การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเกิดกระดูกหักซ้ำ ภายหลังกระดูกหักจากภยันอันตรายชนิดไม่รุนแรงในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ธนพล จรรยาวงค์โชติ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะกระดูกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง (Fragility fracture) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะทุพพลภาพ การเกิดกระดูกหักซ้ำ การหาสาเหตุและรักษาปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้เป็นปัจจัยสำคัญในการลดอัตราการเกิดกระดูกหักซ้ำในอนาคต
วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อหาอุบัติการณ์ของการเกิดกระดูกหักซ้ำภายหลังจากการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรงในตำแหน่งกระดูกสันหลัง กระดูกต้นแขน กระดูกข้อมือ หรือกระดูกสะโพก และศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม (Case control study) เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเกิดกระดูกหักซ้ำ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2564
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 1,986 ราย พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดกระดูกหักซ้ำ 102 ราย (ร้อยละ 5.1) โดยพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกระดูกหักซ้ำประกอบด้วย อายุของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดกระดูกหักซ้ำ โดยพบว่า ช่วงอายุ 90 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซ้ำสูงถึง 4.3 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงอายุ 50-59 ปี (Adjusted Odds ratio 4.3, 95%Confidence Interval 1.6-12.0) ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคเกี่ยวกับผิดปกติทางระบบประสาท, โรคไตเรื้อรัง, โรคความดันโลหิตสูง และ โรคโลหิตจาง มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซ้ำ 10.5, 5.7, 4.4, 2.9 และ 2.7 เท่า ตามลำดับ และระดับ Serum albumin ที่น้อยกว่า 3.5 g/dL เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซ้ำ (Adjusted OR 3.9, 95%CI 1.6-9.2)
สรุป: ช่วงอายุที่มากขึ้น ผู้ที่มีโรคประจำตัว และระดับ Serum albumin ที่น้อยกว่า 3.5 g/dL เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซ้ำ ควรเพิ่มความสำคัญในการดูแลรักษาภายหลังการเกิดกระดูกหักครั้งแรกในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การรักษาและความคุมปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง อาจช่วยลดอัตราการเกิดกระดูกหักซ้ำในอนาคต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

วรรณวิภา แสงสารพันธ์. Aging society & Thai society’s challenges สังคมสูงอายุ & ความท้าทาย. สาร ศวบ. มกราคม 2561:3 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.fpo.go.th/eresearch/getattachment/bd807923-e845-4875-a9b1-ef946538784c/9178.aspx.

ปืนไทย เทพมณฑา, บรรณาธิการ. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลางสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก Guideline for intermediate care in hip fracture (Fragility fracture) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบ บริการสุขภาพ (Service plan). นนทบุรี : สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2565.

Chao CT, Yang RS, Huang WJ, Tsai KS, Chan DD. Risk Factors for Poor Functional Recovery, Mortality, Recurrent Fractures, and Falls Among Patients Participating in a Fracture Liaison Service Program. J Am Med Dir Assoc 2019;20(9):1129-1136.e1. doi: 10.1016/j.jamda.2018.12.011

Dang DY, Zetumer S, Zhang AL. Recurrent Fragility Fractures: A Cross-sectional Analysis. J Am Acad Orthop Surg 2019;27(2):e85-e91. doi: 10.5435/JAAOS-D-17-00103.

Mitchell PJ, Magaziner J, Costa M, Seymour H, Marsh D, Falaschi P, et al. FFN Clinical Toolkit. Zurich : Fragility Fracture Network ; 2020.

Adachi JD, Brown JP, Schemitsch E, Tarride JE, Brown V, Bell AD, et al. Fragility fracture identifies patients at imminent risk for subsequent fracture: real-world retrospective database study in Ontario, Canada. BMC Musculoskelet Disord 2021;22(1):224. doi: 10.1186/s12891-021-04051-9.

Banefelt J, Åkesson KE, Spångéus A, Ljunggren O, Karlsson L, Ström O, et al. Risk of imminent fracture following a previous fracture in a Swedish database study. Osteoporos Int 2019;30(3):601-9. doi: 10.1007/s00198-019-04852-8

Sriruanthong K, Philawuth N, Saloa S, Daraphongsataporn N, Sucharitpongpan W. Risk factors of refracture after a fragility fracture in elderly. Arch Osteoporos. 2022 Jul 25;17(1):98. doi: 10.1007/s11657-022-01143-4.

Atthakomol P, Manosroi W, Phinyo P, Pipanmekaporn T, Vaseenon T, Rojanasthien S. Prognostic Factors for All-Cause Mortality in Thai Patients with Fragility Fracture of Hip: Comorbidities and Laboratory Evaluations. Medicina (Kaunas) 2020;56(6):311. doi: 10.3390/medicina56060311.

Kristjansdottir HL, Mellström D, Johansson P, Karlsson M, Vandenput L, Lorentzon M, et al. Anemia is associated with increased risk of non-vertebral osteoporotic fractures in elderly men: the MrOS Sweden cohort. Arch Osteoporos 2022;17(1):85. doi: 10.1007/s11657-022-01130-9.

Kunutsor SK, Voutilainen A, Whitehouse MR, Seidu S, Kauhanen J, Blom AW, et al. Serum Albumin and Future Risk of Hip, Humeral, and Wrist Fractures in Caucasian Men: New Findings from a Prospective Cohort Study. Med Princ Pract 2019;28(5):401-9. doi: 10.1159/000499738.