ปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2561-2563

Main Article Content

กัญปภัส มัชฌิมาภิโร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะหัวใจล้มเหลวจัดเป็นสาเหตุอันดับต้นของโรคหัวใจทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลบุรีรัมย์และวิเคราะห์ ปัจจัยทำนายการเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: การวิจัย Retrospective case control study กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยหัวใจ ล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 2,095 คน และทำการสุ่มตัวอย่าง เลือกแบบมีระบบ (systemic Sampling) แบบ 1:1 จำนวนทั้งสิ้น 290 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียนจากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact และ Multivariable logistic regression
ผลการศึกษา: อัตราการเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลว คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 7.2 ปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คือ Pneumonia (OR 2.32 95%CI 1.01-5.33 p=0.047), Cardiac arrhythmia (OR 3.83 95%CI 1.76-8.33 p=0.001), Acute respiratory failure (OR 5.79 95%CI 2.88-11.63 p<0.001), Shock (OR 16.66 95%CI 5.06-54.90 p<0.001) และระดับซีรั่มอัลบูมิน ≤ 3.4 g/dL (OR 3.59 95%CI 1.78-7.23 p<0.001) ปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 80.0
สรุป: การศึกษานี้ได้ข้อมูลที่สำคัญและสร้างความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะแทรกซ้อนขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คือ Pneumonia Cardiac arrhythmia Acute respiratory failure Shock และระดับซีรั่มอัลบูมิน ≤ 3.4 g/dL เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์, อรินทยา พรหมินธิกุล, ภูขวัญ อรุณมานะกุล, อนงค์ อมฤตโกมล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด ; 2558.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2562. สมุทรปราการ : เนคสเตป ดีไซน์ ; 2562.

Moleerergpoom W, Hengrussamee K, Piyayotai D, Jintapakorn W, Sukhum P, Kunjara-Na-Ayudhya R, et al. Predictors of in-hospital mortality in acute decompensated heart failure (Thai ADHERE). J Med Assoc Thai 2013;96(2):157-64.PMID: 23936980

Luna CM, Palma I, Niederman MS, Membriani E, Giovini V, Wiemken TL, et al. The Impact of Age and Comorbidities on the Mortality of Patients of Different Age Groups Admitted with Community-acquired Pneumonia. Ann Am Thorac Soc 2016;13(9):1519-26. doi: 10.1513/AnnalsATS.201512-848OC.

Doval HC, Nul DR, Grancelli HO, Varini SD, Soifer S, Corrado G, et al. Nonsustained ventricular tachycardia in severe heart failure. Independent marker of increased mortality due to sudden death. GESICA-GEMA Investigators. Circulation 1996;94(12):3198-203. doi: 10.1161/01.cir.94.12.3198.

Pokorney SD, Al-Khatib SM, Sun JL, Schulte P, O'Connor CM, Teerlink JR, et al. Sudden cardiac death after acute heart failure hospital admission: insights from ASCEND-HF. Eur J Heart Fail 2018;20(3):525-32. doi: 10.1002/ejhf.1078.

Delerme S, Ray P. Acute respiratory failure in the elderly: diagnosis and prognosis. Age Ageing 2008;37(3):251-7. doi: 10.1093/ageing/afn060.

Ray P, Birolleau S, Lefort Y, Becquemin MH, Beigelman C, Isnard R, et al. Acute respiratory failure in the elderly: etiology, emergency diagnosis and prognosis. Crit Care 2006;10(3):R82. doi: 10.1186/cc4926.

Wuerz RC, Meador SA. Effects of prehospital medications on mortality and length of stay in congestive heart failure. Ann Emerg Med 1992;21(6):669-74. doi: 10.1016/s0196-0644(05)82777-5.

Zannad F, Mebazaa A, Juillière Y, Cohen-Solal A, Guize L, Alla F, et al. Clinical profile, contemporary management and one-year mortality in patients with severe acute heart failure syndromes: The EFICA study. Eur J Heart Fail 2006;8(7):697-705. doi: 10.1016/j.ejheart.2006.01.001.

Oh DH, Kim MH, Jeong WY, Kim YC, Kim EJ, Song JE, et al. Risk factors for mortality in patients with low lactate level and septic shock. J Microbiol Immunol Infect 2019;52(3):418-25. doi: 10.1016/j.jmii.2017.08.009.

Uthamalingam S, Kandala J, Daley M, Patvardhan E, Capodilupo R, Moore SA, et al. Serum albumin and mortality in acutely decompensated heart failure. Am Heart J 2010;160(6):1149-55. doi: 10.1016/j.ahj.2010.09.004.

Ancion A, Allepaerts S, Oury C, Gori AS, Piérard LA, Lancellotti P. Serum albumin level and hospital mortality in acute non-ischemic heart failure. ESC Heart Fail 2017;4(2):138-45. doi: 10.1002/ehf2.12128.

จิตติพร ภู่รัตนมาลย์. ปัจจัยทำนายการรอดชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2560;31(3):483-93.