371/journal.pone.0114245.

KPI กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด (Blinding Cataract) ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1621

Shahid E, Sheikh A, Fasih U. Complications of Hypermature Cataract and Its Visual Outcome. Pak J Ophthalmol 2011;27(2):58-62. DOI: https://doi.org/10.36351/pjo.v27i2.493

Li PS, Lai JS. Changes in ocular and surgical parameters during the waiting period for cataract operation. Hong Kong J Ophthalmol 2002; 6(1):32–5.

Freeman EE, Gresset J, Djafari F, Aubin MJ, Couture S, Bruen R, et al. Cataract-related vision loss and depression in a cohort of patients awaiting cataract surgery. Can J Ophthalmol 2009;44(2):171-6. doi: 10.3129/i09-001.

Conner-Spady B, Sanmartin C, Sanmugasunderam S, De Coster C, Lorenzetti D, McLaren L, et al. A systematic literature review of the evidence on benchmarks for cataract surgery waiting time. Can J Ophthalmol 2007;42(4):543-51.PMID: 17641695

Lockey SD, Nelson PC, Kessler MJ, Kessler MW. Approaching "Elective" Surgery in the Era of COVID-19. J Hand Surg Am 2021;46(1):60-4. doi: 10.1016/j.jhsa.2020.09.006.

Das S, Mehregan C, Richards C, Schneider M, Le K, Lin X . Intraoperative Complication Rates in Cataract Surgery After Resuming Surgery Following the COVID-19 Shutdown. Clin Ophthalmol 2023;17:641-7. doi: 10.2147/OPTH.S348710.

Matarazzo F, Phylactou M, Day AC, Maurino V. Effect of surgical abstinence on the risk for posterior capsule rupture during cataract surgery. J Cataract Refract Surg 2022;48(2):173-6. doi: 10.1097/j.jcrs.0000000000000741.

Theodoraki K, Naderi K, Lam CFJ, Tan JK, Jameel A, Lai L, et al. Impact of cessation of regular cataract surgery during the COVID pandemic on the rates of posterior capsular rupture and post-operative cystoid macular oedema. Eye (Lond) 2023;37(3):440-5. doi: 10.1038/s41433-022-01958-y.

General Medical council. Skills fade literature review. [Internet]. [cited 2022 Aug 19]. Available from:URL: https://www.gmc-uk.org/about/what-we-do-and-why/data-and-research/research-and-insight-archive/skills-fade-literature-review.

Chakrabarti A, Singh S. Phacoemulsification in eyes with white cataract. J Cataract Refract Surg 2000;26(7):1041-7. doi: 10.1016/s0886-3350(00)00525-3.

Vasavada A, Singh R. Surgical techniques for difficult cataracts. Curr Opin Ophthalmol 1999;10(1):46-52. doi: 10.1097/00055735-199902000-00009.

Thakur A, Jain AK. Commentary: Managing rock hard cataracts. Indian J Ophthalmol 2022;70(3):799-800. doi: 10.4103/ijo.IJO_2955_21.

Ermisş SS, Oztürk F, Inan UU. Comparing the efficacy and safety of phacoemulsification in white mature and other types of senile cataracts. Br J Ophthalmol 2003;87(11):1356-9. doi: 10.1136/bjo.87.11.1356.